วัดบวรนิเวศวิหาร

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีความผูกพันของสถาบันพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

ดูประวัติวัดบวรนิเวศ

วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศ และถนนพระสุเมรุ ในท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุเทพมหานคร สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ >ทรงสร้างใหม่ในรัชกาลนั้น ที่ทำการปลงศพเจ้าจอมมารดา (น้อย) ซึ่งเป็นเจ้าจอมของพระองค์เจ้าดาราวดีพระราชชายา ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗ และพ.ศ. ๒๓๗๕(ปีระหว่างอุปราชาภิเษกและสวรรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น)ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๖ ซึ่งต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าร่วงโรยมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกับวัดบวรนิเวศวิหารเสีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งในปัจจุบันยังคงเรียกส่วนที่เป็นวัดรังษีสุทธาวาสมาเดิมว่า ครังษี วัดนี้ เดิมเรียก วัดใหม่ น่าจะได้รับพระราชทานชื่อวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุประทับอยู่วัดสมอราย (คือวัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) เสด็จมาอยู่ครองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น เสด็จสรรคตเมื่อต้น พ.ศ. ๒๓๗๕ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าฯไม่ได้ทรงตั้งเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวร (ไม่ได้ทรงตั้งจนตลอดรัชกาล) เมื่อทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุราชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฏฯ เสด็จมาครองวัดใหม่ ก็ได้โปรดให้เสด็จเข้าไปทรงเลือกของในพระบวรราชวังก่อน มีพระประสงค์สิ่งใด พระราชทานให้นำมาได้ ข้อนี้มีหลัก ฐานสมจริง พระไตรปิฎกฉบับวังหน้าที่วัดนี้ มีกรอบและผ้าห่อสายรัดอันวิจิตร กรอบเป็นทองคำลงยาก็ เป็น ถมตะทองก็มี เป็นงาสลักก็มี ประดับมุกก็มี เป็นของประณีตเกินกว่าทำถวายวัด เข้าใจว่าเป็นหนังสือที่ทรงสร้างไว้สำหรับพระราชวังบวร แม้เหล่านี้บางทีจะทรงเลือกเอามาในครั้งนั้นก็ได้ การที่โปรดให้เข้าไปทรงเลือกของในพระราชวังบวรและพระราชทานชื่อวัดที่เสด็จประทับอยู่ว่า "วัดบวรนิเวศวิหาร" ย่อมเป็นเหมือนประกาศให้รู้ว่า ทรงเทียบสมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ไว้ในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตำแหน่งมหาอุปราช เพื่อป้องกันความสำคัญในการสืบ ราชสมบัติ เพราะคำว่า "บวรนิเวศ" เทียบกันได้กับ "บวรสถาน" ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเทียบได้กับ "วังบน" อันเป็นคำเรียกพระราชวังบวร อีกชื่อหนึ่ง มีคำเล่ากันว่า เมื่อสมเด็จพระอนุราชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ทรงเลือกเอาหนังสือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงทราบว่ายังไม่ทรงลาผนวช และได้เชิญเสด็จสมเด็จพระอนุราชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฏฯ มาครองวัดนี้ในพุทธศักราช ๒๓๗๙ โดยจัดขบวนแห่เหมือนอย่างพระมหาอุปราช ในระหว่างททรงผนวชอยู่ ทรงได้ปรับปรุงวางหลักเกณฑ์ความประพฤติ ปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยมีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค ์เป็นอันมาก ในคราวที่พระองค์เสด็จมาครองวัดก็ได้นำเอาการประพฤติ ปฏิบัตินั้นมาใช้ในการปกครองพระสงฆ์ ณ วัดนี้ด้วย ซึ่งในครั้งเดิมเรียกพระสงฆ์คณะนี้ว่า “บวรนิเวศาทิคณะ” อันเป็นชื่อสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาจึงได้ชื่อว่า “คณะธรรมยุติกนิกาย” ซึ่งแปลว่าคณะสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงถือว่าวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสำนักเอกเทศแห่ง คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเป็นวัดแรก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า วัดรังษีสุทธาวาสซึ่งอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศวิหารนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่า คณะรังษี และหลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรังคารมาบรรจุไว้ ณ ใต้บัลลังก์พระพุทธชินสีห์ในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ วัดบวรนิเวศวิหาร มีเจ้าอาวาสปกครอง นับแต่พุทธศักราช ๒๓๗๙ มาโดยลำดับตามนี้ ๑. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทววงศ์ ทรงครองวัดระหว่างพุทธศักราช ๒๓๗๙ – ๒๓๙๔ (อ่านต่อ) ๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปกครองวัดระหว่าง พุทธศักราช ๒๓๙๔ – ๒๔๓๕ (อ่านต่อ) ๓. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระราชโอรส ลำดับที่ ๔๗ ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปกครองวัดระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๓๕ – ๒๔๖๔ (อ่านต่อ) ๔. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตฺโต นภวงศ์) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปกครองวัดระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๖๔ – ๒๕๐๑ (อ่านต่อ) ๕. พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ ธรรมประทีป) ปกครองวัดระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๐๑ – ๒๕๐๔ (อ่านต่อ) ๖. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร) สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปกครองวัดตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบัน (อ่านต่อ) วัดบวรนิเวศวิหาร นับเป็นพระอารามที่มีความสำคัญทั้งในทางคณะสงฆ์และในทางบ้านเมือง กล่าวคือ ในทางคณะสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นจุดกำเนิดของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เพราะเป็นที่เสด็จสถิตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงผนวชอยู่และทรงดำริริเริ่มปรับปรุงวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นพระสงฆ ์คณะธรรมยุตขึ้นใน เวลาต่อมา วัดบวรนิเวศวิหารจึงนับว่าเป็นวัดแรกและวัดต้นแบบของคณะธรรมยุต ธรรมเนียมประเพณีและ แบบแผนต่าง ๆ ของคณะธรรมยุตได้เกิดขึ้น ณ วัดนี้ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นที่เสด็จสถิตของสมเด็จพระสังฆราช องค์ประมุขของคณะสงฆ์ไทยถึง ๔ พระองค์คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาของคณะสงฆ์คือ เป็นที่กำเนิด มหามกุฏราชวิทยาลัย สถานศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร ซึ่งได้พัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทยในปัจจุบัน เป็นที่กำเนิดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “นักธรรม” อันเป็นการศึกษาขึ้นพื้นฐานของคณะสงฆ์ไทย วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของไทย ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักคือพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ซึ่งสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไทย สมัยกรุงสุโขทัยสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช และทั้ง ๓ องค์เคยประดิษฐาน อยู่ด้วยกัน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานคู่บนศิลาแผ่นใหญ่สมัยสุโขทัย และพระไสยา (คือพระนอน) ที่งดงามสมัยสุโขทัยด้วย ในทางบ้านเมือง วัดบวรนิเวศวิหารได้เคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการศึกษาหัวเมือง เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้มีการจัดการศึกษาหัวเมืองทั่ว พระราชอาณาจัก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ โดยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ให้ทรงอำนวยการในการจัดการศึกษาในหัวเมือง อันเป็นการวางรากฐานการประถมศึกษาของไทย พระแท่นที่ประทับของพระบรมวงศ์ชั้นสูง ที่เสด็จออกทรงผนวช วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวชทุกพระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๙ ตลอดถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน

พระสุวรรณเขตหรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือพระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุด เป็นพระประธาน องค์แรก ของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธ รูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้น พอกพระศกให ้มีขนาดดัง ที่เห็นใน ปัจจุบัน แล้วลงรักปิดทอง ด้าน ข้างพระพุทธรูปองค์นี้มี พระอัครสาวกปูน ปั้นหน้าตัก ๒ ศอก ข้างละ ๑ องค์ พระพุทธรูปวัดสระตะพานองค์นี้ เป็นพระหล่อ หน้าพระเพลา (ตัก) ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว เป็นพระพุทธ

อ่านเพิ่มเติม

รูปโบราณ เรียกว่า พระโต แต่ นายอ่อน เจตนาแจ่ม ผู้รักษาพระอุโบสถเล่าว่า เคยได้ยินสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานิศรานุวัดติวงศ์ ตรัสกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า "พระโตองค์นี้ ชาวพื้นเมืองเรียกกันว่า "หลวงพ่อเพชรๆ" ชื่อท่านมีอยู่แล้วว่า "พระสุวรรณเขต" ไม่เรียกเมื่อเชิญมา รื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม อัญเชิญลงแพ มาคุมเข้าเป็นองค์เดิมอีก ลักษณะที่คุมเข้าใหม่เป็น ฝีมือของช่างกรุงเทพฯ โดยมาก แต่ยังพอสังเกตได้ว่าเดิมเป็นลักษณะ พระขอม พระศกของพระพุทธรูปนี้ เดิมโตอย่างของพระพุทธชินสีห์ พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรมพระราชวังบวรฯ เลาะออกเสีย ทำพระศกของพระโตนี้ใหม่ด้วยดินเผาให้เล็ก ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง พระองค์ใหญ่ มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง หน้าตักสองศอกถ้วนเป็นพระปั้น พระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว สองข้างพระพุทธชินสีห์มีรูปพระอัครสาวกคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารด้านทิศเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๔

พระพุทธบาทโบราณ (พระพุทธยุคลบาท หรือ ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๑๒)พระพุทธยุคลบาท หรือ ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๑๒ ประดิษฐานภายในศาลาติดกำแพงด้านทิศตะวันตก รอยพระพุทธบาทนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ ทรงได้มาจากจังหวัดชัยนาท ประดิษฐานไว้ที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ในรัชกาลที่ ๕โปรดให้ย้ายมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๒ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรม พระยาวชิรญาณวโรรส

พระพุทธยุคลบาทนี้มีคติการสร้างเพื่อเป็นบริโภคเจดีย์โดยสมมติ โดยจำลองรอยพระบาทอันแท้จริงที่พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนเขาสุมนกูฏในเกาะลังกาอันเป็นบริโภคเจดีย์ แต่รอยพระยุคลบาทนี้เป็นรอยพระบาทคู่ซึ่งต่างกับ รอยพระบาทบนเขาสุมนกูฏเป็นรอยพระบาทเดี่ยว โดยทั่วไปแล้วรอยพระพุทธบาทคู่นั้นถือว่าเป็นอุเทสิกเจดีย์เป็นสิ่งอันเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า แต่ต่อมาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้เอง รอยพระพุทธบาทก็เลยกลายเป็นบริโภคเจดีย์อีกอย่างหนึ่ง คือเป็นของที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง

พระเจดีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงโปรดให้สร้างในพุทธศักราช ๒๓๗๔ เริ่มสร้างได้เพียงเล็กน้อยก็สวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าอยู่หัวทรงสร้างต่อในรัชกาลที่ ๓ และในรัชกาลของพระองค์ทรงบูรณะเพิ่มเติม เช่น พุทธศักราช ๒๔๐๙ โปรดให้บูรณะแก้ไขพระเจดีย์ที่ทรุดเอียงให้ตรง พุทธศักราช ๒๓๙๕ โปรดให้หล่อรูป ช้าง ม้า สิงห์โต และนกอินทรีด้วยสำริด ช้าง-ออก ม้า-ตก นก-เหนือ สิงห์-ใต้ ตั้งหลังซุ้มพระเจดีย์เป็นต้น ในรัชกาลที่ ๖ มีการโบกปูนใหม่ในพุทธศักราช ๒๔๕๕ และติดสายล่อฟ้า ในรัชกาลปัจจุบันได้มีการบูรณะปิดกระเบื้องโมเสกสีทองที่องค์พระเจดีย์ในพุทธศักราช ๒๕๐๖ ลักษณะพระเจดีย์ เป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่มีฐานทักษิณสี่เหลี่ยม ๒ ชั้น ที่องค์เจดีย์มีซุ้ม ๔ ซุ้มเป็นทางเข้าภายใน ๑ ซุ้ม ที่ทักษิณชั้นบนมีซุ้มยอดปรางค์ ๔ มุม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ซุ้มด้านหน้าประดิษฐานพระบรมรูปหล่อของ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้าน เหนือมีเก๋งประดิษฐานพระไพรีพินาศ ฐาน ทักษิณชั้นล่างมีทิมคดหลังคาเก๋ง ๔ มุม มีกำแพงล้อม มีประตูด้านตะวันออกและ ด้านตะวันตกด้านละ ๒ ช่อง คูหาภายใน พระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กะไหล่ทองด้านหน้าพระเจดีย์ทองนี้ มีพระเจดีย์ศิลา บรรจุพระพุทธวจนะ ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น๑ องค์ เรียกว่า “พระไพรีพินาศเจดีย์”

พระพุทธไสยาสเป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทองปางไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ยาวตั้งแต่พระบาทถึงพระจุฬา ๖ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สร้างขึ้นราว พุทธศักราช ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓ เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๖ ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาองค์อื่นๆ ครั้นเมื่อเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๐ ครั้นสร้างวิหารพระศาสดาแล้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศาสดาห้องทิศตะวันตก ที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

ขอขอบคุณ วัดบวรนิเวศ วรวิหาร เอื้อเฟื้อข้อมูล http://www.watbowon.com/

ที่อยู่ติดต่อ

  • ⌂ 248 ถนน พระสุเมรุ แขวง วัดบวรนิเวศ เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
  • ⏰ เปิดปิด เวลา 08.300-18.00น.
  • ☏ โทร.02 629 5854
แผนที่การเดินทาง

☰ ท่องเที่ยว 77 จังหวัด

☰ ที่พัก 77 จังหวัด

☰ ร้านอาหาร 77 จังหวัด

แนะนำสถานทีท่องเที่ยว กราบไหว้พระเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต และครอบครัว หรือคนที่เรารัก และยังได้ท่องเที่ยวอีกต่างหาก ซึ่งใช้เวลาภายในวันเดียว ก็สามารถท่องเที่ยวได้ ....
  1. ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
  2. วัดพระแก้วมรกต
  3. วัดพระเชตุพน
  4. วัดระฆังโฆสิตาราม
  5. วัดชนะสงครามราช
  6. วัดสุทัศน์
  7. วัดสระเกศ
  8. วัดบวรนิเวศ
  9. วัดเบญจมบพิตร

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

ตลาดตลิ่งชัน

วัดพระแก้วมรกต

วัดพระเชตุพน

วัดสุทัศน์

วัดบวรนิเวศ

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม