WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีระกา 

 

 


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง

สามารถเดินทางไปตามหลวงหมายเลข 106 (สายลำพูน - ลี้) บริเวณกิโลเมตรที่ 47 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 1087 (สายลี้ – ก้อ) บริเวณกิโลเมตรที่ 20 – 21 ก็ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เดิมนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่หาด - แม่ก้อ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ 1,003 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่บางส่วนเป็นลำน้ำปิงซึ่งยาวประมาณ 140 กิโลเมตร และสองฝั่งแม่น้ำเป็นเกาะแก่ง หน้าผา หินงอก หินย้อย การเดินทางท่องเที่ยวลำน้ำปิงสามารถเริ่มจากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เรือหางยาว แล้วมาต่อแพที่แก่งสร้อย ล่องมาจนถึงเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในทางกลับกันอาจจะเช่าเรือหรือแพจากเขื่อนภูมิพลล่องขึ้นไปก็ได้


อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี

อยู่ตำบลในเมือง บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมา จนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525ี้

 


อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล

เป็นเทือกเขากั้นเขตแดน ระหว่างจังหวัดลำพูนที่ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา และตำบลบ้านเอื้อมอำเภอเมืองลำปาง ตำบลเวียงตาล ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปางที่อำเภอห้างฉัตรและอยู่กึ่งกลางเส้นทางคมนาคมทางรถไฟ ระหว่างลำปาง-ลำพูน ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 159,556 ไร่ ดอยขุนตาลประกอบด้วยป่าไม้หลายลักษณะ มีทั้ง ป่าดงดิบ และป่าสน มี 4 ยอดเขา จากเชิงดอยถึงยอดสูงสุดต้องเดินเท้าประมาณ 7 กิโลเมตร
สภาพป่าของดอยขุนตาล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามระดับความสูงของพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเล


วัดพระพุทธบาทตากผ้า      

ตั้งอยู่ตำบลมะกอก เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ช่วงกิโลเมตรที่ 136 – 137 เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นบันไดทางขึ้นวัดอย่างชัดเจน วัดนี้เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดลำพูน ตามตำนานการสร้างวัดเล่าว่าพระพุทธองค์พร้อมด้วยสาวกได้เสด็จจาริกสั่งสอนไป ตามที่ต่างๆ จนถึงที่แห่งนี้ได้รับสั่งให้นำจีวรที่ซักระหว่างทางออกมาตากกับหน้าผาหิน ซึ่งปัจจุบันก็ยังปรากฏเป็นรอยตารางคล้ายจีวรของพระอยู่จนทุกวันนี้ จากนั้นจึงทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทประดิษฐานรอยไว้บนลานผาลาดซึ่งเป็นที่ตั้ง วัดในปัจจุบัน และบนม่อนดอยเบื้องหลังวัดได้มีการสร้างพระเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานจากพระธาตุดอยสุเทพและพระธาตุหริภุญชัย โดยมีบันไดนาค 469 ขั้น เชื่อมระหว่างเจดีย์บนม่อนดอยกับวัดพระบาทตากผ้าที่เชิงดอย ปัจจุบันสามารถนำรถขึ้นไปได้ เมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือนแปดเหนือ ซึ่งตรงกับวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีการสรงน้ำพระพุทธบาทเป็นประเพณีทุกปี


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย

ตั้งอยู่ที่ 122 ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญชัย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2470 โดยพระยาราชกุลวิบูลย์ภักดีสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2517 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อ พ.ศ. 2522 ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุแบ่งเป็น 3 ห้องคือ ห้องจัดแสดงใหญ่ เป็นห้องโถงยาวอยู่ชั้นบนของตัวอาคารมีการจัดแสดงวัตถุออกเป็น 3 สมัย คือสมัยก่อนหริภุญไชย สมัยหริภุญไชย และสมัยล้านนา ได้แก่ พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูป พระพิมพ์ และเทวดาเป็นต้น ห้องจัดแสดงศิลปพื้นบ้าน และเครื่องไม้จำหลัก เป็นห้องจัดแสดงเล็กที่อยู่อาคารเล็กชั้นเดียวมีโถงเชื่อมจากชั้นบนของอาคาร หลังใหญ่ วัตถุที่แสดงเป็นศิลปะสมัยล้านนา รัตนโกสินทร์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือตีเหล็ก เครื่องมือทอผ้า เครื่องดนตรีพื้นบ้าน พานดอกไม้เชี่ยนหมาก เป็นต้น ห้องศิลาจารึก เป็นห้องโถงเปิดโล่ง อยู่ชั้นล่างของตัวอาคาร จัดแสดงศิลาจารึก สมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 17 และศิลาจารึก สมัยล้านนา อยู่ในพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นไป 

เวลาเปิด-ปิด : เปิดทำการเวลา 09.00 - 16.00 น. ปิดวันจันทร์ อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ 

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย  30 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 5351 1186 โทรสาร 0 5353 0536 หรือ www.thailandmuseum.com/hariphunchai 


วัดจามเทวี

หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 1298 เป็นฝีมือช่างละโว้ ลักษณะพระเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ตามตำนานเล่าว่าเจ้าอนันตยศและเจ้ามหันตยศ ราชโอรสของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิของพระนางเมื่อปี พ.ศ. 1298 เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบชัด ยอดพระเจดีย์หักหายไปชาวบ้านจึงเรียกว่า กู่กุด หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ

นอกจากนั้นยังมี รัตนเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางขวาของวิหาร สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยพระยาสรรพสิทธิ์ ฐานล่างสุดเป็นรูป 8 เหลี่ยม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.40 เมตร สูงจรดยอด 11.50 เมตร องค์เจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์


่พระธาตุดวงเดียว (เวียงเจดีย์)    
ตั้งอยู่ที่บ้านสันดอยเวียง ตำบลลี้ อำเภอลี้ เป็นวัดขนาดเล็กอยู่บนเนินไม่ไกลจากตัวเมืองลี้มากนัก สิ่งปลูกสร้างในวัดรวมทั้งองค์พระธาตุล้วนสร้างขึ้นมาภายหลัง มีอายุไม่เกิน 80 ปี โดยสร้่างบนตำแหน่งเมืองโบราณเดิม เจดีย์พระธาตุดวงเดียวเป็นเจดีย์ที่สร้าง ขึ้นใหม่ทรงเหลี่ยม ย่อมุม รูปทรงเพรียวชะลูด สูงประมาณ 30 เมตร สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมจนไม่เหลือเค้าเจดีย์เก่า ตั้งอยู่ภายในระเบียงคด

การเดินทาง 
รถยนต์ จาก อ.ลี้ ใช้ทางหลวงหมายเลข 106 ไปทางอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ประมาณ 1.7 กม. วัดอยู่ซ้ายมือ 
รถประจำทาง ขึ้นรถสาย ลี้-บ้านห้วยต้ม 

วัดมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย      

หมู่ที่ 9 บ้านหนองปู (ห้วยต้ม) ตำบลนาทราย อำเภอลี้ คล้ายชเวดากอง จำลอง เป็นสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาศิลปะล้านนาที่สร้างด้วยศิลาแลงทั้งองค์ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ฐานกว้าง 40 x 40 หรือเท่ากับ 1ไร่ ส่วนสูงจากบัวยอดฉัตรลงมาถึงพื้นยาว 64.39 เมตร ผู้ริเริ่มให้มีการออกแบบและการสร้างคือ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา เพื่อให้เป็นพุทธเจดีย์ของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์อันจะเป็นพุทธเจดีย์ของภัทรกัปให้ลูกหลานคนไทยได้กราบไหว้เป็นแห่ง แรกของประเทศไทยและเป็นแห่งที่สองของโลก


กู่ช้าง-กู่ม้า

เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่บริเวณชุมชนวัดไก่แก้ว ซอยโรงเรียนจักรคำคณาทร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร กู่ช้าง เป็นสถูปทรงกระบอกปลายมน เชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึกคู่บารมีของพระนางจามเทวี ชื่อ ภูก่ำงาเขียว ซึ่งหมายถึงช้างผิวสีคล้ำงาสีเขียวที่ทรงอานุภาพและอิทธิฤทธิ์ในสงคราม ส่วน กู่ม้า เป็นสถูปทรงระฆัง เชื่อว่าเป็นสุสานม้าทรงของพระโอรสพระนางจามเทวี


วัดมหาวัน

ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 500 เมตร เลียบไปตามคูเมืองเก่า มีตำนานการสร้างวัดกล่าวว่า วัดนี้สร้างมาแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชยในราวพ.ศ. 1200 สิ่งที่น่าชมคือ พระพุทธสิกขิ หรือพระศิลาดำ ซึ่งพระนางจามเทวีอัญเชิญมาจากเมืองละโว้ ชาวเมืองเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระรอดหลวง หรือพระรอดลำพูน ซึ่งมีความสำคัญและเป็นแบบพิมพ์ในการจำลองทำพระเครื่องที่ลือชื่อคือ พระรอดมหาวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5353 5242


วัดพระบาทห้วยต้ม 

เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอลี้ เป็นวัดประจำหมู่บ้านชาวเขาพระบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลนาทราย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 106 บริเวณกิโลเมตรที่ 46 - 47 เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณทางเข้ามีอนุสาวรีย์พระครูบาชัยวงศาตั้งอยู่ ตามประวัติเล่าว่า มีชาวลัวะ 2 คน ชื่อแก้วมาเมืองและพยา มาจากเมืองเถิน และพรานล่าเนื้อ 8 คน เข้าป่าล่าสัตว์ได้มาพบพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จมาโปรดพุทธบริษัทบริเวณนี้ จึงนำเนื้อสดที่ล่ามาได้ถวายแด่พระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่ฉันเนื้อ พวกพรานจึงนำข้าวและผักไปต้มที่ข้างห้วย พอสุกแล้วจึงนำมาใส่บาตร เมื่อฉันเสร็จแล้วพระพุทธเจ้าจึงเทศโปรดเมตตาให้พวกลัวะและพรานทั้ง 8 คนฟัง จนเกิดศรัทธาขึ้น จึงขออาราธนาพระพุทธเจ้าเหยียบหินให้เป็นรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาของพุทธบริษัททั่วไป 

วัดพระบาทห้วยต้มมีอาณาบริเวณกว้างขวาง ภายในมีสิ่งก่อสร้างทำจากศิลาแลงที่ขุดได้จากบ่อศิลาแลงด้านหลังของวัด และมีองค์พระธาตุที่ได้รับการตกแต่งอย่างงดงาม โดยครูบาชัยวงศา พระอาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือเป็นผู้บูรณะก่อสร้างและจากศรัทธาของบรรดา ชาวกะเหรี่ยงที่อยู่รอบบริเวณวัด ชาวกะเหรี่ยงเหล่านี้นอกจากจะทำไร่ทำสวนแล้ว ยังมีอาชีพเป็นช่างฝีมือ ทอผ้า ทำสร้อยคอ และเครื่องเงินเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน และทุกปีประมาณเดือนธันวาคมชาวกะเหรี่ยงจะจัดงานชุมนุมชาวกะเหรี่ยงและสืบ สานวัฒนธรรม มีกิจกรรมน่าสนใจ อาทิ การแสดงทางวัฒนธรรมชาวดอย การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และออกร้านจำหน่ายสินค้าฝีมือชาวกะเหรี่ยง บริเวณบ้านพระบาทห้วยต้ม


วัดพระธาตุห้าดวง

ตั้งอยู่ที่ตำบลลี้ สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ไปทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณเวียงเก่าลี้ เพราะมีซากกำแพงและคูเมืองตั้งเป็นแถว วัดนี้เป็นที่ตั้งของหมู่เจดีย์ 5 องค์ ตามตำนานกล่าวว่าพระนางเจ้าจามเทวี กษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชย ได้ยินข่าวจากราษฎรเมืองลี้ว่ามีดวงแก้ว 5 ดวง ปรากฏเห็นอยู่บ่อยครั้ง จึงได้เสด็จมาดูด้วยพระองค์เอง เวลากลางคืนจึงได้ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้ง 5 ดวง ลอยอยู่บนกองดิน 5 กอง จึงได้สอบถามความเป็นมาก็ทราบว่า คือพระเมโตธาตุ (น้ำไคลมือ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าที่เคยล้างพระหัตถ์ และน้ำก็ไหลผ่านปลายนิ้วทั้ง 5 ลงพื้นดิน พระนางจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบกองดินทั้ง 5 กองไว้ และในวันที่ 20 เมษายน ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุห้าดวง สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 5359 6555 โทรสาร 0 5359 6555 


วัดศรีดอนชัย

ตั้งอยู่ที่ 147 หมู่ที่ 10 บ้านศรีดอนชัย ตำบลบ้านธิ สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ระหว่างกิโลเมตรที่ 76 – 77 เข้าไป 2 กิโลเมตร วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาสูง 59 ศอก เป็นพระพุทธรูปที่สูงและใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สร้างขึ้นจากศรัทธาของประชาชน ในปี พ.ศ. 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 และพระองค์ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธเฉลิมสิริราช

 


กาดดอยติ

ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง จำหน่ายผ้าทอยกดอกเอกลักษณ์เมืองลำพูนจากอำเภอเมืองลำพูน ไม้แกะสลักจากอำเภอแม่ทา ผ้าทอผ้าฝ้ายทอมือจากอำเภอป่าซาง และเครื่องเงินชาวเขาจากอำเภอลี้ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์โครงการหลวง เปิดบริการทุกวันเวลา ๐๗.๐๐-๑๖.๐๐ น.


บ้านม้า ลำพูน

ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีบัวบาน ห่างจากทางแยกดอยติประมาณ 1 กิโลเมตร ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง แล้วแยกเข้าสู่หมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ในหมู่บ้านทำเฟอร์นิเจอร์ทุกประเภทซึ่งใช้ไม้อัด ไม้สัก ไม้ยางพารา ฯลฯ มีให้เลือกมากมาย ราคาประหยัด สินค้ามีความประณีต


วัดป่าซางงาม

ตั้งอยู่ที่ตำบลป่าซาง วัดประจำอำเภอ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมงคลสราการ ถือเป็นพระประจำอำเภอป่าซาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่วัดนี้มีหอไตรลักษณะเป็นตึกทึบสองชั้น หลังคาลดชั้นแบบล้านนา หน้าต่างชั้นบนมีขนาดเล็ก เขียนลายเทวดา ภายในวิหารมีบุษบกไม้แกะสลัก เป็นของเก่าแก่อายุหลายร้อยปี และเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่องาม พระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 2 เมตร ภายในยังมีพิพิธภัณฑ์วัดป่าซาง จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ กลอง เป็นต้น การเดินทาง รถยนต์ จากอำเภอป่าซาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 106 ไปทาง อำเภอบ้านโฮ่ง ประมาณ 300 เมตร หรือรถประจำทาง ขึ้นรถสายลำพูน-สามแยกท่าจักร-กู่ระมัก-ป่าซาง


วัดหมูเปิ้ง

ตั้งอยู่ที่บ้านหมูเปิ้ง ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง เปิ้งหมายถึง การพึ่งพิง คือเป็นวัดที่คนเกิดปีกุนหรือในล้านนาเรียกเป็นปีช้าง นิยมมาสักการะบูชา เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษางานด้านปูนปั้น และสถาปัตยกรรมเป็นหลัก ภายในวัดมีซุ้มประตูโขง เป็นซุ้มประตูศิลปะล้านนา ประดับลายปูนปั้นที่อ่อนช้อยงดงาม ลักษณะเดียวกับที่ใช้ประดับเรือนธาตุเจดีย์แบบล้านนาและหอไตร ซึ่งแตกต่างจากหอไตรทั่วไปที่พบใน จังหวัดลำพูน เป็นหอไตรครึ่งไม้ครึ่งปูน ชั้นบนเป็นเรือนไม้ หลังคาลดสองชั้น ประัดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และวลักประดับกระจกสี แต่หลุดร่วงไป มีระเบียงแคบ ๆ ไม่มีบันไดทางขึ้น แต่มีช่องสี่เหลี่ยม เล็ก ๆ ด้านในใช้บันไดพาดขึ้นไป ชั้นล่างเป็นเสาใหญ่สี่แถว แถวละห้าต้น ใช้เป็นโบสถ์ หรือวิหารประดิษฐานพระประธาน มีระเบียงกั้น

การเดินทาง 
รถยนต์ จากสามแยกท่าจักร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1033 ไปทาง อำเภอแม่ทา ผ่านบ้านแป้น บ้านเหมืองจี้ ตรงไปตามทาง เลย สภต.เหมืองจี้ไปประมาณ 1 กม. หรือรถประจำทาง ขึ้นรถสายลำพูน-สามแยกท่าจักร-หมูเปิ้ง -ทากาศ-แม่ทา 


สะพานทาชมพู  
อยู่ตรงข้ามวัดทาชมพู ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา สะพานทาชมพู ชาวลำพูนเรียกว่า สะพานขาว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2462 โดยมีนายพลเอก กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นวิศวกรควบคุมงาน เป็นสะพานทางรถไฟสีขาวโดดเด่นเป็นสง่าอยู่กลางทุ่ง ถัดจากอุโมงค์ขุนตาล แตกต่างจากสะพานรถไฟอื่น คือเป็นโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 87.3 เมตร ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกและท้าทาย เนื่องจากปกติสะพานรถไฟจะสร้างด้วยเหล็ก เพราะสามารถทนต่อแรงสะเทือนและอ่อนตัวได้ดีกว่า แต่เนื่องจากช่วงเวลาที่สร้างสะพานเป็นภาวะสงครามไม่สามารถหาเหล็กมาสร้าง สะพานได้ แต่ด้วยการคำนวณและควบคุมงานที่ยอดเยี่ยม ทำให้สะพานทาชมพูยังคงใช้งานได้อยู่จนถึงทุกวันนี้ สะพานทาชมพูทอดข้ามแม่น้ำ่ทา อยู่กลางทุ่งโล่งผู้ที่เดินทางโดยรถไฟสาย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะถึงสะพานแห่งนี้ตอนเช้าตรู่ก่อนถึงจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 1 ชั่วโมง มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นจุดที่บอกว่ารถไฟได้พ้นช่วงที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ใกล้ถึงจุดหมายแล้ว สะพานทาชมพูมีทางรถยนต์เข้าถึง ใช้เส้นทางเดียวกับทางไป อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล สามารถขับรถชมทิวทัศน์ได้ 

การเดินทาง 
รถยนต์ จากอำเภอแม่ทา ใช้ทางหลวงหมายเลข 106 ไปทางอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ประมาณ 1.5 กม. มีทางแยกขวามือไปบ้านทาชมพู ให้เลี้ยวเข้าไปผ่าน โรงเรียนบ้านศรีทรายมูล วัดทาชมพู เลยบ้านสถานีไปประมาณ 1 กม. ถึงวัดทาชมพู ทางซ้ายมือ ขวามือเป็นเพิงขายของของชาวบ้าน ให้จอดรถไว้บริเวณนี้สะพานอยู่ด้านหน้า ห่างไปประมาณ 300 ม. ต้องเดินเท้าเข้าไปตามทางรถไฟ 
รถรับจ้าง ขึ้นรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างจากอำเภอแม่ทา 

พระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่ หรือ ถ้ำดอยโตน  

มีรอยพระพุทธบาทตั้งอยู่เหนือดอยโตน (หลังถ้ำป่าไผ่) มาแต่โบราณ ไม่มีผู้ใดพบเห็นเพราะรกไปด้วยต้นไม้ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาแห่งวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มาตรวจดูด้วยญาณ บอกว่าเป็นรอยพระพุทธบาทจริง เป็นพระบาทข้างซ้าย โดยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ผิน พระพักตร์ไปทางทิศใต้แล้วก้าวพระบาทข้างซ้ายประทับรอยพระบาท แล้วจึงหันพระองค์กลับดำเนินไป ในพระวิหารตกแต่งวิจิตรสวยงาม พระพุทธบาทถ้ำป่าไผ่กว้างใหญ่ มีหลายคูหา มีช่องอากาศบนถ้ำหลายช่องทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีหินงอกหินย้อยและภาพศิลป์ต่าง ๆ ให้ชมมากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปตามมุมต่าง ๆ ในวันที่ ๑๖ เมษายน ของทุกปี มีงานประเพณีสรงน้ำรอยพระพุทธบาทและสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำ การเดินทาง ถ้ำป่าไผ่อยู่ห่างจากอำเภอลี้ ๙ กิโลเมตร เข้าบริเวณทางแยกโรงเรียนแม่ป่าไผ่ ทางหลวงหมายเลข ๑๐๖


วัดพระธาตุดอยกวางคำ

บ้านโป่งแดง-สัญชัย ตำบลทุ่งหัวช้าง วัดนี้ถูกสร้างโดยครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ในวิหารพระประธานทรงเครื่องปางพระมหาจักรพรรดิ ประดับด้วยเพชร พลอย การเดินทาง มี 2 เส้นทาง คือ เข้าทางแยกแม่เทย อำเภอลี้ ตามทางหลวงหมายเลข 106 และอีกเส้นทางคือ เข้าทางแยกแม่อาว ทางหลวงหมายเลข 1184 ประมาณ 70 กิโลเมตรถึงอำเภอทุ่งหัวช้าง ถึงแยกบ้านโป่งแดง ถนนชัยยะวงศาพัฒนา ประมาณ 4 กิโลเมตรถึงบริเวณวัดี


อ่างเก็บน้ำแม่วังส้าน

ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ประมาณ 13 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 30 และ 31 ถึงทางแยกเข้าบ้านโป่งรู เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตรถึงอ่างเก็บน้ำ หนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีทิวทัศน์สวยงามมองเห็นภูเขาล้อมรอบ มีเรือนแพให้พักผ่อน สามารถตกปลาและกางเต็นท์ได้


วัดบ้านปาง     

ตั้งอยู่บนเนินเขาบ้านปาง หมู่ที่ 1 ตำบลศรีวิชัย ห่างจากตัวอำเภอลี้ 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายลี้ – บ้านโฮ่ง - เชียงใหม่ กิโลเมตรที่ 89 เป็นวัดซึ่งครูบาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรกภายในบริเวณวัดนอกจากจะร่มรื่น ด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีโบสถ์วิหารสวยงาม และยังมีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน ได้แก่ สบง จีวร หมอน กระโถน และแจกัน เป็นต้น


วัดพระเจ้าตนหลวง   

ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง ริมทางหลวงหมายเลข 108 และเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 1010  เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตรจะถึงตัววัด สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 1909 วัดนี้เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณขนาดหน้าตักกว้าง 7.5 เมตร สูงตั้งแต่ฐานถึงเมาลี 9.5 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1909 โดยพระเถระสิริราชวโส เพื่อหลีกเคราะห์กรรม และภัยพิบัติ จึงมีฉายานามว่า พระเจ้าหลีกเคราะห์ อีกชื่อหนึ่ง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 5357 8147


วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน

ตั้งอยู่ตำบลบ้านโฮ่ง สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 (ลำพูน - ลี้) บริเวณกิโลเมตรที่ 113 เลี้ยวเข้าทางบ้านโฮ่งหลวงประมาณ 4 กิโลเมตร วัดนี้เป็นวัดที่สวยงาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484 ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าสะเลียมหวาน ซึ่งแกะสลักจากไม้สะเดา เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั่วไป สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 5398 0000


พระธาตุดอยห้างบาตร
ตั้ง อยู่ที่ 320 บ้านไซใต้ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ ห่างจากอำเภอบ้านธิประมาณ 9 กิโลเมตร เมื่อถึงหมู่บ้านไซใต้ จะเห็นพระธาตุดอยห้างบาตรอยู่ทางขวามือ เป็นเจดีย์ทรงจัตุรมุขสีขาว มีฉัตรทองอยู่ยอดเจดีย์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อไร ตามตำนานเล่าว่าสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมายังดอยลูกนี้และ เตรียมเสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ซึ่งการเตรียมบาตรภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ห้างบาตร ปรากฎร่องรอยห้างบาตรอยู่เป็นหลุมลึกลงไปหินดินดานและมีมณฑปครอบไว้ พระธาตุแห่งนี้อยู่บนยอดดอยที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกล สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5398 4705, 08 5711 4086 

 


วัดพระธาตุดอยเวียง      

ตั้งอยู่บ้านดอยเวียง หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านธิ ห่างจากอำเภอบ้านธิประมาณ 7 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ และบนดอยเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์เก่าแก่ซึ่งมีพระสารีริกธาตุบรรจุอยู่ สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 1220 ในสมัยพระนางจามเทวี ตามตำนานจารึกในใบลานเล่าว่าขุนหลวงปาละวิจา มาตั้งเมืองที่นี่ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและได้สร้างวัดไว้บนดอย ต่อมาถูกไฟป่าไหม้ลุกลาม ทำให้เหลือแต่เจดีย์และศาลาเล็ก ๆ หลังหนึ่ง วัดนี้ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่อีก 3 องค์ องค์แรกเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งฝนแล้ง ชาวบ้านเดือดร้อนเลยนำพระองค์นี้มาแห่ขอฝนปรากฎว่าฝนตก ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อพระองค์นี้ว่า พระเจ้าสายฝนองค์ที่สองหน้าตักกว้าง 99 นิ้ว ประดิษฐานที่ศาลาการเปรียญ องค์ที่สามหน้าตักกว้าง 89 นิ้วประดิษฐานที่เชิงดอย ทั้งสององค์ข้างในเป็นศิลาแลงและข้างนอกฉาบปูน สมัยที่ค้นพบนั้นเหลือไม่เต็มองค์เศียรปักดินชาวบ้านจึงเรียกว่า พระเจ้าดำดิน ชั้นบนสุดของดอยเป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์ธาตุดอยเวียง และทุก ๆ ปี ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7 จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ


ถ้ำเอราวัณ

ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลนครเจดีย์ บริเวณที่ทำการย่อยสำนักงานหน่วยอนุรักษ์ป่าไม้แม่อาว เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ช่วงกิโลเมตรที่ 124 มีป้ายบอกทางเลี้ยวเข้าถนนลาดยาง 4 กิโลเมตร และลูกรังอีก 7 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการย่อยของสำนักงานหน่วยอนุรักษ์ป่าไม้แม่อาว ลักษณะปากถ้ำจะมีขนาดเล็กลาดต่ำจนถึงปากคูหาถ้ำ เมื่อผ่านปากถ้ำเข้าไปจะพบห้องโล่งกว้างแสงแดดเข้าไม่ถึงบางแห่งของห้องโถง ใหญ่แบ่งเป็นห้องเล็กๆ กระจายอยู่ซึ่งแต่ละห้องจะมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม การเดินทางเข้าไปในถ้ำควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง และควรนำไฟฉายติดตัวไปด้วยเพราะภายในถ้ำไม่มีไฟฟ้า


วัดพระพุทธบาทตากผ้า      

ตั้งอยู่ตำบลมะกอก เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ช่วงกิโลเมตรที่ 136 – 137 เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นบันไดทางขึ้นวัดอย่างชัดเจน วัดนี้เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดลำพูน ตามตำนานการสร้างวัดเล่าว่าพระพุทธองค์พร้อมด้วยสาวกได้เสด็จจาริกสั่งสอนไป ตามที่ต่างๆ จนถึงที่แห่งนี้ได้รับสั่งให้นำจีวรที่ซักระหว่างทางออกมาตากกับหน้าผาหิน ซึ่งปัจจุบันก็ยังปรากฏเป็นรอยตารางคล้ายจีวรของพระอยู่จนทุกวันนี้ จากนั้นจึงทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทประดิษฐานรอยไว้บนลานผาลาดซึ่งเป็นที่ตั้ง วัดในปัจจุบัน และบนม่อนดอยเบื้องหลังวัดได้มีการสร้างพระเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานจากพระธาตุดอยสุเทพและพระธาตุหริภุญชัย โดยมีบันไดนาค 469 ขั้น เชื่อมระหว่างเจดีย์บนม่อนดอยกับวัดพระบาทตากผ้าที่เชิงดอย ปัจจุบันสามารถนำรถขึ้นไปได้ เมื่อถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือนแปดเหนือ ซึ่งตรงกับวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีการสรงน้ำพระพุทธบาทเป็นประเพณีทุกปี


อ่างเก็บน้ำแม่ธิ

หมู่ที่ 9 บ้านดอยเวียง ตำบลบ้านธิ ห่างจากตัวอำเภอบ้านธิ ประมาณ 5 กิโลเมตร สันเขื่อนกว้าง 470 เมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร บรรจุน้ำ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้ในพื้นที่การเกษตร 5,000 ไร่ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทัศนียภาพอันสวยงาม ทิวทัศน์ภูเขาสวยต้นไม้เขียวขจี น่ารื่นรมย์ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ


วัดป่าเหียง 
ตั้งอยู่บ้านกองงาม ถนนประชาอุทิศ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 1032 (ข้างวัดป่าซางงาม) ไปประมาณ 3 กิโลเมตร ตามประวัติวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2420 มีหอไตรอายุกว่าร้อยปี สร้างไว้กลางสระ เป็นศิลปกรรมแบบล้านนา สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง หน้าบันและบานประตูแกะสลักอย่างสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรแล้ว

วัดหนองเงือก

ตั้งอยู่บ้านหนองเงือก ตำบลแม่แรง ไปตามทางหลวงหมายเลข 106 (ลำพูน - ลี้) กิโลเมตรที่ 138 – 139 แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ที่แสดงให้เห็นศิลปกรรมฝีมือช่างพื้นบ้าน สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ ศิลปะปูนปั้นที่ซุ้มประตูของวัด และหอไตร ซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบพม่า ลักษณะเป็นตึกโบราณ 2 ชั้น ชั้นล่างมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 5352 1961


โบราณสถานวัดเกาะกลาง

ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง โบราณสถานวันเกาะกลางเดิมชื่อว่าเป็นที่เกาะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงกับลำ น้ำสาขาที่แยกออกจากแม่ปิง ไหลอ้อมแผ่นดินตัวเกาะ แล้วกลับมารวมกันอย่างเดิม ต่อมาแม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางใหม่ เกาะกลางจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ พื้นที่ส่วนเป็นที่ตั้งของวัดเกาะกลาง รูปทรงสถาปัตยกรรมศิลป์ มีความเก่าแก่ มีโบราณวัตถุและชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้น เป็นศิลปกรรมตกแต่ง สถาปัตยกรรมมากมายมีอายุร่วมสมัยกับยุคล้านนาตอนต้น หรือประมาณ 700 ปี ที่มีอิทธิพลจากศิลปะหริภญชัย นอกจากนี้ยังขุดพบรูปแบบสถาปัตยกรรมคติทวารวดี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานวัดเกาะกลาง ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดี สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 5359 3100, 08 6116 8636


บ้านหนองช้างคืน

ตำบลหนองช้างคืน เป็นแหล่งผลิตลำไยใหญ่ที่สุด อยู่ก่อนถึงเมืองลำพูน 8 กิโลเมตร โดยจะผ่านบ้านป่าเหวมีป้ายบอกทางเลี้ยวขวาเข้าบ้านหนองช้างคืน ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง ตรงเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้าน ตลอดสองฝั่งทางที่ลดเลี้ยวเข้าไปในหมู่บ้านจะเนืองแน่นไปด้วยสวนลำไย ในราวเดือนสิงหาคมของทุกปี จะมีงานเทศกาลลำไยลำพูน จัดขึ้นในอำเภอเมือง ในงานนี้จะมีการประกวดรถประเภทสวยงามที่ประดับตกแต่งด้วยลำไย การประกวดผลิตผลลำไยและธิดาลำไย


บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ดอยขะม้อ      

อยู่ในตำบลมะเขือแจ้ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 11 เลี้ยวเข้าทางหลวงสายสาย 1147 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร ตั้งอยู่หลังนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เป็นภูเขาไฟโบราณ รูปทรงสัณฐานคล้ายฝาชี บนยอดมีปล่องกว้าง 3 เมตร ลึกประมาณ 6 เมตร ตอนล่างเป็นบ่อ มีน้ำตลอดปี การเดินขึ้นไปบ่อน้ำบนยอดเขาต้องขึ้นบันไดไป 1,749 ขั้น ประชาชนนับถือกันมาแต่โบราณว่า เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ห้ามผู้หญิงตัก เมื่อถึงเทศกาลสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยจะต้องตักน้ำจากบ่อนี้ไปปนกับน้ำพระ ราชทาน แล้วจึงนำขึ้นสรงองค์พระธาตุและเมื่อพระมหากษัตริย์ไทยเสด็จขึ้นเสวยราช สมบัติ จะต้องนำน้ำในบ่อนี้อัญเชิญไปร่วมเป็นน้ำพุทธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกครั้ง ้


อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย  

ตั้งอยู่ที่บริเวณดอยติ ริมถนนสายซุปเปอร์ไฮเวย์ ตรงทางเข้าสู่เมืองลำพูน เดิมนั้นตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน สุเทวฤาษีเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญไชย แต่เนื่องจากเป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลก จึงไปเชิญพระนางจามเทวีซึ่งเป็นพระธิดาของพระยาจักวัติแห่งเมืองละโว้ มาปกครองเมืองหริภุญไชยแทน และยังได้ช่วยเหลือพระนางจามเทวีประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนาในนครหริภุญ ไชยอย่างมั่นคง


อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี

ตั้งอยู่ที่บริเวณดอยติ ริมถนนสายซุปเปอร์ไฮเวย์ ทางเข้าวัดดอยติ ตรงทางเข้าสู่เมืองลำพูน เดิมนั้นตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน สุเทวฤาษีเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญไชย แต่เนื่องจากเป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลก จึงไปเชิญพระนางจามเทวีซึ่งเป็นพระธิดาของพระยาจักวัติแห่งเมืองละโว้ มาปกครองเมืองหริภุญไชยแทน และยังได้ช่วยเหลือพระนางจามเทวีประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนาในนครหริภุญ ไชยอย่างมั่นคง


วัดพระยืน

ตั้งอยู่ที่ 1 หมู่ 1 บ้านพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง มีชื่อเดิมว่า วัดพฤทธมหาสถาน ซึ่งพระเจ้าธรรมมิกราช กษัตริย์หริภุญชัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1606-1611 พระเจดีย์วัดพระยืนเป็นพระเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม และพระเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5353 0135, 08 9635 5438 


หมู่บ้านหัตถกรรมผ้าฝ้ายเวียงยองและขัวมุงท่าสิงห์

อยู่บริเวณบ้านศรีเมืองยู้ ตำบลเวียงยอง ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เที่ยวชมวิถีชีวิตชาวบ้านในเส้นทางถนนสายวัฒนธรรมชุมชนเวียงยอง หมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายโดยฝีมือชาวบ้าน ผ้าที่ผลิตจะเป็นผ้าฝ้ายและผ้าไหมยกดอก รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฝ้ายอื่น ๆ เป็นเส้นทางที่เหมาะกับการเดินเท้า หรือนั่งรถสามล้อถีบ ชมสถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้านอาทิ วัดต้นแก้ว พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์ทอผ้าพื้นเมือง เป็นต้น ภายในชุมชนยังมีขัวมุงท่าสิงห์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP อาทิ ผ้าฝ้ายยกดอกลำพูน สินค้าตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ เป็นต้น เปิดทุกวันเวลา 9.00-18.00 น.


อ่างเก็บน้ำทาสบเส้า
หมู่ที่ 9 บ้านหล่ายทา ตำบลสบเส้า เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 11 สายลำปาง-ลำพูนหรือใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1033 เข้าทางตลาดเพื่อการเกษตร ตัวเขื่อนสูง 19 เมตร ยาว 271 เมตร ทางเดินขึ้นหน้าเขื่อนกว้าง 4 เมตร มีศาลาพักร้อน

 


วัดพระคงฤาษี   
อำเภอเมือง จ.ลำพูน หรือวัดอนันทราม ตั้งอยู่ ต.ในเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี ครองเมืองหริภุญชัย ในวัดนี้มี พระคง ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่นับถืออีกองค์หนึ่งของเมืองลำพูน

 


วัดสันกำแพง

ตั้งอยู่ที่ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง ห่างจากบ้านหนองเงือกประมาณ 2 กม. นักท่องเที่ยวที่สนใจชมสถาปัตยกรรมไม่ควรพลาด วัดแห่งนี้มีหอไตร สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ศิลปะแบบล้านนา หลังคาลดหลั่นอย่างสวยงาม กรอบหน้าจั่วเป็นตัวนาค ซึ่งเป็นหนึ่งในสัตว์มงคลของล้านนา นอกจากนี้ยังมีลวดลายไม้แกะสลักซึ่งประดับกระจกอย่างงดงาม แต่อยู่ในสภาพทรุดโทรมขาดการดูแล นอกจากนี้หากเดินทางไปวัดนี้โดยใช้ถนนผ่านหน้าวัดสันกำแพง ขับตรงผ่านบ้านมะกอก ระยะทางประมาณ 2 กม. จะบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 106 ตรงหลัก กม. 138 ละแวกบ้านมะกอก มีบ้านเรือนไม้หลังคาปั้นหยา และบ้านไม้แบบเก่าอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีหนาแน่น เหมาะสำหรับผู้สนใจชมรูปแบบสถาปัตยกรรมด้วย 

การเดินทาง รถยนต์ จากอำเภอป่าซาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 106 ไปทาง อำเภอบ้านโฮ่ง ประมาณ 6 กม. มีทางแยกขวามือ ให้เลี้ยวเข้าไปประมาณ 1.5 กม. เจอสามแยกบริเวณวัดดอนหลวงให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป เลยร้านอุดมศิริผ้่าฝ้ายไปเล็กน้อยเป็นสามแยก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปเลยวัดหนองเงือกไปประมาณ 1 กม. หรือเหมารถสองแถวจากตลาดป่าซาง ราคาประมาณ 500 บาท 


หมู่บ้านดอนหลวง 

ตั้งอยู่ที่บ้านดอนหลวง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง อยู่ห่างจากตัวอำเภอป่าซาง 7 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดลำพูน 23 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านชาวยองเก่าแก่ซึ่งอพยพมาตั้งบ้านเรือนเมื่อปี พ.ศ. 2352 เดิมชื่อ หมู่บ้านกอถ่อน ในอดีตเป็นที่ค้าวัวค้าควาย ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองประเทศพม่าเข้ามา ตั้งบ้านเรือนเพื่อ “เก็บฮอมตอมไพร่” ในการบูรณะเมืองลำพูนหลังจากรกร้างจากการทำสงครามกับพม่า โดยชาวยองกลุ่มนี้ได้เข้าตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนใหญ่ประกอบกับที่ตั้งของ หมู่บ้านเป็นที่ดอน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านดอนหลวง” ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ เป็นแหล่งรวมหัตถกรรมของดีชุมชนชาวยอง อาทิ กลุ่มผ้าสี่ตะกอ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย กลุ่มทอผ้า กลุ่มตัดเย็บ กลุ่มเกษตรสวนลำไย และกลุ่มบาติกมัดย้อม สินค้าหัตถกรรมที่เด่น และขึ้นชื่อได้แก่ การทอผ้าฝ้ายทอมือ ซึ่งเป็นงานที่สืบทอดฝีมือต่อ ๆ กันมา จนเป็นที่กล่าวขาน ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ นับจากปี 2546 ได้มีการจัดงาน “แต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวงขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายน


่หมู่บ้านแกะสลักอำเภอแม่ทา     

เดินทางไปตามถนนสายแม่ทา - ท่าจักร ประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณบ้านหนองยางไคล ตำบลทุ่งทาหลวง และบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นแหล่งผลิตไม้แกะสลักเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น รูปคน รูปสัตว์ เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องประดับบ้าน ของเล่นเด็ก เป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนส่งไปขายยังจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง


หมู่บ้านกะเหรี่ยงพัฒนาห้วยหละ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลป่าพลู สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 (ลำพูน - ลี้) ระหว่างกิโลเมตรที่ 107 – 108 เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงที่ยังคงประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมไว้คือการทอผ้าแบบดั้ง เดิมโดยใช้เอวเป็นกี่ในการทอ

อุทยานธรรมะและหอศิลป์

อยู่ที่ 109/2 หมู่ 1 บ้านป่าซางน้อย อำเภอป่าซาง สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 และเข้าซอยข้างตลาดป่าซางไป 500 เมตร อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ก่อตั้งโดยคุณอินสนธิ์ วงศ์สาม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ปี พ.ศ. 2542 และคุณเวนิเซีย วอล์คกี้ ประติมากรชาวอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปะและธรรมะ แสดงงานศิลปะโดยสอดแทรกธรรมะซึ่งเข้าใจง่ายและสนุกสนาน อาจกล่าวได้ว่าเป็นศูนย์แห่งการพัฒนาจิตวิญญาณและศิลปกรรมร่วมสมัย 

ภายในอุทยานธรรมะและหอศิลป์ เป็นสวนร่มรื่น มีหอศิลป์สำหรับจัดแสดงงานประติมากรรม เกี่ยวกับธรรมะและพระพุทธศาสนา ผลงานประติมากรรมชิ้นเอกคือ "น้ำพุแห่งปัญญา" แสดงถึงหลักธรรมแห่งมรรค 8 รอบ ๆ อาคารมีแบบจำลองประติมากรรม มุมแสดงเสียงพิเศษ เรือนไทยแสดงผลงานและประวัติของคุณอินสนธ์ วงค์สาม นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วันเสาร์-อาทิตย์ มีการแสดงการปั่นฝ้าย ทำฝ้าย ย้อมสี ทอผ้า ฯลฯ สามารถทดลองปั่นและทอฝ้าย ทำหลังคาบ้านจากหญ้าแฝก สร้างมู่ลี่ เรียนรู้การทำบ้านดิน ค่าเข้าชม 500 บาท (รวมวิทยากรนำชมพื้นที่โดยรอบ หอศิลป์ และพิพิธภัณฑ์อินสนธิ์ พร้อมอาหารว่าง) และ 1000 บาท (รวมวิทยากรนำชมพื้นที่โดยรอบ หอศิลป์ และพิพิธภัณฑ์อินสนธิ์ พร้อมอาหารกลางวัน) เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00 - 16.00 น. โทรศัพท์นัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้าชมที่ 0 5352 1609 E-mail: dpp@loxinfo.co.th,


 


 
 
 

 

 
แนะนำสถานทีท่องเที่ยว กราบไหว้พระเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต และครอบครัว หรือคนที่เรารัก และยังได้ท่องเที่ยวอีกต่างหาก ซึ่งใช้เวลาภายในวันเดียว ก็สามารถท่องเที่ยวได้ ....
1
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
2
วัดมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย  
3
วัดพระบาทห้วยต้ม 
4
พระธาตุดวงเดียว (เวียงเจดีย์)
5
วัดจามเทวี
6
วัดพระพุทธบาทตากผ้า 
7
วัดมหาวัน
8
วัดศรีดอนชัย
9
วัดป่าซางงาม