WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

วัดท่าซุง

อยู่เลยจากศูนย์วัฒนธรรมบ้านอีมาด - อีทราย ไปไม่ถึง 1 กิโลเมตร จะมีเส้นทางเดินเท้าต่อไปถ้ำเกร็ดดาวได้ จากปากถ้ำจะมีบันไดไม้ไผ่ทอดยาวลงไปในถ้ำ เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่ ในถ้ำมีแท่งหินขนาดใหญ่ เมื่อถูกแสงจะเป็นประกาย เพดานถ้ำเต็มไปด้วยค้างคาว และชาวบ้านได้อาศัยขี้ค้างคาวไปทำเป็นปุ๋ยสำหรับใส่ไร่นา สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยเวลาเที่ยวถ้ำ คือ ไฟฉาย


ถ้ำเกร็ดดาว

อยู่เลยจากศูนย์วัฒนธรรมบ้านอีมาด - อีทราย ไปไม่ถึง 1 กิโลเมตร จะมีเส้นทางเดินเท้าต่อไปถ้ำเกร็ดดาวได้ จากปากถ้ำจะมีบันไดไม้ไผ่ทอดยาวลงไปในถ้ำ เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่ ในถ้ำมีแท่งหินขนาดใหญ่ เมื่อถูกแสงจะเป็นประกาย เพดานถ้ำเต็มไปด้วยค้างคาว และชาวบ้านได้อาศัยขี้ค้างคาวไปทำเป็นปุ๋ยสำหรับใส่ไร่นา สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยเวลาเที่ยวถ้ำ คือ ไฟฉาย

 

 

 


เขาปฐวี   

อยู่ในตำบลตลุกดู่ เป็นเทือกเขาขนาดเล็กยาวประมาณ 750 เมตร สูง 253 เมตร มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินที่เรียงซ้อนกันเป็นยอด ค่อนข้างสูงชัน มีถ้ำอยู่เรียงรายโดยรอบประมาณ 30 ถ้ำ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เช่น ถ้ำประทุน ถ้ำบันได ถ้ำอ่าง ถ้ำช่องลม ถ้ำพุทธประวัติ ถ้ำปลา และถ้ำค้างคาว เป็นต้น

 


วัดทัพทันวัฒนาราม

ตั้งอยู่บนถนนสายอุทัยธานี - ทัพทัน ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 19 กิโลเมตร ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอ 1 กิโลเมตร มีบานประตูโบสถ์อันงดงาม ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ บานหนึ่งแกะเป็นรูปคนถือธง ระบุ พ.ศ. 2466 อีกบานหนึ่งระบุว่าเป็นปีกุน มีลวดลายสวยงาม อกเลาบานประตูมีลวดลายยาวตลอด บานประตูอีกคู่หนึ่งแกะเป็นรูปเทวดาถือคันศรยืนบนพญานาค ข้างล่างเป็นภูเขามีสัตว์ต่างๆ ส่วนด้านบนเป็นลายกนกมะลิเลื้อย ฝีมือช่างคนละคนกับรูปเสี้ยวกาง บานประตูคู่นี้ไม่แกะลวดลายที่อกเลา เข้าใจว่าเป็นช่างพื้นบ้าน


ถ้ำพุหวาย      

ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติพุเตย สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนสูงชันสลับ ซับซ้อน ถ้ำพุหวาย เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ภายในถ้ำกว้างขวาง มีหินงอกหินย้อย เช่น รูปเจดีย์ อ่างน้ำ ทางเข้าถ้ำอยู่บนไหล่เขาต้องเดินขึ้นไป อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีโพรงทะลุถึงด้านตรงข้ามของภูเขา มีค้างคาวอาศัยอยู่ 9 ชนิด ติดต่อคนนำทางได้บริเวณปากถ้ำ ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ทางด้านหลังของถ้ำพุหวาย คือ ถ้ำเทพมาลีหรือถ้ำพญานาค เป็นถ้ำขนาดเล็กค่อนข้างลึกมีความสวยงามตามธรรมชาติของหินงอกหินย้อย ยอดเขาพุหวาย สูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่กว้างไกลอย่างสวยงาม บนสันเขามีสภาพเป็นป่าเต็งรังที่ค่อนข้างสมบูรณ์

การเดินทาง จาก ทางหลวงหมายเลข 3011 แยกเข้าทางเดียวกับสวนห้วยป่าปกรีสอร์ท และวัดถ้ำเขาวง แต่ทางไปถ้ำจะอยู่เลยจากแยกเข้าวัดถ้ำเขาวงไปประมาณ 4 กิโลเมตร


น้ำตกตาดดาว

อยู่เลยจากปากทางเข้าถ้ำเกร็ดดาวไปเล็กน้อย ฟากตรงข้ามเป็นทางเข้าน้ำตกตาดดาว ไหลผ่านโขดหินลงมาเป็นชั้นๆ 9 ชั้น บริเวณโดยรอบเป็นป่าสมบูรณ์


น้ำตกผาร่มเย็น

เป็นสายน้ำสีขาวทิ้งตัวลงมาในป่าทึบอยู่เบื้องล่าง สามารถมองเห็นได้จากริมถนน ชาวอุทัยว่าที่นี่เป็นน้ำตกที่สวยที่สุดในจังหวัด เพราะสายน้ำที่ไหลลงมานั้นเป็นสายบางๆ ตกลงมาตรงๆ คล้ายสายฝน โดยผ่านหน้าผาดินที่มีมอสสีเขียวเกาะอยู่เต็มไปหมด ประกอบกับพื้นที่เป็นป่ารกครึ้ม ทำให้คนที่ได้ยืนชมมีความรู้สึกชุ่มฉ่ำเย็นตามไปด้วย ทางเดินเข้าสู่น้ำตกผาร่มเย็นใช้เวลาประมาณ 20 นาที ปกติเดินเองได้ แต่หากต้องการคนนำทางติดต่อได้ที่ อบต.เจ้าวัด หรือสามารถติดต่อผ่านสวนห้วยป่าปก รีสอร์ท โทร. (056) 539-085

การเดินทาง ตัว น้ำตกอยู่ในตำบลเจ้าวัด อำเภอบ้านไร่ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 14 กิโลเมตร จากสามแยกอำเภอบ้านไร่เลี้ยวไปตามทางหลวงหมายเลข 3282 ประมาณ 500 เมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าทางลาดยางข้างปั๊มน้ำมันปตท. ตรงไปประมาณ 14 กิโลเมตร


วัดถ้ำเขาตะพาบ      
เป็นเขาลูกเล็กอยู่ในพื้นที่ตำบลวังหิน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 56 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 333 (อุทัยธานี - บ้านไร่) มีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3213 ที่จะไปอำเภอวัดสิงห์ 1 กิโลเมตร พบวัดอยู่ด้านขวามือถ้ำเขาตะพาบอยู่สูงจากระดับพื้นประมาณ 10 เมตร เป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนมาก ในบริเวณเดียวกันมีถ้ำอีกหลายแห่ง ทางด้านหน้าของถ้ำได้สร้างพระพุทธรูปและจัดเป็นเขตสังฆาวาส ส่วนถ้ำที่อยู่ด้านหลังเลี้ยวขวามือเป็นถ้ำท้องพระโรง ถ้ำแก้ว ถ้ำปราสาท และถ้ำเรือ เป็นต้น หากเลี้ยวซ้ายจะพบทางออกด้านหลังซึ่งเป็นทางไปสู่ถ้ำลึกที่มีบันไดลงไปถึง ก้นถ้ำ ตรงอุโมงค์หลังถ้ำมีหินรูปร่างคล้ายตะพาบ และเคยพบเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำทุกแห่งจะมีไฟฟ้าส่องทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าชม

วัดเขาวงพรหมจรรย์      

ตั้งอยู่ตำบลวังหิน เข้าทางเดียวกับวัดถ้ำเขาตะพาบแต่อยู่เลยมาประมาณ 7 กิโลเมตร และแยกเข้าซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในหุบเขา 2 ลูก คือเขาวงและเขาพรหมจรรย์ มีถ้ำที่น่าสนใจอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำแจ้ง มีแสงส่องถึง ถ้ำงูเหลือม มีงูเหลือมอาศัยอยู่ ถ้ำน้ำ มีน้ำขังตลอด ช่วงแล้งน้ำถึงเข่า ช่วงฝนน้ำถึงอก ส่วน ถ้ำเพชรถ้ำพลอย มีหินงอกหินย้อย เวลาสะท้อนแสงเป็นประกายแวววาวคล้ายเพชรพลอย การเข้าชมถ้ำแก้วและถ้ำเพชรต้องมีคนนำทาง บริเวณวัดมีชะง่อนหินตั้งเป็นแท่งสูงมีมณฑปขนาดเล็กอยู่บนยอด และไหล่เขาสร้างอุโบสถสวยงาม


น้ำพุร้อนบ้านสมอทอง

ตั้งอยู่ที่บ้านสมอทอง ตำบลคอกควาย อยู่ในโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว เดิมเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติขนาดเล็กที่ผุดขึ้นมาผิวดิน เป็นน้ำใสและมีกลิ่นกำมะถันฉุนมีความร้อนขนาดต้มไข่สุกภายใน 5 นาที ไหลผ่านช่องเขาไปรวมกับน้ำในลำห้วยคอกควาย ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงให้เป็นบ่อน้ำพุร้อน และเป็นจุดชมทิวทัศน์ และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้สวยงาม

การเดินทาง สามารถเดินทางจากอำเภอหนองฉางสู่อำเภอบ้านไร่ ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 3282 (บ้านไร่-ลานสัก) ประมาณ 33 กิโลเมตร สังเกตเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่ทางขวามือตรงกลางหุบเขาพอดี เมื่อผ่านสะพานข้ามคลองไปได้สองสะพานจะมีทางแยกตรงทางโค้งเข้าสู่โครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้วไป 2 กิโลเมตร จะถึงบริเวณน้ำพุร้อนบ้านสมอทอง


เมืองโบราณบ้านคูเมือง      

อยู่ที่ตำบลดงขวาง เป็นสถานที่พบระฆังหิน เครื่องมือหิน หินบดยา ลูกปัดสี และพระพิมพ์ดินดิบ


วัดหนองพลวง   

ตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนหนองขาหย่างวิทยาคม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2400 สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงจั่ว หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้นและเครื่องถ้วยเคลือบ มีทางเข้าทางเดียว ไม่มีช่อฟ้า เสมาโดยรอบเป็นหินสลักสวยงามบนฐานรูปดอกบัว


เมืองอุไทยธานีเก่า    

อยู่ที่บ้านอุทัยธานีเก่า เป็นที่ตั้งของเมืองอุไทยธานีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งยังคงมีซากโบราณสถานเหลืออยู่ เช่น วัดหัวหมาก วัดยาง และวัดกุฏิ ส่วนบริเวณโดยรอบได้กลายเป็นทุ่งนาไปหมด วัดที่ยังคงสภาพอยู่จนถึงปัจจุบันนี้คือ วัดแจ้ง มีพระปรางค์ซึ่งเดิมสร้างเมื่อ พ.ศ. 2081 ต่อมาถูกพม่าทำลายยอดหัก จึงบูรณะซ่อมแซมใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2458 พร้อมกับโบสถ์เก่าซึ่งเป็นโบสถ์ขนาดเล็กประตูเดียว แบบอยุธยาตอนปลาย ลายปูนปั้นของพระปรางค์และหน้าบันโบสถ์เป็นฝีมือเดียวกัน อีกวัดหนึ่งคือ วัดหัวเมือง ยังคงมีซากโบสถ์เก่าแบบอยุธยาเหลืออยู่ และเจดีย์โบราณขนาดเล็กหน้าโบสถ์เก่า


ถ้ำน้ำพุเขากวางทอง

เป็นถ้ำที่อยู่ในเขากวางทอง ตำบลทุ่งโพ มีความสูงประมาณ 325 เมตร ห่างจากอำเภอหนองฉางประมาณ 20 กิโลเมตร อยู่ขนานกับเขาบางแกรก ที่ราบลุ่มตรงกลางเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เดิมมีสัตว์ป่ามากินน้ำ โดยเฉพาะพวกกวางมีมากเป็นพิเศษ ถ้ำน้ำพุอยู่เชิงเขาภายในถ้ำมีน้ำพุ และมีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก


วัดหนองขุนชาติ

เป็นวัดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ มีอุโบสถเก่าภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 เขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติปางต่างๆ เช่น ตอนธิดาพระยามารมารำยั่วยวน ตอนเทศน์โปรดเทวดา ตอนหนีออกบรรพชา เป็นต้น ด้านบนเป็นพระสงฆ์ชุมนุมนั่งพนมมือ ที่น่าสังเกตก็คือ ภาพคนแต่งตัวสวมหมวกปีกอย่างชาวตะวันตก นอกจากอุโบสถเก่าแล้ว ยังมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอยู่ มีการจัดงานนมัสการพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี


วัดทัพทันิ

ตั้งอยู่บนถนนสายอุทัยธานี-ทัพทัน ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 19 กิโลเมตร ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอ 1 กิโลเมตร มีประตูโบสถ์อันงดงาม ฝีมือช่างสมัย รัตนโกสินทร์ บานหนึ่งแกะเป็นรูปคนถือธง ระบุ พ.ศ. 2466 อีกบานหนึ่งระบุว่าเป็นปีกุน มีลวดลายสวยงาม อกเลาบานประตูมีลวดลายยาวตลอด บานประตูอีกคู่หนึ่งแกะเป็นรูปเทวดาถือคันศรยืนบนพระยานาค ข้างล่างเป็นภูเขามีสัตว์ต่างๆ ส่วนด้านบนเป็นลานกนกมะลิเลื้อย ฝีมือช่างคนละคนกับรูปเสี้ยวกาง บานประตูคู่นี้ไม่แกะลวดลายที่อกเลา เข้าใจว่าเป็นช่างพื้นบ้าน


เขากวางทองไผ่เขียว

เป็นเขาสูง 372 เมตร อยู่ตำบลไผ่เขียว ห่างจากตัวอำเภอ 9 กิโลเมตร มีหน้าผาสวยงาม และถ้ำอีกหลายแห่งหินงอกหินย้อยเป็นประกายระยิบระยับสวยงาม ใกล้เขากวางทองมีเขาเล็กๆ คือ เขาลูกไก่ที่มีหินสลับซับซ้อนแปลกตา มีเขาพระอยู่ทางด้านเหนือ ซึ่งมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่


เมืองโบราณบึงคอกช้าง

อยู่ที่ตำบลไผ่เขียว ใช้เส้นทางสว่างอารมย์-ลาดยาว ทางหลวงหมายเลข 3013 ก่อนสุดเขตจังหวัดอุทัยธานี มีทางลูกรังแยกซ้ายไปบึงคอกช้าง ประมาณอีก 20 กิโลเมตร ค่อนข้างห่างไกลชุมชน เป็นเมืองโบราณที่มีคูเมืองและกำแพงดินล้อมรอบ ค้นพบซากโบราณ เครื่องปั้นดินเผา หินบดยา เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดสีเหลือง นอกจากนี้ยังขุดพบศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ 3 หลัก ปัจจุบันมีสภาพเป็นสวนป่าปลูกมีต้นไม้ขนาดใหญ่ปกคลุมอยู่ทั่วไป ส่วนบริเวณคูเมืองตื้นเขิน


พระแสงดาบศัสตราวุธประจำเมืองอุทัยธานี

สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นพระแสงดาบที่จังหวัดอุทัยธานีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองอุทัยธานี เมื่อ พ.ศ. 2449 พระแสงดาบนี้พระราชทานแก่จังหวัดอุทัยธานีเป็นลำดับที่ 3 (อันดับ 1 เมืองอยุธยา อันดับ 2 เมืองชัยนาท) 

พระแสงดาบศัสตราวุธ เป็นดาบไทยทำด้วยเหล็กสีขาวอย่างดี ปลายแหลม คมด้านเดียว มีน้ำหนักเบา สันเป็นลาย ฝังงาในเนื้อเหล็กรูปดอกไม้ร่วง และริมสันทั้งสองข้างมีลายทองเป็นรูปก้านขด โคนตรงกลางมีจารึกนามอักษร พระแสงสำหรับเมืองอุไทยธานี ด้ามพระแสงทำด้วยไม้เนื้อแข็งหุ้มทองลงยา โคนเป็นลายกนกตาอ้อย ปลายด้ามเป็นรูปจุฑามณีบัวคว่ำ 3 ชั้น ประดับด้วยพลอย ต้นฝักพระแสงทำด้วยทองคำเป็นรูปรักร้อยประดับพลอย มีกาบกนกหุ้มต้นฝักทำด้วยทองคำเป็นลายก้านขด ช่อดอกแกมใบประดับพลอย ตัวฝักพระแสงทำด้วยทองคำดุน ฝักทั้งสองข้างมีลวดลายต่างๆ สวยงามมาก นับเป็นศิลปกรรมฝีมือเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นพระแสงดาบสำคัญประจำ เมืองอุทัยธานี ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่คลังจังหวัดอุทัยธานี จะนำออกให้ชมเฉพาะในงานพระราชพิธีเท่านั้น


หมู่บ้านนาข่า และศูนย์หัตถกรรมบ้านเม่น

ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายอุดรธานี-หนองคาย (ทางหลวงหมายเลข 2) หมู่บ้านอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนนาข่า เป็นหมู่บ้านที่มีการทอผ้าขิด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าขิดในราคาย่อมเยา

การเดินทาง มีรถโดยสารประจำทางสายอุดรธานี-นาข่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นได้ที่หน้าสถาบันราชภัฎอุดรธานี และตลาดรังษิณา


ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอีมาด-อีทราย

อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.แก่นมะกรูด ถือว่าอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ชาวเขาที่อยู่ที่นี่เป็นชาวกะเหรี่ยง มีชีวิตที่สงบและเรียบง่าย และยังคงเคร่งครัดในประเพณีดั้งเดิม งานประเพณีที่น่าสนใจของที่นี่ เช่น งานไหว้เจดีย์ ซึ่งจะมีการรำวงรำดาบ และงานไหว้ต้นโพธิ์ ฯลฯ ญาติพี่น้องที่แยกย้ายจะกลับมารวมตัวกัน ประเพณีทั้งสองนี้จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี กำหนดวันจัดงานจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของท้องถิ่น เช่นเก็บเกี่ยวผลผลิตในท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว และที่สำคัญหมู่บ้านนี้มีข้อห้ามในการเล่นการพนัน และดื่มสุราผู้มาเยือนสามารถพักค้างคืนที่บ้านชาวกะเหรี่ยง ที่หมู่บ้านเจ้าวัดยางแดง หรือบ้านพักในศูนย์วัฒนธรรมซึ่งในบริเวณมีพิพิธภัณฑ์ชาวเขาอยู่ด้วย ติดต่อ โทร. (056) 512-026 ในเวลาราชการ และมีงานหัตถกรรม ผ้าทอพื้นเมือง เครื่องจักสานไม้ไผ่ และสินค้าเกษตรตามฤดูกาลมาจำหน่าย เช่น พริกแห้ง

การเดินทาง จากอำเภอบ้านไร่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 3011 ประมาณ 20 กิโลเมตร สุดถนนลาดยาง และไปต่อตามถนนลูกรังอัดอีก 1 กิโลเมตร


เขาปลาร้า

หน้าผาด้านตะวันตกที่ระดับสูง 320 เมตร พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์อายุประมาณ 3000 ปี เป็นลายเส้นสีดำและสีแดง เส้นสีดำค่อนข้างจางไปแล้ว ส่วนสีแดงยังเห็นได้อยู่ เขียนไว้ตลอดแนวยาวประมาณ 9 เมตร เขียนด้วยสีแดง มีกลุ่มภาพมนุษย์หลายแบบหลายลักษณะและกลุ่มภาพสัตว์ ภาพมีทั้งหมดประมาณ 40 ภาพ แสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตสังคมของคนยุคโบราณ ซึ่งเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุทัยธานี

นักโบราณคดีได้แบ่งกลุ่มภาพเขียนบนเขาปลาร้าไว้สี่กลุ่ม คือ
กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มภาพที่มีคนท่ามกลางสัตว์เลี้ยง (คาดว่าเป็นสุนัข)
กลุ่มที่สอง กลุ่มภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวัว การไปจับวัวป่านำกลับมาเลี้ยง
กลุ่มที่สาม กลุ่มภาพที่แสดงถึงการประกอบพิธีกรรม คนที่อยู่ในภาพมีเครื่องประดับซึ่งต่างจากคนทั่วไปและสัตว์ที่อยู่ในภาพมี ลักษณะคล้ายลิงอยู่ด้วย
กลุ่มที่สี่ กลุ่มภาพเบ็ดเตล็ด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ ภาพเขียนสีที่นี่ถือได้ว่ามีความประณีตและเน้นเหมือนจริงกว่าแหล่งอื่น


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง

คือดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มอบเป็นรางวัลแก่คน ไทยและคนทั้งโลก อีกทั้งเป็นพื้นที่ทรงคุณค่าต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งคนและสัตว์ป่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้เป็นมรดกแห่งแผ่นดินตลอดไป เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดก โลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ระหว่างวันที่ 9 - 13 ธันวาคม 2534 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย

ห้วย ขาแข้งมีพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ 3 จังหวัดคือ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 3,609,375 ไร่ หรือ 5,775 ตารางกิโลเมตร โดยมีการรวมพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเข้ามาด้วยทำให้ เป็นผืนป่าอนุรักษ์ต่อเนื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ี


เขาผาแรด

ตั้งอยู่ที่ตำบลลานสัก อยู่หลังที่ว่าการอำเภอลานสัก ประมาณ 7.5 กิโลเมตร เขาผาแรดนี้อยู่ห่างจากเขาพระยาพายเรือประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นเขาลูกเล็กๆ มีความสูงประมาณ 376 เมตร ภายในเขาลูกนี้เป็นที่ตั้งของถ้ำซึ่งมีหินงอกหินย้อย พร้อมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว และมีสำนักสงฆ์อยู่ใกล้เชิงเขาี


เขาพระยาพายเรือ

อยู่ในเขตตำบลลานสัก ห่างจากอำเภอเมือง 59 กิโลเมตร ตามทางสู่อำเภอลานสักตรงหลักกิโลเมตรที่ 29 - 30 แยกขวาเข้าที่ว่าการอำเภอลานสัก และเข้าทางลูกรังไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงเชิงเขาแล้วเดินขึ้นสู่ปากถ้ำอีกประมาณ 150 เมตร เขาพระยาพายเรือเป็นเขาลูกเล็กสูง 257 เมตร เมื่อมองจากระยะไกลจะแลดูคล้ายเรือสำเภาลำหนึ่ง บนยอดเขามีจุดชมทิวทัศน์ ภายในประกอบด้วยถ้ำเล็กๆ เชื่อมต่อกัน ได้แก่ ถ้ำแก้ว ถ้ำสีชมพู ถ้ำท้องพระโรง ถ้ำอ่างน้ำมนต์ และถ้ำพุทธสถาน ภายในถ้ำซับซ้อนมากจึงต้องมีป้ายบอกทางและมีไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการเที่ยว ชมความงามของหินงอกหินย้อย ตอนบนของถ้ำมี พระนอนขนาดใหญ่ ส่วนทางเข้าถ้ำต่างๆ นั้นอยู่ทางด้านซ้ายมือ มีทางเข้าทางเดียว ซึ่งเป็นทางลึกถึงข้างล่าง และมีบันไดลงไปได้ถึงก้นถ้ำ


เขาหินเทิน

อยู่ตำบลพลวงสองนาง มีลักษณะเป็นหินก้อนใหญ่ที่เทินกัน และยื่นออกมาจากพื้นเขา ก้อนหินขนาดใหญ่นี้มีสีขาวเกลี้ยงมัน ภายในเขาหินเทินยังมีถ้ำลึกอยู่ด้วย


น้ำตกไซเบอร์ หรือน้ำตกหินลาด

เป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้หมู่บ้านไซเบอร์ ตำบลคอกควาย อำเภอห้วยคต อยู่ห่างจากจังหวัด 86 กิโลเมตร น้ำตกนี้เกิดจากลำห้วยล่อยจ้อยที่ไหลมาจากภูเขาสูงของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าห้วยขาแข้ง จึงทำให้เกิดน้ำตกขึ้นเป็นระยะๆ หลายชั้น น้ำตกส่วนที่อยู่ตอนบนเรียกน้ำตกล่อยจ้อย บางแห่งตกจากที่สูงปะทะกับก้อนหินใหญ่ เรียก น้ำตกหินลาด ข้างล่างเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่รับน้ำตกที่ตกลงมาไม่ขาดสาย บางแห่งไหลซอกซอนล้นไปตามเกาะแก่งของหินลงสู่เบื้องล่าง เป็นทางยาวสูงต่ำหลายชั้น บริเวณโดยรอบเป็นป่าหวายและมีต้นไม้ร่มครึ้ม


น้ำตกอีซ่า

ตั้งอยู่หมู่บ้านกุดจะเริก ตำบลคอกควาย น้ำตกอีซ่านี้เป็นน้ำตกธรรมชาติที่มีน้ำไหลตลอดปี ซึ่งน้ำตกอีซ่านี้เกิดขึ้นจากลำธารอีซ่า บริเวณน้ำตกมีสภาพป่าที่เป็นธรรมชาติ และบริเวณป่าใกล้ๆ น้ำตกนี้มีหมูป่าชุกชุม

การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 333 มีเส้นทางเข้าตรงทางแยกเข้าบ้านวังบ่าง กิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายหนองฉาง-บ้านไร่ และแยกเข้าถนนสายวังบ่าง-สมอทอง อีกประมาณ 18 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านกุดจะเริก แล้วเดินเท้าอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกอีซ่า


เขื่อนทับเสลา

ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลระบำ จากอำเภอลานสัก ไปตามทางหลวงหมายเลข 3438 เป็นระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จะถึงทางแยกซ้ายมือเข้าเขื่อนทับเสลา เป็นทางราดยางอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เขื่อนทับเสลาเป็นเขื่อนชลประทานขนาดใหญ่ กั้นลำห้วยทับเสลา ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีทัศนียภาพสวยงาม มีภูเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหลัง บริเวณตอนใต้ของเขื่อนมีสภาพเป็นป่าเต็งรังและสวนป่าปลูก


หุบป่าตาด

อยู่ตรงข้ามกับเขาปลาร้า เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบถ้ำ และเมื่อเดินรอบถ้ำจะพบหุบเขาที่มีต้นตาดซึ่งเป็นต้นไม้ดึกดำบรรพ์ขึ้นอยู่


ศูนย์แสดงและสาธิตการทอผ้าพื้นเมือง(กลุ่มทอผ้าไพจิตต์)  ์

ตั้งอยู่หลังวัดบ้านไร่ ติดกับโรงเรียนบ้านหน้าฝายบึงตาโพ เลี้ยวเข้าซอยข้างโรงเรียนไป 700 เมตร เป็นกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ รวมทั้งรับสอนด้วย ลายที่ทอเป็นลายโบราณ เช่นลายหมาน้อย ลายขอหลวง ลายขอคำเดือน มีผลิตภัณฑ์จำหน่ายด้วย เช่น มีทั้งผ้าซิ่น ผ้าแต่ง ผ้าคลุมเตียง ผ้าคลุมโต๊ะ ผ้าตัดชุด หมอนขิด ในบริเวณยังมีพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณอายุกว่าร้อยปี


แหล่งทอผ้าพื้นเมืองบ้านโคกหม้อ

ชาวบ้านโคกหม้อเป็นชาวลาวครั้งที่อพยพ มาจากเวียงจันทน์ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีฝีมือการทอผ้ามาก หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจการทำนาผู้หญิงในหมู่บ้านจะทอผ้ากัน ผ้าทอนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งที่สืบทอดต่อกันมา 200 กว่าปี ผ้าที่ทอจะเป็นผ้ามัดหมี่ต่อตีนจก ผ้ายกดอกลายเชิงแบบเก่า ลวดลายบนผ้าเป็นแบบโบราณ เช่น ลายด่านเมืองลาว ลายนาค ลายด่านใหญ่ เป็นต้น และในสมัยก่อนจะใช้ครั่งในกรรมวิธีการย้อม กลุ่มที่ทอมีอยู่สองกลุ่ม คือ ศูนย์ทอผ้าบ้านโคกหม้อ อยู่ข้างวัดโคกหม้อ เป็นกลุ่มที่ทอผ้าไหม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มทอผ้าบ้านโคกหม้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 หลัง อบต. โคกหม้อ เป็นกลุ่มที่ทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ

การเดินทาง จากอำเภอทัพทันไปตามทางหลวงหมายเลข 3013 ทางไปสว่างอารมณ์ ประมาณ 9 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3456 ตรงไปมีป้ายบอกให้แยกซ้ายไปบ้านโคกหม้อ ประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงวัดโคกหม้อ


ถ้ำพนาสวรรค์

เป็นถ้ำในเทือกเขาที่บ้านห้วยโศก ตำบลป่าอ้อ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร โดยแยกตรงกิโลเมตรที่ 22 ของถนนสายหนองฉาง-ลานสัก เข้าหมู่บ้านบุ่งฝาง และหมู่บ้านห้วยโศก อีก 5 กิโลเมตร ภายในถ้ำแบ่งออกเป็นโถงถ้ำหลายถ้ำ มีหินงอกหินย้อยสวยงามตามธรรมชาติ และบริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของวัดห้วยโศก


ป่าสักธรรมชาติ     

ที่ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก เป็นป่าที่มีต้นสักเหลืออยู่แห่งเดียวในขณะที่ส่วนอื่นถูกทำลาย และได้รับการปรับปรุงให้เป็นวนอุทยานสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 58 กิโลเมตร


ถ้ำเขาฆ้องชัย

เป็นเทือกเขาอยู่ในตำบลลานสัก มีความสูงประมาณ 353 เมตร ทางด้านหน้าของเขาฆ้องชัยเป็นถ้ำตื้นกว้างเหมือนอุโมงค์ใหญ่ เข้าใจว่าเดิมมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เพราะพบเครื่องมือหิน และเศษภาชนะดินเผา ภายในบริเวณถ้ำแห่งนี้มีฝูงค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลาเย็นจะแลเห็นฝูงค้างคาวบินออกมาหากินนานนับชั่วโมง และถ้าสามารถปีนหน้าผาสูงไปได้จะพบถ้ำอยู่ทางด้านบน มีถ้ำธงชัย ถ้ำมหาสมบัติ ถ้ำเป็ด และถ้ำลม ใกล้กันเป็นที่ตั้งของเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งมีถ้ำสวยงาม บริเวณตรงกลางเป็นที่ดินในหุบเขามีเนื้อที่กว้างขวางมากซึ่งเป็นที่ตั้งของ วัดและโรงเรียนลานสักวิทยา

การเดินทางถ้าเดินทางจากอำเภอ หนองฉางสู่อำเภอลานสัก ถ้ำเขาฆ้องชัยนี้จะอยู่ก่อนถึงอำเภอลานสักประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือแล้วเลี้ยวเข้าโรงเรียนลานสักวิทยาไปประมาณ 200 เมตร ก็จะถึงบริเวณถ้ำเขาฆ้องชัย


สวนป่าห้วยระบำ  

เป็นของบริษัทไม้อัดไทย จำกัด มีเนื้อที่ 2,890 ไร่ อยู่ที่ป่าห้วยระบำ ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก ห่างจากตัวจังหวัด 78 กิโลเมตร สามารถเข้าไปชมแปลงป่าที่ปลูกใหม่ได้ มีเรือนพักรับรองสำหรับผู้นิยมธรรมชาติ บริเวณที่ทำการสวนป่าปลูกดอกกุหลาบและพันธุ์ไม้สวยงาม


เมืองโบราณการุ้ง

ตั้งอยู่ที่ตำบลวังหิน พบพระพุทธรูปปางเสด็จดาวดึงส์ และซากโบราณสถาน ในปัจจุบันยังคงมีกำแพงดินให้เห็นเป็นเขตแนวของเมือง สำหรับคูเมืองโดยรอบนั้นถูกขุดลอกทำลายเพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บน้ำสำหรับหมู่ บ้าน การเดินทางใช้เส้นทางสายอำเภอหนองฉาง-บ้านไร่ ทางหลวงหมายเลข 333 ผ่านบ้านทุ่งนา ทางแยกเขาตะพาบจนถึงบ้านเมืองการุ้ง ก่อนถึงอำเภอบ้านไร่ประมาณ 10 กิโลเมตร เมืองโบราณการุ้งจะอยู่บริเวณทางโค้งด้านซ้ายมือหลังศาลเจ้าแม่การุ้ง


เขาวง

เป็นเขาขนาดใหญ่อยู่ในตำบลไร่ อยู่ห่างจากอำเภอ 12 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านสะนำ บ้านหินตุ้ม มีทางเข้าทางทิศใต้ ทางหนองใหญ่ ซึ่งขึ้นสูงชันและลาดทีละน้อย เส้นทางอ้อมโค้ง ทางเข้าทิศเหนือเป็นหน้าผาต้องไต่ไปตามซอกเขา ระยะทาง 500 เมตร บนเขามีที่ราบกว้างมีต้นไม้หลายชนิด เช่น ไม้ยาง ไม้มะค่า ไม้เสลา เป็นต้น มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่บ้าง สำหรับถ้ำมีหินงอกหินย้อยงดงามมาก บางถ้ำมีช่องเข้าถ้ำเป็นวงกลม