WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก

อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ในส่วนของอำเภอส่องดาว อำเภอวาริชภูมิ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร อำเภอสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และอำเภอสมเด็จ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ 261,875 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูอ่างสอ สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ไผ่หลายชนิด และสมุนไพรชนิดต่าง ๆ สัตว์ป่าที่พบเห็นได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆแหล่งท่องเที่ยวบนยอดภูผาเหล็กโดยเฉพาะบริเวณหน้าผาต่าง ๆ หอส่องดาว สามารถใช้รถยนต์ขึ้นไปตามถนน รพช. จากที่ทำการอุทยานฯ ถึงหอส่องดาวระยะทาง 5.5 กิโลเมตร และใช้เส้นทางเดินเท้าสู่จุดท่องเที่ยว
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่่


อุทยานแห่งชาติภูพาน

อุทยานแห่งชาติภูพาน ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตของอำเภอเมือง อำเภอพรรณานิคม อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และอำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุดบาก จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 655 ตารางกิโลเมตร หรือ 415,838 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร และห้วยต่าง ๆ สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ ค่าง ชะมด ลิงลม มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่


อุทยานแห่งชาติภูผายล
ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และอำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร มีพื้นที่ประมาณ 825 ตารางกิโลเมตร หรือ 517,850 ไร่ เป็นอุทยานฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สภาพป่าทั่วไปเป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาหินทราย สภาพป่าประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา พรรณไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้ตะเคียน ตะแบก กะบก สัตว์ป่าที่พบได้แก่ เก้ง กวาง หมาไน เป็นต้น
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่

วัดใต้ต้นลาน

อยู่ที่ตำบลไร่หลักทอง เส้นทางสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2448 มีสถาปัตยกรรมฝีมือช่างท้องถิ่นที่น่าสนใจ ทั้งศาลาการเปรียญไม้เก่าแก่ เสาหงส์คู่ และปูนปั้นรูปยักษ์หน้าอุโบสถ พื้นอุโบสถปูด้วยกระเบื้องกังไสเก่าแก่ของจีน และมีหอไตรกลางน้ำสร้างด้วยไม้สัก


โค้งปิ้งงู

เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 213 (สกลนคร-กาฬสินธุ์) ช่วงที่ผ่านเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน เป็นทางที่คดเคี้ยวบนเนินเขาเหมือนงูเลื้อย ริมทางมีหลักกิโลเมตรยักษ์เป็นที่สังเกต และมีน้ำตกในบริเวณนี้หลายแห่งที่น่าเที่ยวชม อาทิ น้ำตกเหวสินธุ์ชัย น้ำตกสามหลั่น น้ำตกสาวไห

 

 

 


ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาผักหวาน

อยู่ที่บ้านภูตะคาม ตำบลท่าศิลา ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 18 กิโลเมตร เป็นภาพเขียนโบราณ มีอายุประมาณ 3,600 ปี อยู่บนก้อนหินใหญ่เป็นภาพลักษณะคล้ายผู้หญิงยืนเรียงกันเป็นแถวโดยใช้มือ เกาะไหล่กัน

สถานที่พัก ทางอุทยานฯ มีบริการ บ้านพัก ไว้บริการนักท่องเที่ยว และในกรณีที่นักท่องเที่ยวนำเต็นท์ไปเองเสียค่าพื้นที่ 30 บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร 47190 โทร. 0 1849 9546 หรือสอบถามข้อมูลที่พักเพิ่มเติมได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760
การเดินทาง ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร คล้อยมาทางจังหวัดอุดรธานี เส้นทางที่สะดวกที่สุดที่จะเข้าสู่พื้นที่ คือ เริ่มจากจังหวัดอุดรธานี ใช้เส้นทางจังหวัดอุดรธานี-สกลนคร มาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 22 จนถึงทางแยกหลักกิโลเมตรที่ 95 ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านต้าย-ดอนส้มโฮง ถึงทางแยกบ้านโพนสว่าง หลักกิโลเมตรที่ 17 ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. สายบ้านโพนสว่าง-ภูผาเหล็ก อีก 6 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ


ปราสาทบ้านพันนา

ตั้งอยู่ที่บ้านพันนา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กิโลเมตร ในเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี ลักษณะของปราสาทมียอดเดียว ฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยศิลาแลง บริเวณใกล้กับตัวปราสาทมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลงเป็นชั้น ๆ มีน้ำขังตลอดปี เชื่อว่าสร้างสมัยเดียวกับปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ปราสาทบางส่วนยังคงสภาพสมบูรณ์

 


ถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง หรือ ภูผาทอง)

ตั้งอยู่ที่ตำบลค้อเขียว ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิประมาณ 9 กิโลเมตร บริเวณถ้ำมีลักษณะนำเพิงหินมาดัดแปลงก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นศาลาการเปรียญ บริเวณใกล้ถ้ำมีหินธรรมชาติรูปร่างแปลก ๆ มากมาย

 


วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม หรือวัดถ้ำพวง และพิพิธภัณฑ์อาจารย์วัน อุตตโม

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร ก็จะถึงอำเภอสว่างแดนดิน เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอส่องดาวไปถึงวงเวียนอนุสาวรีย์พระเวสสันดรระยะทางอีก ประมาณ 27 กิโลเมตร จากอนุสาวรีย์หากแยกขวาจะไปวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม ตรงไปประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงพิพิธภัณฑ์ พระอุดม สังวรวิสุทธิ สร้างเป็นรูปทรงจตุรมุข 2 ชั้น ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ชั้นล่าง ตกแต่งเป็นห้องแสดงภาพวาดเกี่ยวกับประวัติของพระอาจารย์ตั้งแต่เกิด ส่วน ชั้นบน มีรูปปั้นของท่านในท่านั่งขัดสมาธิ พร้อมเครื่องสักการะบูชาที่ตกแต่งสวยงาม และตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารของท่าน บริเวณใกล้เคียงกันมีถ้ำพวงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระมุจรินทร์องค์ใหญ่ และยังมีสังเวชนียสถาน 4 ตำบลขนาดใหญ่อยู่ด้วย


เขื่อนน้ำพุง
อยู่เลยพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ไปประมาณ 30 กิโลเมตร จากตัวเมืองไปตามถนนสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ประมาณ 37 กิโลเมตร จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนแบบหินทิ้ง แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาว 1,720 เมตร สูง 40 เมตร ผลิตกระแสไฟฟ้าแจกจ่ายให้ประชาชนในเขตจังหวัดสกลนคร และนครพนม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนน้ำพุงเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 บรรยากาศภายในเขื่อนเงียบสงบ เย็นสบาย

เขื่อนน้ำอูน
อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ก่อนถึงอำเภอพังโคน ประมาณ 5 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าถนนสายพังโคน-วาริชภูมิ (ทางหลวงหมายเลข 227) เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดประมาณ 57 กิโลเมตร เขื่อนแห่งนี้เป็นเขื่อนดิน สร้างกั้นลำน้ำอูนซึ่งเป็นสายหนึ่งของแม่น้ำสงคราม ซึ่งมีต้นน้ำมาจากเทือกเขาภูพาน เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการชลประทาน บรรยากาศเหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ สภาพโดยทั่วไปเป็นอ่างเก็บน้ำกว้างใหญ่ รายล้อมด้วยเทือกเขาภูพาน และป่าไม้ที่สวยงาม บริเวณใกล้กับสันเขื่อนเป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากการระบายน้ำออกจากเขื่อน

พระธาตุศรีมงคล

ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุศรีมงคล ตำบลบ้านธาตุ ริมเส้นทางสายพังโคน-วาริชภูมิ ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิ 200 เมตร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 65 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ยอดแหลม ตกแต่งด้วยศิลปกรรมยุคใหม่ ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลายปั้นดินเผา บริเวณฐานเป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าสร้างด้วยดินเผาที่สร้างขึ้นครอบพระ ธาตุองค์เดิม ซึ่งเป็นศิลาแลงที่ชำรุด นับเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอวาริชภูมิ การคมนาคมสะดวกรถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณวัด


วัดคำประมง
ตั้งอยู่ที่บ้านคำประมง ตำบลสว่าง เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 22 สายสกลนคร-พรรณานิคมประมาณ 37 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาไปทางอำเภออากาศอำนวยอีกประมาณ 10 กิโลเมตร อาคารต่าง ๆ สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ วัดนี้เป็นที่วิปัสสนาของพระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม พุทธาโร) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งของไทย

ิพิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร

ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม ตามเส้นทางสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 จากสกลนครถึงอำเภอพรรณานิคมประมาณ 37 กิโลเมตร จะมีทางแยกเลี้ยวขวาผ่านตัวอำเภอพรรณานิคมไปประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้น ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัต
การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) และเลี้ยวขวาผ่านตัวอำเภอพรรณานิคมไปประมาณ 2 กิโลเมตร


ภาพรอยสลักผาสามพันปีที่ภูผายล

ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านนาผาง ตำบลกกปลาซิว ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 38 กิโลเมตร ภูผายลเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ในบริเวณนั้นมีภาพแกะสลักบนหน้าผาหินเป็นรูปภาพต่าง ๆ แสดงชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่ใช้ของแข็งขูดขีดลงบนหน้าผา เช่น ภาพสัตว์ คน ไร่นา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีธรรมชาติรอบข้างเป็นป่าเขาที่สวยงาม

              การเดินทาง จากตัวอำเภอเต่างอยไปตามเส้นทางสายอำเภอเต่างอย-ศรีวิชาไป 5 กิโลเมตร แวะเข้าสู่บ้านม่วง-นาอ่าง และเดินทางต่อผ่านบ้านโพนบก-โพนแพง และบ้านนาผางตามลำดับ รวมระยะเส้นทางประมาณ 35 กิโลเมตร ก่อนถึงภูผายล จากบ้านนาผางขึ้นไปจะเป็นถนนลาดยางจนถึงหน้าผาหิน และมีบันไดขึ้นสู่หน้าผายอดเขา ตามระยะทางสามารถแวะพักตามจุดชมวิว ซึ่งมีก้อนหินทรายตั้งวางเป็นระยะ บางแห่งรูปคล้ายเพิงพัก หรือแท่นที่นั่ง


พระธาตุภูเพ็ก  

ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหัวบ่อ บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 22 ห่างจากตัวเมืองสกลนครไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 491 ขั้น จะถึงองค์พระธาตุซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาภูพาน องค์พระธาตุสร้างด้วยหินทราย อยู่บนฐานศิลาแลง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 0.70 เมตร ตัวปราสาทสูง 7.67 เมตร ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคา และยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานและมีการยกเรื่องประวัติศาสตร์ การก่อสร้างไว้ในตำนานพระอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ซึ่งกล่าวไว้ว่า พระธาตุภูเพ็กสร้างโดยกลุ่มผู้ชายเพื่อแข่งขันกับกลุ่มผู้หญิงซึ่งสร้างพระ ธาตุนารายณ์เจงเวงเพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า แต่กลุ่มผู้ชายได้ยุติการสร้างเมื่อเห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นกลลวงของกลุ่มผู้หญิงผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ตามชื่อดาว “เพ็ก”
การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร


พิพิธภัณฑ์อาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส การเดินทาง ไปตามถนนสุขเกษมจนถึงศูนย์ราชการจังหวัดมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 250 เมตร ตัวพิพิธภัณฑ์มีลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ สร้างด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในพิพิธภัณฑ์มีรูปหล่อเหมือนองค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในท่านั่งสมาธิ และมีตู้กระจกบรรจุอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นแก้วผลึกใสสีขาว ยกฐานสูงพื้นปูด้วยหินอ่อน พร้อมทั้งตู้แสดงเครื่องอัฐบริขาร รวมทั้งประวัติความเป็นมาของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว ที่ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี และอุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในปฏิมาธุดงด์กรรมฐานเป็นวัตร มีพระในสายเดียวกับท่านอีกหลายองค์ที่ได้เข้ามาปฏิบัติ และฝึกวิปัสสนากรรมฐานตามแนวของท่าน เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อาลนาโย หลวงปู่แหวน สุจินต์โน เป็นต้น ต่อมาท่านได้ย้ายจากการธุดงค์กรรมฐานเข้ามาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส และมรณภาพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นอกจากนั้นยังมี  พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย     จันทสาโร ตั้งอยู่ในวัดป่าสุทธาวาส สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่หลุย (2444-2532) ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่สายวิปัสสนา ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น หลวงปู่หลุยเป็นผู้ที่มีปฏิปทาชอบจาริกไปในที่ต่าง ๆ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตท่าน เมื่อท่านมรณภาพและพระราชทานเพลิงศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชกระแสว่า “ควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่วัดนี้มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านจะได้อยู่ใกล้กัน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ร่างแบบเจดีย์องค์นี้ด้วยพระองค์เอง

วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม  
ชาวบ้านมักเรียกว่า ภูคำขาม อยู่ในเขตบ้านคำป่า ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะตรงขึ้นไปพระธาตุภูเพ็กมีทางแยกขวาไปประมาณ 30 กิโลเมตรวัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะบูชาอยู่

วัดพระธาตุเชิงชุม   
ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ปลายถนนเจริญเมือง ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 24 เมตร ยอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุเชิงชุมทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท มีซุ้มประตู 4 ด้าน ข้างในทึบ สร้างครอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ซึ่งหมายถึง พระกกุสันทะ พระโกนาคม พระกัสสะปะ และพระโคดม หรือพระศรีอารียเมตตรัย (คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชาวพุทธศาสนิกชนเคารพสักการะบูชาอยู่ทุกวันนี้ ) สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัด แต่นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาแต่โบราณ ภายในวิหารใกล้พระธาตุเชิงชุม เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์แสนอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดสกลนคร ทุกวันพระในตอนค่ำจะมีประชาชนไปบูชากราบไหว้พระธาตุ และหลวงพ่อองค์แสนเป็นจำนวนมาก งานประจำปีของพระธาตุเชิงชุมจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ของทุกปี (กำหนดตามจันทรคติ)

พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
ตั้งอยู่กลางเทือกเขาภูพาน บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ เส้นทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองสกลนคร 13 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปทางด้านขวามือ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2106 เป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณสถานที่ตั้งเป็นป่าไม้ร่มรื่น มีไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ในระหว่างที่ไม่ได้ประทับอยู่ที่พระตำหนัก อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ทุกวัน โดยทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการพระราชวัง พระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ 10200 และเมื่อได้รับหนังสือตอบรับแล้วจึงจะเดินทางไปชมได้

พระธาตุนารายณ์เจงเวง  
เป็นพระธาตุประกอบด้วยปรางค์องค์เดียว สร้างด้วยหินทรายบนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ สลักลวดลายลงบนเนื้อหิน มีทับหลังจำหลักภาพพระกฤษณะฆ่าสิงห์ในรูปแบบศิลปะเขมร สมัยบาปวน ลักษณะคล้ายกับปราสาทหินของขอมที่ปรากฏหลายแห่งในภาคอีสาน ลวดลายสลักหินบนซุ้มประตู หน้าต่างยังมีลักษณะสมบูรณ์ปรากฏชัด ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นฝีมือของผู้หญิงสร้างทั้งหมด เพื่อแข่งขันกับผู้ชายที่สร้างพระธาตุภูเพ็ก รูปแบบและศิลปะสันนิษฐานมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 งานประเพณีของพระธาตุนารายณ์เจงเวงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสกลนคร-อุดรธานี (ทางหลวงหมายเลข 22) ถึงบริเวณบ้านธาตุซึ่งอยู่ก่อนถึงสี่แยกถนนเลี่ยงเมืองเล็กน้อยแล้วเลี้ยว ซ้ายเข้าไปอีก 400 เมตร

หนองหาน  
เป็นทะเลสาบน้ำจืด ที่มีชื่อเสียง และกว้างใหญ่มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 123 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับน้ำตกของลำห้วยต่าง ๆ หลายสาย และยังเป็นต้นน้ำของลำน้ำก่ำซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อำนวยประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชนรอบหนองหาน ระดับน้ำในหนองหานลึกประมาณ 3-8 เมตร ในบริเวณหนองหานมีเกาะต่าง ๆ กว่า 20 เกาะ เช่น เกาะดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด บนเกาะมีวัดร้าง และพระพุทธรูปเก่าแก่ นอกจากนั้นตามเกาะต่าง ๆ เหล่านี้จะมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย เป็นที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด บางเกาะได้สร้างศาลาพักร้อน เช่น เกาะแก้ว เกาะดอนสะคาม และเกาะดอนสะทุง ฯลฯ ซึ่งในเวลากลางวันสาหร่ายที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เมื่อแดดส่องลงในน้ำจะเห็นสาหร่ายเป็นสีทอง

 
ภูอ่างศอ  
อยู่ที่ตำบลคำบ่อ ห่างจากศูนย์ราชการ 18 กิโลเมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบตั้งแค้มป์เป็นหมู่คณะ โดยเฉพาะในฤดูหนาวนั้นมีความงามไม่แพ้ภูกระดึง

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปู่มเหศักดิ์ และ พิพิธภัณฑ์ไทยโส้
ตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร อยู่ทางด้านขวามือ ตามเส้นทางสายสกลนคร-นครพนม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สักการะบูชาของชาวไทยโส้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพซึ่งช่วยคุ้มครองชาวไทยโส้ ในพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ของชาวไทยโส้ซึ่งอพยพมาจากฝั่ง ซ้ายแม่น้ำโขง มีแผ่นป้ายเขียนข้อความภาษาของชาวไทยโส้เปรียบเทียบกับภาษาไทย ให้เห็นถึงความแตกต่างของตัวอักษร และสำเนียงการออกเสียง

ชาวภูไท บ้านโนนหอม  
ตำบลโนนหอม อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสกลนคร- นาแก (ทางหลวงหมายเลข 223) ประมาณ 13 กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวภูไทที่บ้านโนนหอมนี้อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมื่อประมาณ 100 กว่าปีแล้ว และยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวภูไทไว้ ติดต่อการแสดงจัดพาแลง (พาแลง หมายถึง การร่วมรับประทานอาหารเย็นกับชาวภูไท) และการฟ้อนรำของชาวภูไทล่วงหน้าที่ ศูนย์สาธิตการตลาดบ้านโนนหอม เลขที่ 5 หมู่ที่ 2 ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสกลนคร- นาแก (ทางหลวงหมายเลข 223) ประมาณ 13 กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด  
ตั้งอยู่ในสถานีประมงน้ำจืด ถนนใสสว่าง ภายในจัดแสดง และให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ปลาชนิดต่าง ๆ ที่ค้นพบในภาคอีสาน เช่น ปลาเผือก ปลาหอม ปลาเสือตอ ปลาออสก้าร์ลาย ปลาจันทร์เทศ เป็นต้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการ

พระธาตุดุม
อยู่ที่วัดพระธาตุดุม บ้านธาตุดุม ตำบลงิ้วดอน ถนนสาย รพช. ทางไปโรงเรียนพัฒนาศึกษา ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร มีปรางค์องค์เดียวสร้างด้วยศิลาแลงสมัยเดียวกับพระธาตุนารายณ์เจงเวง แต่องค์ปราสาทเล็กกว่ามีเพียงยอดเดียวไม่มีฐานรองรับ พบทับหลังทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศเหนือเป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ นอกจากนี้ยังมีภาพเทวดาทรงพาหนะเหนือหน้ากาลประกอบด้วยสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง สิงห์ และลายใบไม้ม้วน การกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ศิลปะเขมรแบบบาปวน