WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

หิน 3 วาฬ ภูสิงห์

ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู ในบริเวณพื้นที่ป่าภูสิงห์ จะมีก้อนหินขนาดใหญ่ มีรูปทรงแปลกๆ และทำให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการได้จิตนาการ ว่าโขดหินหขนาดใหญ่เหมือนกับเรากำลังยืนอยู่ในดง ยักษ์หินขนาดใหญ่


วัดอาฮงศิลาวาส  

เป็นวัดเก่าแก่แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อใด จากคำบอกเล่า ทราบแต่เพียงว่าเดิมเป็นสำนักสงฆ์ และเนื่องจากวัดตั้งอยู่ในป่าที่รกทึบ จึงเรียกว่า “วัดป่า” โดยหลวงพ่อลุน เป็นผู้ก่อตั้ง ท่านได้มรณะไปเมื่อปี พ.ศ. 2506 ด้วยโรคชรา หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีพระภิกษะสงฆ์มาจำพรรษาอีกเลย หากจะมีบ้างก็เป็นเพียง พระธุดงค์ที่จาริกผ่านมาพักบำเพ็ญเพียรภาวนาชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็จากไป สภาพวัดในสมัยนั้นแทบเรียกว่าวัดร้าง แต่ถึงแม้ไม่มีพระสงฆ์ จำพรรษาก็ยังมีคุณยายชีท่านหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวบ้านอาฮงคอยเฝ้ารักษาดูแล


ทะเลบัวแดง หนองเลิง

ตั้งอยู่ บ้านดอนหญ้านาง อ.พรเจริญของเรานั่นเอง ดอกบัวแดงออกบานสพรั่งสีแดงชมพูสวยงามเป็นที่น่าท่องเที่ยวพายเรือชมยิ่งนัก จากหนองน้ำธรรมดาในอดีต ถูกธรรมชาติรังสรรค์กลายเป็น “ทะเลแห่งดอกบัวแดง“ ในปัจจุบัน ทะเลบัวแดง ริมหนองเลิง พร้อมแล้วต้อนรับนักท่องเที่ยวพี่น้องชาวบึงกาฬและไกล้เคียงที่ผ่านไปมาขอเชิญเที่ยวชมทะเลบัวแดง บ้านดอนหญ้านาง


เจ้าแม่สองนาง   

ประวัติความเป็นมา ผู้เรียบเรียงประวัติของเจ้าแม่สองนาง ได้เขียนได้ดังนี้ ตามที่ได้รับฟังคำบอกเล่าจากผู้เฒ่ามาคือ พ่อตู้จ้ำนาค สุริยะกาญจน์ (จ้ำ หมายถึง คนดูแลศาลเจ้า) และพ่อตู้เฮือง ผิวเฟื่อง (ปัจจุบันอยู่คุ้มเหนือ) เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2137 เกิดศึกฮ่อ ได้ขับไล่คนไทยออกจากลุ่มแม่น้ำโขง ลงมาทางตอนใต้ พวกเผ่าพันธ์ุไทยเดิมก็อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง มาปักหลักอยู่หลายแห่ง แบ่งกันอยู่คนละมุมตามลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงอพยพลงมา ในช่วงอพยพลงมา พ่อตู้พรมก็ได้เสียเมียรักไปด้วยโรคอหิวาห์ ในกลางทาง เหลือแต่ลูกสาวสองคน คือ นางสมสี และนางบัวลี จึงเดินทางต่อลงมาในเขตชัยบุรี (อ.บึงกาฬ ปัจจุบัน)

พ่อพรมเป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้า ก็ไปอยู่ดอนหอทุ่ง(กุดทิง ปัจจุบัน) ให้ลูกสาวสองคนอยู่ที่หนองบึงกาฬ แต่สองคนไม่ยอมแต่งงานขออยู่เป็นโสดตลอดไป ต่อมาผู้เป็นพ่อก็เสียชีวิตลง ลูกทั้งสองก็เอาศพไว้ ณ ที่ดอนหอทุ่ง (กุดทิงปัจจุบัน) สองคนพี่น้อง นางสมสี และนางบัวลี ก็ล้มป่วยลงเพราะขาดแม่ ขาดพ่อ ได้เอาสุสานไปเก็บไว้บริเวณบ้านของตู้จารย์มา ต้นหาบึ้ง (ที่ธนาคารกสิกรไทย) หลังจากนั้นมา เมื่อปี 2498 ได้ย้ายศาลมาอยู่ที่มุมทางเข้า รพ. ปัจจบัน และได้ย้ายศาลเจ้าแม่สองนางมาอยู่ที่ปัจจุบัน จนทุกวันนี้

เจ้าแม่สองนางเป็นศาลอันศักดิ์สิทธิ์ทั่ว สารทิศผู้คนไปมาได้กราบไหว้บูชา ขอพรให้เจริญรุ่งเรือง บริเวณที่สร้างศาลเจ้าแม่สองนางปัจจุบันแต่ก่อนมีต้นพุทราอยู่สองต้นลูกดก ทางราชการต้องการย้ายศาลเจ้าแม่สองนางไปที่อื่น พอไปดูทางโหราศาสตร์ แล้วบอกว่า ย้ายไม่ได้ขออยู่ที่เดิม เพราะมองเห็นแม่น้ำโขงตลอดทั้งปี

แก่งอาฮง  

บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส บ้านอาฮง ตำบลหอคำ ถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลากและมีกระแสน้ำไหลวนเป็น รูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น “สะดือแม่น้ำโขง” แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮงมีความกว้างประมาณ  300  เมตร  ในฤดูน้ำลด  และมีความกว้าง  400  เมตร  ในฤดูน้ำหลาก และจะสามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคมของทุกปี และกลุ่มหินที่ปรากฎบริเวณแก่งอาฮงจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอบึงกาฬและเป็นสถานที่ เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ“บั้งไฟพญานาค” ในช่วงประเพณี ออกพรรษา จะมีนักท่องเที่ยวมาพักเที่ยวชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บริเวณบ้านอาฮงเป็นจำนวนมาก  จะมีมากในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่ปฏิทินไทย กับปฏิทินประเทศ สปป.ลาวตรงกัน และชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมงด้วย


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูวัว

กรมป่าไม้เริ่มทำการสำรวจ เบื้องต้นป่าภูวัว เมื่อ พ.ศ. 2507 และพบว่าป่าแห่งนี้เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธารที่สำคัญ สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ และมีสัตว์ป่าชุกชุม สมควรที่จะจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูวัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่อีกคณะหนึ่งเข้าไปทำการสำรวจอย่างละเอียด และทำการรังวัดหมายขอบเขตเพื่อทำการประกาศเป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าต่อไป แต่เนื่องจากสถานการณ์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ แทรกซึมของผู้ก่อการร้าย การดำเนินงานต่าง ๆ จึงต้องหยุดชะงักลง จนถึงปี พ.ศ. 2517 เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ ภายในพื้นที่ป่าภูวัวคลี่คลายลง กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการต่อไปจนสามารถนำเรื่องเสนอขอความเห็นจากคณะ รัฐมนตรีและตราพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูวัว ให้เป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูวัว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 87 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2518 มีเนื้อที่ประมาณ 186.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ อยู่ในท้องที่ตำบลหนองเดิ่น ตำบลบุ่งคล้า ตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งคล้า ตำบลบ้านต้อง ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา ตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ และตำบลท่าดอกคำ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย และในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการรังวัดฝังหลักเขตรอบพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับหน่วยพิทักษ์ป่าถ้ำ ฝุ่น ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงภูวัว ยังมีความอุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ จึงได้ผนวกพื้นที่บริเวณนี้เข้าเป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูวัว เนื้อที่ประมาณ 8,100 ไร่ รวมมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 124,662 ไร่
สภาพภูมิประเทศ


หลวงพ่อพระใหญ่ บ้านท่าใคร้

 

วัดโพธาราม บ้านท่าใคร้ หมู่ที่ 5 ต.บึงกาฬ อ.บึงกาฬ จ.หนองคายหลวงพ่อพระใหญ่เป็นพระพุทธรูปรางมารวิชัย โบกฉาบด้วยปูนองค์หลวงพ่อมีขนาดดังนี้
- หน้าตักกว้าง 2 เมตร
- จากฐานถึงยอดพระเกศสูง 2.10 เมตร
- จากพระฌาน ุ(เข่า) ถึงพระศอ (คอ) สูง 0.90 เมตร
พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 5 เหยียดลงอย่างมีระเบียบเหมือนพระพุทธรูปทั่วๆ ไปประดิษฐานบนแท่น 4 เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี 2537 นี้
ตามตำนานและคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หลายรุ่น หลายสมัยเล่าสืบต่อกันมาประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว จนถึงยุคสมัยหลังๆ ซึ่งแต่ก่อนคนเหล่านี้ส่วนมากได้อพยพครอบครัวมาจากเมืองยศ (บริเวณจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) มาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำโขงและร่นขึ้นมาทางเขตชัยบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอบึงกาฬ) การตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นก็เหมือนกันทุกยุคทุกสมัย คือที่ใดไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิต ต้องประสบกับภัย และมีการระบาดของโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอหิวา โรคไข้ฝีดาด ถูกรบกวนจากสัตว์ร้ายหรือภูตผีปีศาจต่างๆ ก็พากันหลบหนีภัยย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ เพื่อหาที่เหมาะสมต่อไป ชนกลุ่มนี้ก็เหมือนกันย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ เพื่อหาที่เหมาะสม จนถึงบ้านท่าใคร้ในปัจจุบัน เมื่อเห็นเป็นที่เหมาะสมดีก็ตกลงใจกันตั้งหลักฐานที่จะหากินในบริเวณนี้
จากนั้นต่างก็จับจองพื้นที่หากินแล้วเริ่มขยายอาณาบริเวณไปเรื่อยๆ จนถึงบริเวณที่รกทึบที่สุดเป็นป่าดงดิบ มีไม้นานาพันธ์ุ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้สัก ไม้ไผ่ป่า ขี้นอยู่อย่างหนาแน่นและเต็มไปด้วยสัตว์ป่าหลายชนิด ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากเป็นป่ารกทึบมากชาวบ้านที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆ จึงได้ร่วมกันในการถากถางเพื่อจะได้มีพื้นที่มากขึ้น หลังจากที่ได้ทำการถากถางอยู่เป็นเวลาหลายวันก็พบพุ่มไม้ที่สูงและหนากว่า ที่อื่นๆ เมื่อถางป่าดังกล่าวออกก็พบพระพุทธรูปเดิมที่เต็มไปด้วยเถาวัลย์พันรอบองค์ อยู่ จึงได้นำเถาวัลย์ออก แล้วปัดกวาดบริเวณรอบๆ ก็พบว่าพระเกตุมาลาของหลวงพ่อหักเพราะถูกช้างป่ากระชากเถาวัลย์ลงมาเพื่อ หากินตามธรรมชาติของสัตว์ป่า และเห็นเป็นรูปร่างของสถานที่บำเพ็ญบุญ หรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา อีกทั้งยังพบซากเครื่องปั้นดินเผา โอ่งโบราณ รวมทั้งเครื่องใช้อีกหลายอย่าง
องค์พระพุทธรูปนั้นตั้งแต่ได้พบมาถึงปัจจุบัน ไม่เคยเคลื่อนย้ายหรือ ต่อเติมแต่อย่างใด เพียงแต่ต่อพระเกตุที่หักให้คงสภาพเดิม มีเพียงแท่นที่ประดิษฐานเท่านั้นที่สร้างโอบแท่นเดิม เพื่อให้มีความมั่นคงขึ้นยิ่งกว่าเดิม และมีผู้ที่มาขอพรจากหลวงพ่อเมื่อได้สมความปรารถนาแล้วก็ได้นำสีทองมาทา สมโภชหลวงพ่อ จึงทำให้องค์หลวงพ่อเหลืองอร่ามเป็นสีทองทั้งองค์


หนองกุดทิง  

  เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มีความกว้างโดยเฉลี่ย  22,000  ไร่  ลึก 5-10 เมตร มีความหลากหลายทางชีวภาพประกอบด้วยสัตว์น้ำกว่า  250  สายพันธ์ุ  มีปลาที่เป็นเอกลักษณ์ไม่มีที่ใดในโลก  20  สายพันธ์    พืชน้ำกว่า  200  ชนิดเป็นที่ทำมาหากินของประชาชนในบริเวณนั้นกว่า  2,000  ครัวเรือน  มีนกพันธ์ุต่างๆกว่า  40  ชนิด  ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลกแห่งที่ สองของจังหวัดหนองคาย  และมีที่อนุรักษ์เด็ดขาดคือ ไม่ให้คนผ่านไป  เลี้ยงสัตว์ จับสัตว์ทุกชนิดในบริเวณนั้นมากกว่า  5  แห่ง  จึงมีนกและสัตว์น้ำอาศัยอยู่เพื่อเพาะพันธ์ุอย่างมากมายตลอดทั้งปี   สถานที่ตั้งห่างจากอำเภอเพียง 1 กม.
          จากคำกล่าวขานถึงบึงกุดทิงเป็นภาษาอีสานว่า “อำเภอบึงกาฬ นี้มีกุดทิงบนดินดำน้ำชุ่ม ปลากุ่มบ่อนเหมือนแข่แกงหาง ปลานางบ่อนเหมือนขางฟ้าลั่น จั๊กจั่นฮ้องเหมือนฟ้าล่างบน” หลายคนได้ยินอาจสงสัย จะต่างจากหนองบึงในแบบเดียวกันอย่างไร แต่สำหรับชุมชนชาวกุดทิงแล้ว คำเหล่านี้มีความนัยมากมาย บึงแห่งนี้ให้กุ้งหอยปูปลากบเขียด ผืนป่าในกุดออกเห็ด หน่อไม้ พืชผักให้ชุมชนได้เข้าไปเก็บกินทุกเมื่อ วัวควายได้เล็มหญ้ารอบบึง นกน้ำและนกอพยพมาอาศัยหากิน ออกลูกหลานอยู่ตามธรรมชาติมากมาย ทุกชีวิตใช้ประโยชน์ในบึงใหญ่แห่งนี้


หาดทรายขาว  

เป็นหาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สวยงามระยะทางยาวประมาณ 2 กม. เมื่อยามเช้าและเย็นอากาศดีลมพัดเย็นสบายและความสวยงาม เมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า