WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งของจังหวัดปทุมธานี เป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดปทุมธานี ศาลหลักเมืองนี้อยู่บริเวณทางเข้าศาลากลางจังหวัด สร้างขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 เป็นศาลาแบบจตุรมุข ยอดกลางมีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวงเหนือขึ้นไป เป็นฐานกลีบบัวรองรับมณฑป ภายในมณฑปประดิษฐานหลักเมือง และมีรูปหล่อพระนารายณ์สี่กรทรง เหนือหลังนกฮูก และพระวิษณุหล่อด้วยสำริด ด้านหลังของมณฑปบรรจุพระยอดธงวัดไก่เตี้ย อีกทั้งสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ประกอบด้วยเครื่องรางของขลัง ที่รวบรวมมาจากวัดต่าง ๆ ในจังหวัดปทุมธานี


วัดพืชอุดม

ตั้งอยู่ที่ตำบลลำไทร จากแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไปตามทางหลวงสาย 3312 ประมาณ 31 กิโลเมตร มีรถสองแถวบริการจากมีนบุรี หนองจอก และจากสะพานใหม่มายังวัดตลอดวัน วัดพืชอุดมตั้งอยู่ริมคลองหกวา บริเวณวัดเต็มไปด้วยรูปปั้นแสดงความเชื่อเรื่องบาปบุญในพระพุทธศาสนา ส่วนในพระอุโบสถประดิษฐานหลวงพ่อโสธรจำลอง มีบันไดเล็ก ๆ ขึ้นไปยังสวรรค์ภูมิทั้ง 9 ชั้นที่ได้จำลองไว้ และมีทางลงไปนรกภูมิใต้อุโบสถ


วัดป่าคลอง 11 (คำชะโนด 2) ดูข้อมูลเพิ่มเติม >>
วัดป่าคลอง11 หรือ คำชะโนด 2 ตั้งอยู่ตำบล บึงกาสาม อำเภอ หนองเสือ ปทุมธานี ได้เป็ที่รูปจักของชาวบ้านจากตำนาน มีชาวบ้านเข้ามาขอหวย แล้วถูกหลายงวดติดต่อกัน หรือว่า ใครที่มีปัณหาการงาน ชีวิต หนี้สิน เมื่อมาบนบานขอพรกับท่านแล้วต่างก็สุขสมหวังทุกคน ทำให้เป็นที่รู้จัก 
เป็นที่รู้จักเพียงไม่นานมานี้ 

วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ)

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบางปรอก ใกล้กับตลาดสดเทศบาล เป็นวัดที่สร้างโดยชาวมอญที่อพยพหนีพม่ามาไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี มีสัญลักษณ์ของวัดมอญคือ เสาหงส์ ซึ่งบนยอดเสาเป็นตัวหงส์หมายถึง เมืองหงสาวดี เมืองหลวงของชาวมอญ ปูชนียวัตถุสำคัญของวัดคือ พระพุทธชินราชจำลองปางมารวิชัย  เจดีย์มอญจำลองแบบมาจากเจดีย์จิตตะกองในเมืองหงสาวดี วิหารจำลองได้แบบมาจากกรุงหงสาวดีหลังคาเป็นชั้นๆ มีลวดลายที่สวยงามมาก อุโบสถเป็นอุโบสถสร้างใหม่ตามสถาปัตยกรรมของไทย มองเห็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ได้แต่ไกล ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติและยังมีพระพุทธรูปปาง มารวิชัย  รูปหล่อหลวงปู่เฒ่าที่ชาวบ้านนับถือ  และมีศาลาการเปรียญประดับด้วยไม้แกะสลักสวยงาม วัดแห่งนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด มีพันธุ์ปลาต่างๆ มากมายที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาเช่น ปลาสวาย ปลาเทโพ ว่ายมาชุมนุมกันอยู่เนืองแน่นเพื่อรอรับอาหารจากผู้มาทำบุญไหว้พระที่วัด

การเดินทาง จากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 304 และเลี้ยวซ้ายทางไปอำเภอสรรพยา ประมาณ 6 กิโลเมตร หรือรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ – อำเภอวัดสิงห์ จะผ่านบริเวณหน้าเขื่อน รถประจำทางสาย 1061 ชัยนาท-โพธิ์นางตำ และรถประจำทางสาย 110 สิงห์บุรี-ชัยนาท


วัดเจดีย์ทอง

ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองควาย การเดินทางใช้เส้นทางสายปทุมธานี-สามโคก ประมาณ 8 กิโลเมตรและแยกขวาเข้าวัดอีกประมาณ 500 เมตร ในวัดนี้มีเจดีย์ทรงรามัญ สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์โดยชาวมอญ เป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจากเจดีย์จิตตะกองของพม่า และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นด้วยหยกขาว เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยรามัญ


วัดเจดีย์หอย
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 341 (ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 21-22 แล้วแยกเข้าวัดไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณวัดมีการขุดพบซากหอยนางรมยักษ์อายุนับล้านปีจำนวนมาก หลวงพ่อทองกลึงเจ้าอาวาส จึงนำซากหอยโบราณมาก่อเป็นเจดีย์ขึ้นที่ด้านหน้าทางเข้าและในวัด นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์รวบรวมพระพุทธรูป และศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้เก่า ๆ จำนวนมาก เช่น ตุ่มสามโคก ถ้วยชามดินเผา ไม้แกะสลัก เครื่องคิดเลข เปลือกหอยนางรมยักษ์ หอยมือเสือยักษ์ ฆ้องทองเหลืองที่ลูบแล้วมีเสียงดังได้โดยไม่ต้องตี นอกจากนี้ในบริเวณวัดยัง มีสวนสมุนไพร บ่อเลี้ยงเต่าและบ่อปลาสำหรับให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจกับการให้อาหาร สัตว์เหล่านี้

วัดบัวขวัญ

เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอลาดหลุมแก้ว การเดินทางใช้เส้นทางสาย 341 (ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว) เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตรที่ 21-22 ไปอีก 5 กิโลเมตร ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปทองสำริด ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา ซึ่งสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับพระพุทธรูปตามระเบียงวัดเบญจมบพิตร นอกจากนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีและพลับพลาที่ประทับแรกนาขวัญ สมัยรัชกาลที่ 6 เดิมเรียกว่า "ศาลาแดง" ตั้งอยู่ที่วังพญาไท ในกรุงเทพฯ


วัดไผ่ล้อม
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านงิ้ว บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านเหนือของจังหวัดปทุมธานี ใช้เส้นทาง 3309 (ถนนสายเชียงรากน้อย ซึ่งเป็นทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นแหล่งดูนกปากห่างที่ได้รับความสนใจทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ เป็นอันมาก ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งรวมพื้นที่ของวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม ในเนื้อที่ 74 ไร่ บริเวณวัดมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นที่อาศัยของนกปากห่างมากว่า 100 ปีแล้วนกปากห่างเป็นนกในวงศ์นกกระสา แต่มีลักษณะเฉพาะที่จะงอยปากซึ่งปิดไม่สนิท คือมีร่องโค้งตรงกลางปาก ซึ่งมีประโยชน์ต่อนกในการจับหอยโข่งกินเป็นอาหาร นกปากห่างมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม อพยพมาหาพื้นที่เหมาะสมในไทยเพื่อผสมพันธุ์ สร้างรังและวางไข่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ซึ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์นี้จะเห็นถึงสายสัมพันธ์ของครอบครัวนกในการสร้างรัง ด้วยกิ่งไม้ ผลัดกันหาอาหารและดูแลลูกน้อย มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและหอดูนก รายละเอียดติดต่อที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่า วัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม โทร. 0 2979 8596
การเดินทาง วัดไผ่ล้อมสามารถโดยสารรถสองแถวจากตัวเมืองสายปทุมธานี-เชียงราก ลงรถหน้าวัด หรือนั่งรถสองแถวสายปทุมธานี-สามโคก ลงรถที่วัดดอน (วัดสุราษฏร์รังสรรค์) หรือวัดสามัคคิยาราม แล้วต่อเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังวัด ค่าโดยสารเรือคนละ 10 บาท นอกจากนี้ยังมีรถสายหมอชิต-อ.เสนา และรถสายนนทบุรี-อ.เสนา ลงรถที่วัดดอนแล้วนั่งเรือข้ามฟากมายังวัดไผ่ล้อม นอกจากนี้ ยังมีบริการนำเที่ยวทางเรือกรุงเทพฯ-วัดไผ่ล้อม-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดโดยบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ไป-กลับ ทุกวันอาทิตย์ สอบถามรายเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2623 6001-3

พิพิธภัณฑ์บัว
ยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 ในการดูแลของสำนักงานโครงการภูมิทัศน์และสำนักงานกิจการพิเศษ ของมหาวิทยาลัยฯ   ตามโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี    โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อรวบรวมพันธุ์บัว ทั้งพันธุ์ไทย พันธุ์เทศและพันธุ์ลูกผสม เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้าวิจัย ขยายพันธุ์บัว  เพื่อศึกษาเรื่องการนำส่วนต่าง ๆ ของบัวไปใช้ประโยชน์ อีกทั้งเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  มีการรวบรวมพันธุ์บัวต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม กว่า 100 สายพันธุ์ปลูกไว้ในกระถางและสระน้ำ อาทิ บัวหลวง บัวผัน บัวเผื่อน บัวยักษ์ บัวจงกลนี บัวกระด้ง ฯลฯ รวมทั้งบัวที่ชื่อว่า "มังคลอุบล " ที่ได้รับรางวัล Best New Hardy Waterlily 2004 ในการประกวดบัวโลกครั้งที่ 19 ที่สหรัฐอเมริกา  เปิดให้เข้าชมฟรี ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.30 น.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39  หมู่ 1  ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี ปทุมธานี  12110   โทร.  0 2549 3043,  08 9692  9808  เว็บไซต์http://lotus.rmutt.ac.th

โรงกษาปณ์ รังสิต
มีเนื้อที่ประมาณ 128 ไร่ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเดือนมีนาคม พ.ศ.2539 โดยการก่อสร้างอาคารและติดตั้งระบบต่างๆแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2544   กรมธนารักษ์ได้ย้ายโรงกษาปณ์จากประดิพัทธ์มารังสิตเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2544 และดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2545 เป็นต้นมาสำนักกษาปณ์ เป็นหน่วยงานของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนใช้ให้ เพียงพอต่อความต้องการในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. เงินตรา พ.ศ.2501 และผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ในโอกาสสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศเพื่อเป็นการเผยแพร่ เกียรติยศชื่อเสียงและวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศ   นอกจากนี้สำนักกษาปณ์ยังมีหน้าที่ผลิตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องหมายตอบ แทนและผลิตภัณฑ์สั่งจ่ายต่างๆตามความต้องการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งติดตั้งซ่อมแซมระบบประตูห้องมั่นคงตู้นิรภัยให้คลังจังหวัดทั่ว ประเทศ  สำนักกษาปณ์ได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านคุณภาพและการบริการให้ได้มาตราฐานระดับสากลรวมทั้งสืบสานช่างด้าน ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยให้ดำรงสืบต่อไป

วัดบางนา (หลวงพ่อเส็ง)
ตั้งอยู่ตำบลบางโพธิเหนือ เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2310 โดยมีครอบครัวคนไทยอพยพหนีภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยา และได้จัดสร้างวัดนี้ขึ้นซึ่งแต่เดิมอยู่ในคลอง ไม่สะดวกต่อการคมนาคม จึงได้ย้ายมาอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในบริเวณวัดมีพระป่าเลไลย์ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง 2 องค์ เสาหงส์ และกุฏิตึกโบราณ นอกจากนี้ยังขุดค้นพบกระเบื้องดินเผาตัวผู้ ตัวเมียสำหรับมุงหลังคาโบสถ์อายุกว่า 100 ปี ประชาชนมักแวะมาสักการหลวงปู่เส็งซึ่งมรณภาพแล้วแต่สรีระไม่เน่าไม่เปื่อย และยกหินศักดิ์สิทธิ์เสี่ยงทาย

วัดสองพี่น้อง
เริ่ม ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2540 สภาธรรมกายสากลถือกำเนิดขึ้นจากความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะต้องหาพื้นที่รองรับจัดกิจกรรมงานบุญของวัด  ซึ่งศาลาจะต้องมีหลังคาป้องกันแดดและพายุฝน  และไม่กี่ปีต่อมา สภาธรรมกายสากล ก็ได้สร้างขึ้นมาจนสำเร็จ  มีพื้นที่กว้างถึง 60 ไร่ และนับได้ว่าเป็นหอประชุมในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลกนับ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัดพระธรรมกายในปี 2513 จำนวนสาธุชนผู้มาวัดได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ จากนับร้อย เป็นนับหมื่น จนกระทั่งทำสถิติสูงสุดถึง 200,000 คน ในปี 2543 โดยครั้งนั้นสภาธรรมกายสากล ก็ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มทุกตารางเมตรเลยทีเดียว และยังคงใช้งานเต็มพื้นที่ จนกระทั่งปัจจุบัน

วัดโคก

ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านฉาง ภายในวัดมีพระประธานปางสมาธิ เจดีย์มอญก่อสร้างแบบก่ออิฐถือปูนทาสีขาว ธรรมมาสน์เก่าทำด้วยไม้มะเกลือฝังมุขอายุกว่าร้อยปี และศาลาการเปรียญก่อสร้างด้วยไม้สัก เสาเป็นไม้แดง มีอายุ 100 ปีเศษ

 



วัดลำมหาเมฆ

ตั้งอยู่ที่บ้านลำมหาเมฆ หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว ห่างจากตัวจังหวัดตามเส้นทางสายปทุมธานีบางเลน ประมาณ 14 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจคือ บริเวณบึงน้ำไหลของวัดมีนกมากมายหลายชนิดอาศัยสร้างรัง ฟักไข่ตามธรรมชาติจำนวนมาก ได้แก่ นกกระยางขาว นกกระสา นกกาน้ำ และนกชนิดอื่นๆ


โรงเรียนมวยไทย

เป็นศูนย์รวมของศิลปะแม่ไม้และลูกไม้มวยไทย มีหลักสูตรการสอนมวยไทยขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นอาชีพ  หลักสูตรผู้ฝึกสอนมวยไทย  หลักสูตรผู้ตัดสินมวยไทย สำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2992 0096-9 โทรสาร 0 2992 0095


วัดเมตารางค์

อยู่ในเขต ตำบลเชียงรากน้อย ภายในมีเจดีย์แบบชะเวดากองเป็นรูปแปดเหลี่ยม ยอดเจดีย์มีฉัตรทำด้วยทองเหลืองเป็นลายเทพพนมอายุ 150 ปี หอสวดมนต์พื้นไม้สัก เสาไม้แก่นกลมศาลาการเปรียญมีเสาหงส์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดมอญ มีรูปหงส์อยู่บนยอดเสา



วัดปัญญานันทาราม

ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ด้วย เจตนารมย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ที่มุ่งมั่นให้สถานที่เป็นแผ่นดินส่วนนี้ จะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาต่อไป สถานที่นี้เหมาะแก่การส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้า เป็นเหมือนโรงพยาบาลทางใจของชาวโลกทั้งหลายที่มีความทุกข์เดือดร้อนวุ่นวาย ใจ เมื่อมาสู่สถานที่นี้ก็จะพบความสะอาด สว่าง และสงบในส่วนจุดมุ่งหมายของวัดปัญญา นันทาราม ท่านกล่าวว่า “สร้างพระ สร้างคน สร้างเยาวชนของชาติ สร้างศาสนาทายาทให้มีชีวิตอยู่ในโลกอย่างถูกต้อง ให้มีชีวิตเรียบร้อยตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจวัตถุมากเกินไป”
โทร. (02)904 6101-4 ต่อ 109


วัดพลับสุธาวาส

ตั้งอยู่ที่ ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก วัดมีสิ่งสำคัญ คือ พระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะเงินปางมารวิชัย ธรรมาสน์แบบเก่าที่เรียกว่า ธรรมาสน์ยอดนางชี ทำด้วยไม้สักฉลุสีแดงลายทอง และเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง อายุกว่า 100 ปี มีฐานเป็นสิงห์ องค์สถูปชั้นยอดเจดีย์เป็นบัวกลุ่ม 9 ชั้น ลักษณะของเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยม


วัดชินวราราม

ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของตัวเมือง ตามทางไปสะพานนนทบุรี (สะพานนวลฉวี) ก่อนถึงสะพาน 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปวัดอีก 1 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดมะขามใต้”  ในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดกที่งดงาม วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในสมัยรัชกาลที่ 7


วัดบางหลวง
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางหลวง  ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตร วัดมีสิ่งที่สำคัญคือ พระอุโบสถทรงไทยโบราณ ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยและภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์มอญ 2 องค์ คือ ทรงชเวดากอง และมูเตา ซึ่งวัดนี้ใช้ประกอบศาสนพิธีของชาวบ้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนมาถึงปัจจุบัน

วัดป่ากลางทุ่ง
อยู่ที่ตำบลบางขะแยง  ภายในอุโบสถผนังด้านหลังพระประธาน ปรากฏภาพเขียนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งอดีตประดิษฐานอยู่บน ฐานชุกชีภายในซุ้มเรืองแก้วอันวิจิตร ด้านซ้ายขวามีสาวกบนฐานดอกบัวบาน ประนมมือด้วยดอกบัว 3 ดอก น้อมกายไปข้างหน้าอย่างอ่อนช้อยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธาพื้นผนังสีแดงชาด เขียนภาพดอกไม้ร่วงโปรยลงมาเป็นระยะ จึงเป็นผลงานในอดีตอันทรงคุณค่าของเมืองปทุมธานี

วัดโบสถ์

ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เดินทางโดยข้ามสะพานปทุมธานีไปฝั่งตะวันออกจะมีทางแยกซ้ายไปกลับรถใต้สะพาน เพื่อไปยังวัดซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของถนน วัดโบสถ์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2164 โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี ชื่อวัดโบสถ์นำมาจากชื่อหมู่บ้านที่ชาวมอญอพยพมาจากเมืองมอญ เช่นเดียวกับวัดอีกหลายวัดในปทุมธานี เช่น วัดหงษ์ วัดบางตะไนย์ ประชาชนมักมาที่วัดเพื่อสักการะหลวงพ่อสามพี่น้องในพระอุโบสถ และรูปหล่อหลวงปู่เทียน (พระครูบวรธรรมกิจ) พระเถระผู้ทรงคุณวิทยา ส่งเสริมด้านการศึกษาให้ชาวปทุม วัดนี้ยังคงมีวิหารเก่าเหลืออยู่ 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่จากรามัญ คือ พระแสงอาญาสิทธิ์ และยังเก็บรักษาสิ่งสำคัญคือ ช้างสี่เศียรและบุษบกสัมฤทธิ์สำหรับประดับเสาหงส์ และรูปปั้นสุนัขย่าเหลหล่อด้วยตะกั่วที่เจ้าอาวาสได้รับพระราชทานมาจาก รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองปทุมธานี


หออัครศิลปิน
ตั้งอยู่ตำบลคลองห้า อยู่เลยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ไปอีกราว 3 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งมวล เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่พสกนิกรและศิลปินทั่วโลก เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานด้านศิลปและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของพระองค์  9 ด้าน คือ ด้านหัตถกรรม ด้านกีฬา ด้านวรรณศิลป์ ด้านจิตรกรรม ด้านถ่ายภาพ ด้านภูมิสถาปัตยกรรม ด้านประติมากรรม ด้านดนตรี และด้านการพระราชนิพนธ์เพลง นอกจากนี้ ยังเป็นที่จัดแสดงประวัติและผลงานอันล้ำค่าของศิลปินแห่งชาติทุกท่านในรูป แบบนิทรรศการภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและถ่ายทอดผลงานและภูมิปัญญาของ ศิลปินแห่งชาติทั้ง 4 สาขา คือ สาขาวรรณศิลป์ ศิลปการแสดง ทัศนศิลป์ และสถาปัตยกรรม ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ในวันอังคาร-วันอาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ 09.30-16.00 น. ปิดวันจันทร์ โทร. 0 2986 5020-4 โทรสาร 0 2986 5023 ภายในบริเวณใกล้เคียงกับหออัครศิลปิน ยังมีโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก หอจดหมายเหตุแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี (หลังเก่า)

ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นเรือนปั้นหยา ด้านหน้าก่อปูนเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป มีลวดลายตกแต่งด้านหน้า ที่สวยงาม ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ


เขื่อนเจ้าพระยา

ตั้งอยู่ในเนื้อที่ 62 ไร่  ตำบลรังสิต  ถนนรังสิต-นครนายก อำเภอธัญบุรี  ระหว่างคลอง 5 และคลอง 6 เข้าทางเดียวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยแยกจากถนนสายรังสิต-นครนายกเข้าไป 4 กิโลเมตร ก่อตั้งเมื่อปี 2537 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชนทั่วไป ภายในอาคารมีพื้นที่ใช้สอย  35,000 ตารางเมตร  แบ่งพื้นที่ออกเป็น  ห้องนิทรรศการถาวร  ห้องท้องฟ้าจำลอง  ห้องประชุมสัมมนาห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์

นิทรรศการภายในอาคาร
เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เช่น  นิทรรศการ ประทีปแห่งแผ่นดิน  ดาราศาสตร์และอวกาศ  วิทยาศาสตร์พื้นฐาน  เมืองเด็กแดนวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์เปิดโลกสิ่งแวดล้อม  เรียนรู้มหัศจรรย์แห่งชีวิตโลกล้านปี  โลกดาวเคราะห์  กีฬากับวิทยาศาสตร์ทรรศการนอกอาคาร
อุทยานวิทยาศาสตร์  เช่น  สวนสมุนไพร  สวนวิทยาศาสตร์   สวนเกษตรธรรมชาติ  นาฬิกาแดด  ไม้ในวรรณคดี  สวนธรณีวิทยา 
ท้องฟ้าจำลอง  รังสิต
ภายในศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต  มีท้องฟ้าจำลองแห่งใหม่  ห้องฉายดาวเป็นแบบโดมเอียง จุที่นั่งได้  160 ที่นั่ง  พร้อมทั้งสามารถฉาย ภาพยนต์แบบ  IMAX  ได้  ซึ่งถือเป็นท้องฟ้าจำลองที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หอดูดาว
สร้างเป็นหอดูดาวแบบโดม  ติดตั้งกลองขนาด 16 นิ้ว  รุ่น LX  200  พร้อม CCD  นอกจากนี้ยังมีกล้องภาคสนามอื่นอีกเช่นกล้องนิวโทเนียน  16 นิ้ว  และกล้องหักเหแสง  ขนาด 4 นิ้ว  อีก 3 ตัว  เพื่อกิจกรรมดาราศาสตร์  ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปการเข้าชม
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต 

เปิดบริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์  เวลา 09.00 - 16.00 น.  สำหรับวันเสาร์และอาทิตย์เพิ่มรอบ 16.00 น. ค่าเข้าชมท้องฟ้าจำลอง คนละ 30 บาท
สอบถายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต โทร . 0 2577 5455-9 โทรสาร 0 2577 5455


วัดเขียนเขต

สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2439 โดยหม่อมเขียน หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าสายสนิทวงศ์เป็นผู้มอบถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด แรกเริ่มนั้นวัดนี้เป็นเพียงสำนักสงฆ์ มีหลวงพ่อดำเป็นเจ้าสำนักโดยใช้วัตถุหาง่าย เช่น นำเอาไม้ไผ่มาขัดเป็นพื้นหลังคา และฝาผนังทำด้วยหญ้า หม่อมเขียนพร้อมด้วยเครือญาติและประชาชนในท้องถิ่นเห็นความลำบากของพระเณร ที่จำพรรษาอยู่ จึงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างกุฏิเป็นทรงไทยขึ้นใหม่รวม 6 หลัง เพื่อเป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น หอระฆังเก่า โบสถ์หินอ่อนเก่าและจิตรกรรมฝาผนัง ที่แสดงให้เห็นประเพณีไทยดั้งเดิม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปทุมธานี


สวนสนุกดรีมเวิลด์
ตั้งอยู่ที่ตำบลบึงยี่โถ กิโลเมตรที่ 7 เส้นทางสายรังสิต-นครนายก บริเวณคลองสาม หากเดินทางโดยรถประจำทาง มีรถจากหมอชิต สาย ปอ. 523 (หมอชิต-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล) หรือ ปอ. 538 (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล) หรือนั่งรถโดยสาร ขสมก.มาลงที่รังสิตแล้วต่อรถสายที่ไปสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล แวะลงที่หน้าดรีมเวิลด์ดรีมเวิลด์เป็นสวนสนุกและสถานที่พักผ่อนที่รวบรวม ความบันเทิงนานาชนิดเข้าไว้ด้วยกันในเนื้อที่กว่า 160 ไร่ ประกอบด้วยดินแดนต่างๆ 4 ดินแดน ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศแห่งความสุข สนุกสนานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ดรีมเวิลด์ พลาซ่า ดินแดนที่เต็มไปด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมอันวิจิตร พิศดารตลอดสองข้างทาง ดรีมการ์เด้น เป็นอุทยานสวนสวยที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงามท่ามกลางความเย็นสบายจากทะเลสาบ ขนาดใหญ่ และเคเบิ้ลคาร์ ที่จะพาชมความงามของทัศนียภาพในมุมสูง แฟนตาซี แลนด์ เป็นดินแดนแห่งเทพนิยาย ประกอบด้วย ปราสาทเจ้าหญิงนิทรา บ้านขนมปัง และบ้านยักษ์ แอดแวนเจอร์ แลนด์ ดินแดนแห่งการผจญภัย และท้าทาย ประกอบด้วย รถไฟตะลุยจักรวาล ไวกิ้งส์ เมืองหิมะ เป็นต้นอัตราค่าบริการ บัตรผ่านประตู ชาวไทย ผู้ใหญ่ 120 บาท เด็ก 95 บาท บัตรรวมเครื่องเล่น 330 บาท ชาวต่างประเทศ 450 บาท เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00-17.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เปิดถึง 19.00 น. โทร. 0 2533 1152, 0 2533 1447 โทรสาร 0 2533 1899

วัดมูลจินดาราม

ตั้งอยู่ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณคลองห้า ห่างจากตลาดรังสิต 13 กิโลเมตร ตามเส้นทางรังสิต-นครนายก บริเวณคลองหน้าวัดมีปลาสวายจำนวนมาก มีขนาดใหญ่ตัวละ 3- 5 กิโลกรัม แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมาแวะให้อาหารปลาอยู่เสมอ



อนุสรณ์สถานแห่งชาติ

ตั้งอยู่ที่ตำบลคูคต บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตบรรจบกับถนนพหลโยธินเนื้อที่ประมาณ 38 ไร่ ในความดูแลของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นทั้งอนุสรณ์สถานเทิดทูนวีรกรรมบรรพบุรุษไทยที่ได้ใช้สติปัญญา ความสามารถตลอดจนเลือดเนื้อและชีวิตเข้าปกป้องผืนพสุธามาตุภูมิแห่งนี้ไว้ และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยตลอดจน เหตุการณ์รบครั้งสำคัญของไทย และสงครามที่กองทัพไทยได้ไปปฏิบัติการรบในต่างประเทศ อาทิ สงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี โดยใช้หุ่นจำลองเหตุการณ์ และภาพถ่าย มีห้องจัดแสดงวิวัฒนาการเครื่องแบบเครื่องหมายยศของทหารทุกยุคสมัย ดินจากสมรภูมิรบที่สำคัญ ด้านหน้าอาคารประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 แกะสลักด้วยหินอ่อนขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง และที่น่าสนใจมากคืออาคารภาพปริทัศน์แสดงภาพจิตรกรรมอันงดงามบนผนังโค้งวง กลม เรื่องราวจากสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันประกอบเสียงคำบรรยาย รวมความยาวโดยรอบถึง 90 เมตร ด้านนอกจัดแสดงวัตถุยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ปลดประจำการ เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น.และ 13.00-15.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หมู่คณะต้องการผู้บรรยายควรติดต่อล่วงหน้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2532 1020-1


วัดจันทร์กระพ้อ

ตั้งอยู่ที่ตำบลบางเตย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 6 กิโลเมตร สร้างโดยชาวมอญ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ชื่อว่า “วัดโกว๊ะ” ซึ่งแปลว่า “จันทน์กะพ้อ” ซึ่งชาวมอญ ถือว่าเป็นไม้มงคลเหมือนต้นราชพฤกษ์ ภายในวัดมีหอวัฒนธรรม ซึ่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุมอญ และยังมีโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ประกอบพิธีสำคัญของชาวปทุมธานีเช่น พิธี “ออกฮ้อยปะจุ๊” แข่งธงตะขาบ งานตักบาตรพระร้อย เป็นต้น


วัดท้ายเกาะ

อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลท้ายเกาะ อยู่ท้ายเกาะใหญ่มีเจดีย์มอญที่ใหญ่ที่สุด  กุฏิลายจำหลักไม้สวยงามชมศาลาสองหลังต่อกันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 125 ซึ่งพระองค์เสด็จประทับ ณ ศาลาหลังนี้ และชมจระเข้สตาฟแต่ก่อนนั้นจระเข้บริเวณนี้ชุกชุมมาก  มอญเรียกว่า “เวียงจาม” เป็นวัดที่อยู่สุดเขตจังหวัด ปทุมธานีต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ตลาดไท
เป็นตลาดกลางสินค้าการเกษตรแห่งประเทศไทย ศูนย์กลางสินค้าการเกษตร และอุตสาหกรรม การเกษตร ครบวงจร เพื่อภาคการเกษตรกรรมไทย ยิ่งใหญ่ ทันสมัย ก้าวไกลไปสู่ความเป็นหนึ่ง บนเนื้อที่กว่า 500 ไร่  “ตลาดไท” ถูกออกแบบให้ยิ่งใหญ่กว้างขวาง และสะดวกสบาย แตกต่างจากตลาดกลางแบบเก่าอย่างสิ้นเชิง ด้วยการแบ่งตลาดออกเป็นสัดส่วน ตามประเภทของสินค้าที่หลากหลายทำให้สามารถรองรับปริมาณสินค้าที่หลากหลายวัน ละกว่า 15,000ตัน จากเกษตรกรทั่วประเทศไทย โดยจัดแบ่งพื้นที่เป็น อาคารส้ม เป็นตลาดผลไม้ส้มเขียวหวาน, อาคารผลไม้รวม เป็นตลาดที่ช่วยรองรับผลไม้รวมจากเกษตรกรทั่วประเทศ เช่น มะม่วง แคนตาลูป กระท้อน มะปราง น้อยหน้า ผรั่ง มะละกอ ละมุด พุทรา แตงไทย ส้มโอ ส้มเช้ง กล้วยหอม ชมพุ่ องุ่น มะขามเทศ ฯลฯ, ลานขายผลไม้ตามฤดูกาล  เนื่องจากในช่วงฤดูกาลผลไม้จะมีผลไม้แต่ละชนิดจำนวนมากพื้นที่นี้เปิดให้ เกษตรกรและผู้ซื้อมาซื้อขายกันโดยตรง, ตลาดไม้ดอกไม้ประดับและกิ่งพันธุ์ไม้  รวบรวมกลุ่มผู้ขายไม้ดอกไม้ประดับและกิ่งพันธุ์ไม้จากแหล่งผลิตที่สำคัญและ รวบรวมกลุ่มผู้ค้าวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเพาะปลูก, อาคารผัก, ตลาดสด  ขายสินค้าเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคทุกประเภทเช่น เนื้อ หมู เป็ด ไก่ ปลา อาหารทะเล ผัก ผลไม้ ร้านขายของชำ  ชั้น 2 มีสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป, ตลาดดอกไม้  มีร้านจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายจำนวนมาก เช่น  ดอกกุหลาบ  กล้วยไม้ เยอรบีร่า ร้านจัดทำพวงหรีด ร้านจำหน่ายสังฆภัณฑ์ ตลาดไท  เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน กม.ที่ 42 เยื้องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ติดต่อสอบถามได้ที่โทร. 0 2908 4490-2

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง ถนนพหลโยธิน กม. 46-48 ตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ประกอบด้วย กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ 9 อาคาร มีทางเดินเชื่อมต่อกัน จัดแสดงเรื่องราวทางการเกษตรผ่านเทคโนโลยีทันสมัย และหุ่นจำลอง ครอบคลุมเนื้อหางานการเกษตรทุกด้าน ได้แก่ การพัฒนาที่ดิน ป่าไม้ ประมง ปศุสัตว์ ระบบนิเวศ ส่วนด้านนอกมีเรือนเพาะปลูก แปลงนาสาธิต และจำลองสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกภูมิภาคของไทย  นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ประชุมสัมมนาด้านวิชาการเกษตร  และยังเป็นแหล่งการศึกษาทางด้านโครงการพระราชดำริ  เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดวันจันทร์ เวลา 09.30–15.30 น. ไม่เก็บค่าเข้าชม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2529 2211-4


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรง ครองราชครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 เป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้าน ชาติพันธุ์วิทยา ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ 305 ไร่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สำคัญยิ่งของพสกนิกรชาวไทย กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง จึงได้อัญเชิญนามพระราชพิธีมาเป็นชื่อหน่วยงานนี้ว่า "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก"โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ด้านชาติพันธุ์วิทยานั้นกำเนิดมาจากนโยบายของกรมศิลปากรที่ตระหนักถึงแนวทาง การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ที่มุ่งเน้นทางด้านการกระจายความเจริญจากเมืองไปสู่ชานเมือง นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเฉพาะสาขาในส่วนกลาง ลำดับที่ 3 นอกจากนี้ทางกรมศิลปากรได้จัดให้พิพิธภัณฑสถานเฉพาะด้านสาขาอื่นๆ ผนวกกับการสร้างอาคารของหน่วยงานอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมที่โยกย้ายออก จากกรุงเทพฯ มารวมอยู่ในพื้นที่เดียวกันเพื่อเตรียมจัดให้เป็นพื้นที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ ร.9 แหล่งเรียนรู้สหสาขาวิชาที่ครอบคลุมความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับคนไทยทั้งศิลป วัฒนธรรมชาติพันธุ์วิทยา และธรรมชาติวิทยา เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์การเรียนรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียน เป็นบทนำการเดินทางท่องเที่ยวและศึกษาในภูมิภาคต่างๆของประเทศภายในพื้นที่ โครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกจึงมีพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ อยู่ร่วมกันหลายหน่วยงาน อาทิ หอจดหมายแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 หออัครศิลปิน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยา เป็นต้น   ถึงแม้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม แต่สามารถให้ความรู้แก่นักเรียน หรือผู้ที่สนใจได้ในรูปแบบของนิทรรศการสัญจรตามสถานศึกษา และศูนย์กลางชุมชน พร้อมสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะวัตถุ โบราณวัตถุจำลอง ภาพสไลด์ เป็นต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้บรรยาย  และในปี พ.ศ.2548 นี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกเปิดให้บริการในส่วนของศูนย์ข้อมูลโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ซึ่งจะมีการจัดแสดงโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผา ผ้า อาวุธ เครื่องใช้ในการเกษตร เป็นต้น จำนวนมากกว่า 10,000 รายการในรูปแบบของคลังเปิด เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. (เข้าชมเป็นหมู่คณะติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม)
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2902 7568-9


ตลาดน้ำคลองสาม

จากตำนานการอพยพของชาวรามัญเข้ามาสู่เมืองสามโคกหรือ จังหวัดปทุมธานีในปัจจุบัน เส้นทางสำคัญในการค้าขายของบรรพบุรุษได้บอกเล่าวิถีชีวิตที่อิงแอบกับสายน้ำ เจ้าพระยามาตั้งแต่สมัยโบราณด้วยการดำเนินชีวิตที่เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์ของ วิถีชาวชุมชนสองฝากฝั่งอันเต็มไปด้วยเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรืองทาง ประวัติศาสตร์ อารยธรรมและความสำคัญทางด้านการสถาปนาของพระเจ้าแผ่นดินหลากหลายพระองค์ อำเภอคลองหลวง ถือเป็นหนึ่งในต้นกำเนิดตำนานทางประวัติศาสตร์ที่แฝงด้วยเรื่องราวให้น่าค้น หาอีกมากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีความเป็นอยู่ของชาวคลองสามที่ผูกพันธ์อยู่กับสายน้ำได้สร้างวัฒนธรรม ชุมชนที่งดงามท่ามกลางการดำรงชีวิตที่ผูกพันธ์อยู่กับธรรมชาติมาตั้งแต่สมัย โบราณ        และในวันนี้จะเป็นวันที่ชาวคลองสามได้นำความภาคภูมิใจในอดีตมาบอกเล่าด้วย เรื่องราวใหม่ที่ทำให้คนทั้งประเทศได้ร่วมเป็นหนึ่งกับความภาคภูมิใจนี้ก็ คือการกำเนิดขึ้นของตลาดน้ำคลองสามตลาดน้ำคลองสาม นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวล่าสุดที่ได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่ ให้การสนับสนุนในการก่อตั้งชุมชนตลาดน้ำแห่งนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีการบอกเล่าเรื่องราวแห่งการดำเนินชีวิตอันงดงามในสมัย โบราณแล้ว ยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามท่ามกลางวิถีสมัยใหม่อย่างแท้จริง ด้วยความยาวกว่า 20 กิโลเมตร ตลอดลำน้ำแห่งนี้ เราจะได้สัมผัสกับเรือลำเล็กลำน้อยมากกว่า 100 ลำ ซึ่งจะนำสินค้ามาขายให้แก่ผู้ที่เดินทางผ่านไปมาได้จับจ่ายใช้สอยกันทุก ประเภท ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเกษตรกรรม สินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองจากปทุมธานี สินค้าประเภทอาหารหลากหลายชนิดทั้งคาว-หวานหรือสินค้าประเภทของชำร่วยของที่ ระลึกก็มีให้เลือกซื้อหากันอย่างเต็มที่ไม่เพียงแต่จะเป็นตลาดน้ำแห่งใหม่ ที่ดึงดูดใจด้วยเสน่ห์ที่แปลกตา ตลาดน้ำคลองสามยังได้รับความร่วมมือกันเป็นอย่างดีให้มีความใสสะอาดด้วย เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมกับอดีตอย่างสมบูรณ์ แบบ พร้อมกันนี้ยังปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมที่เชื่อมโยงทางบกและทางน้ำให้ ติดต่อถึงกันทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวมีความสะดวกสบายและได้สุนทรียรสจาก ความเป็น"ตลาดน้ำ"อีกแห่งของเมืองไทยอย่างแท้จริง


โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9
ปัญหาน้ำท่วม เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรทางธรรมชาติ หรือสิ่งปลูกสร้าง สาธารณูปโภคต่างๆรวมถึงเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับสายน้ำ ซึ่งหลังจากเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้ง  ส่งให้สูญเสียงบประมาณในการก่อสร้าง ปรับปรุง ให้กลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติ   ด้วยเหตุนี้เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิ การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ หรือโครงการแก้มลิงต่างๆ ที่จะช่วยเสริมให้การแก้ไขและบรรเทาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในแนวพระราชดำริของโครงการแก้มลิงนั้นคือ "โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9"โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี อยู่ระหว่างคลองระบายน้ำรังสิต 5 และ 6 โดยมีพื้นที่โครงการรวม 2827 ไร่ 10 ตารางวา ซึ่งลักษณะของโครงการเป็นสระเก็บน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่รวม 2580 ไร่ แยกออกเป็น 2 สระด้วยกัน คือสระเก็บน้ำที่ 1 พื้นที่ประมาณ 790 ไร่ ความจุประมาณ 6 ล้าน ลบ.ม. เพื่อรับน้ำจากคลองระบายน้ำรังสิต 6 ส่วนสระน้ำที่ 2 มีพื้นที่ประมาณ 1790 ไร่ ความจุประมาณ 11.1 ล้าน ลบ.ม.รองรับน้ำจากคลองรังสิต 5 นอกจากนี้พื้นที่โดยรอบสระเก็บน้ำยังจัดให้เป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้และจัดแต่ง สวน เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชนทั่วไป   ประโยชน์ของโครงการสระเก็บน้ำพระราม 9นี้ สามารถช่วยเหลือทางด้านการเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง และช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ตอนล่างโครงการได้เป็นอย่างดี  โครงการดังกล่าวหรือโครงการแก้มลิงต่างๆถึงแม้ว่าจะเป็นโครงการที่ใช้งบ ประมาณสูงหากพิจารณาในระยะยาวแล้วจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่าในการดำเนินการ

ศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มีจุดกำเนิดมาจากการก่อสร้างสนามกีฬาเพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยน เกมส์ ครั้งที่ 13 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งมีการก่อสร้างอาคารขึ้นมาเพื่อรองรับเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่พักนักกีฬา จำนวน 5,000 ยูนิต สนามกีฬา อาคารสระว่ายน้ำ อาคารยิมเนเซียม ทั้งหมด 7 อาคาร ซึ่งปัจจุบันได้ทำการปรับปรุง เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย อาทิเช่น อาคารยิมเนเซียม 3 ได้ปรับปรุงให้เป็นสถานที่ตั้งของศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้นศูนย์บริการการกีฬา เป็นหน่วยงานที่แยกส่วนของการกีฬาออกจากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน เนื่องจากมีสภาพในการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งในส่วนของศูนย์บริการการกีฬานั้น มีพันธกิจหลัก คือการจัดให้มีกิจกรรมด้านการกีฬาและการออกกำลังกายอย่างหลากหลายและทั่วถึง รวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคคลากร นักศึกษา คณาจารย์ และประชาชนทั่วไปสามารถใช้สนามกีฬาได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับการกีฬาของประเทศในทุกๆด้านศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยสนามกีฬาหลัก ศูนย์กีฬาทางน้ำ สนามเทนนิส อาคารยิมเนเซียม 3 หลัง รวมพื้นที่ประมาณ 400 ไร่  ภายในศูนย์กีฬาแห่งนี้ต้องการให้บริการทางด้านกีฬาที่ครบถ้วนมากที่สุด ในเรื่องของกีฬาและสุขภาพ เปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไป


วัดสะแก

ตั้งอยู่ที่ตำบลสามโคก ห่างจากจังหวัดปทุมธานีประมาณ 6 กิโลเมตร ภายในวัดมีกุฏิสงฆ์  อาคารทรงไทยแบบรามัญ  เป็นอาคารเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองและเจดีย์แบบอื่น  มีโบสถ์และหอระฆังเก่าสมัยอยุธยา


วัดฉาง
ตั้งอยู่ที่บ้านฉาง  ภายในวัดมีสิ่งสำคัญคือพระวิหารเก่า มีจิตรกรรมปรากฎอยู่ที่หน้าบันพระวิหาร และพระพุทธรูปปางสมาธิที่สร้างจากสตางค์แดงทั้งองค์ ซึ่งประชาชนเลื่อมใสมานมัสการอยู่มิได้ขาด นอกจากนี้ยังมีศาลาท่าน้ำที่มีความงดงามอยู่ที่ลวดลายแกะสลักที่ชายคาวัดนี้ ชาวบ้านใช้ประกอบศาสนาพิธีตั้งแต่รัชกาลที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

วัดเจตวงศ์

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง สภาพโบราณสถานโบราณวัตถุด้านหน้าพระอุโบสถมีขนาดเล็ก ผนังก่ออิฐมุงด้วยกระเบื้องดินเผาด้านหน้ามีชายคาปีกนกยื่นมากันฝน มีช่องประตูเดียว มีหน้าต่างข้างๆ 3 ช่อง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชีปางมารวิชัย ลดหลั่นลงมาเป็นพระอันดับซ้ายขวา 2 องค์ และยังมีภาพจิตรกรรม ฝาผนังที่เก่าแก่งดงาม ควรค่าแก่การศึกษา


วัดมะขาม
วัดมะขาม อยู่ในตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง ฯ มีโบสถ์สมัยอยุธยาตอนปลายฐานแอ่นท้องสำเภา หน้าบันแกะสลักเป็นภาพพระนารายณ์ทรงครุฑ บานประตูหน้าต่างลงรักปิดทอง จำหลักรูปทวารบาล นอกจากนี้ยังมีวิหารพระะสังกัจจายน์ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองจำนวนสององค์ หอระฆัง ธรรมาสน์สวดสมัยอยุธยา ศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้ มีภาพจิตรกรรมศิลปะรัตนโกสิทร์ อยู่ที่บริเวณคอสอง และเพดาน

วัดตำหนัก

ตั้งอยู่ที่ตำบลสามโคก  ห่างจากจังหวัดปทุมธานีประมาณ 8 กิโลเมตร  วัดนี้มีอุโบสถลักษณะฐานเป็นรูปท้องเรือสำเภาพระประธานในอุโบสถสร้างด้วย ศิลาแลง  และเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง


วัดศาลาแดงเหนือ

ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงรากน้อย อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ธรรมมาสน์ลายจำหลักไม้  ศาลาการเปรียญ  หมู่กุฏิหอไตร  และเครื่องกรองน้ำสมัยโบราณที่หาชมได้ยาก  นอกจากนี้มีการสวดมนต์ด้วยภาษามอญทุกวัน  เวลาประมาณ 15.00  น. บริเวณวัดนี้มีการรักษาความสะอาดของหมู่บ้านได้อย่างดีเยี่ยมเป็นหมู่บ้าน ที่ชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยาดีเด่นของกระทรวงสาธารณ สุขปี พ.ศ. 2541 และยังมีการปลูกบ้านเรือนไทยผสมผสานแบบมอญที่หาชมได้ยากยิ่ง


วัดสองพี่น้อง
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านงิ้ว ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือวัดไผ่ล้อม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2410 มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 2 องค์ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำ คือ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปศิลา ศิลปะอู่ทองปางมารวิชัย และหลวงพ่อพลอย เป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองจำหลักด้วยศิลา แต่ถูกขโมยไป ทางวัดได้จัดสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นที่เคารพนับถือของชาวเรือและประชาชนทั่วไป

ห้องสมุดเรือและชุมชนบางปรอก
ชุมชนบางปรอก ตั้งอยู่ติดกับวัดหงส์ปทุมาวาส เป็นชุมชนชาวมอญที่เข้มแข็งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม ได้ร่วมกันสร้างห้องสมุดเรือที่ทำจากเรือเก่าไว้บริเวณใต้ร่มไทรที่มีอายุ มากกว่า 100 ปี ซึ่งเป็นศูนย์รวมให้เยาวชนในชุมชนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ มีการสอนคอมพิวเตอร์ เรียนรำไทย กลองยาว ดนตรีไทย เป็นสถานที่ผลิต-จำหน่ายสินค้าชุมชน สนามเด็กเล่น และเป็นศูนย์ต้อนรับคณะผู้มาเยือนโดยจัดกิจกรรมต้อนรับเช่น การแสดงดนตรี-รำมอญ  อาหารพื้นบ้านชาวมอญเช่น ข้าวแช่ กวนกะละแม  แสดงวัฒนธรรมชาวมอญ เช่น ประเพณีแห่หางหงษ์-ธงตะขาบ  ชมศูนย์แพทย์แผนไทย การทำปุ๋ยชีวภาพ  การผลิตของที่ระลึกจากวัสดุเหลือใช้  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณฉลวย กะเหว่านาค ประธานชุมชน โทร. 0 2581 1252, 0 6355 8306