WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

   
วัดศรีษะทอง
ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยตะโก   สร้างจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจาก เวียงจันทน์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในขณะที่มีการขุดดินสำหรับสร้างวัด ได้พบเศียรพระทองจมอยู่ในดิน จึงถือเป็นนิมิตที่ดี เลยได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดหัวทอง” ตั้งแต่นั้นมา  เจ้าอาวาสองค์แรกคือ หลวงพ่อไต เป็นชาวลาวที่มาจากเวียงจันทน์ จากวัดเล็กๆ กลายมาเป็นวัดใหญ่ สืบทอดเจ้าอาวาสมาอีก 6 รุ่นจนมาถึง สมัยหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดและหมู่บ้านเป็นอย่างมาก  ต่อมาทางการได้ขุดคลองเจดีย์บูชา แยกจากแม่น้ำนครชัยศรี  ไปยังองค์พระปฐมเจดีย์เพื่อสะดวกในการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐม เจดีย์  คลองนี้ผ่านพื้นที่ทางตอนใต้ของวัดหัวทองและหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงอพยพมาอยู่ใกล้คลองเพราะสะดวกในการคมนาคม  วัดนี้จึงย้ายจากที่เดิมมาอยู่ใกล้คลองเจดีย์บูชาและเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดศีรษะทอง” ต่อมาทางราชการได้ยกขึ้นเป็นตำบลศีรษะทองสืบมาจนถึงทุกวันนี้ 
     

ที่วัดแห่งนี้ประชาชนจำนวนมากนิยมมานมัสการพระราหูเพื่อความเป็นสิริมงคล ด้วยคติความเชื่อที่ว่าพระราหูนั้นเป็นเทพซึ่งสามารถบันดาลประโยชน์และโทษ ให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งต่าง ๆ ได้ ดังนั้นจึงเกิดพิธีกรรมในการบูชาพระราหขึ้นเพื่อช่วยให้โชคร้ายอันอาจจะ เกิดขึ้นนั้นบรรเท่าลงหรือกลับแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งดีงามกับชีวิต

ความเชื่อและวิธีการบูชา  การกราบไหว้ขอพรพระราหูนั้นเป็นการขอพรให้พ้นเคราะห์ต่าง ๆ และยังดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ ช่วยให้การงานเจริญก้าวหน้า และเชื่อว่าพระราหูยังเป็นเทพบูชาประจำตัวเพื่อเสริมบารมีของคนที่เกิดวัน พุธกลางคืนอีกด้วย แม้การบูชาพระราหูจะสามารถทำได้ตลอดวลา แต่ส่วนใหญ่จะนิยมบูชากันในวันพุธตอนกลางคืน โดยบูชาด้วยธูปดำคนละ 8 ดอก พร้อมทั้งถวายเครื่องบูชาซึ่งเป็นสีดำทั้งหมด 8 อย่าง แทนความหมายต่างกัน ได้แก่ ไก่ดำ เหล้า กาแฟดำ เฉาก๊วย ถั่วดำ ข้าวเหนียวดำ ขนมเปียกปูน ไข่เยี่ยวม้า สามารถไหว้บูชาพระราหูได้ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)

การเดินทาง รถยนต์  จากกรุงเทพฯ มาตามถนนสายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เข้าสู่ถนนเพชรเกษม ผ่านหมู่บ้านสวนตาล แล้วกลับรถ จากนั้นเลี้ยวเข้าซอยไปประมาณ 500 เมตร รถประจำทาง  นั่งรถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 หรือ ชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม ผ่านแยกถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เลยหมู่บ้านสวนตาลไปเล็กน้อยลงรถแล้วต่อรถจักรยานยนต์เข้าวัดศีรษะทอง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3422 7462

วิธีการบูชาพระราหู

ของดำ 8 อย่าง
1. ไก่ดำ
3. เหล้าดำ
4. กาแฟดำ
5. เฉาก๊วย
6. ข้าวเหนียวดำ
7. ถั่วดำ
8. ขนมเปียกปูนดำ
9. ไข่เยี่ยวม้า

ความหมายสิ่งที่บูชาพระราหู
1. ไก่ดำ หมายถึง การทำมาหากินที่ดี ไม่อดไม่อยาก
2. เหล้าดำ หมายถึง การลงทุนทำอะไรจะได้กำไรกลับมา
3. กาแฟดำ หมายถึง การคิดอะไร ก็จะสมหวัง
4. เฉาก๊วย หมายถึง ความใจเย็น มีความคิดรอบคอบ
5. ถั่วดำ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
6. ข้าวเหนียวดำ หมายถึง ความเหนียวแน่นทางการเงิน
7. ขนมเปียกปูน หมายถึง การปูนบำเหน็จรางวัล
8. ไข่เยี่ยวม้า หมายถึง การติดต่อสิ่งใด ก็จะสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้

คาถาบูชาพระราหู
นะโมเม  พระราหูเทวานัง  ธูปะทีปะ จะปุปผัง สักการะ วันทะนัง  สูปะพะ  ยัญชะนะ สัมปันนัง  โภชะนานัง  สาบีนัง  สะปะริวารัง  อุทะกัง  วะรัง อาคัจ  ฉันตุ ปะริภุญชันตุ  สัพพะทา  ทิตะยะ สุขายะ  พระราหูเทวา  มะหิทิธกา เต  ปิอัมเห อนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ  สุเขนะ