WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์
กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี
พ.ศ. 2517–2518 จากการศึกษาหลักฐาน ต่าง ๆ
ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ที่มีอายุราว 1822–4600 โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO)
ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์
เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย
ภายในพิพิธภัณฑฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่


อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้วตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กม. ตามเส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) บริเวณหลัก กม.ที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กม.แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กม. มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กม. ภายในบริเวณอุทยานฯ ทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลของอุทยานฯรวมทั้งแผนที่และเส้นทางเพื่อ ความสะดวกในการเที่ยวชม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการเวลา 08.00-16.30 น.

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้ เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัด เกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติ ทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่างๆกัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีต


วนอุทยานนายูงน้ำโสม
มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือน้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่ที่บ้านสว่าง หมู่ 2 ตำบลนายูง
เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพานและภูย่าอูมีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อน
สวยงามท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพรรณ น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตก
ขนาดเล็ก มี 3 ชั้นอยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 103 กิโลเมตร
การเดินทางจากตัวเมืองอุดรธานี ผ่านเข้าอำเภอบ้านผือ และอำเภอน้ำโสม
เมื่อถึงอำเภอน้ำโสมจะมีทางแยกจากหมู่บ้านน้ำซึมต่อไปอีกประมาณ 17กิโลเมตร
ก็จะถึงทางแยกไปวนอุทยานฯ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางของ รพช.ตลอดสาย

ศาลหลักเมืองอุดรธานี  

ศาลหลักเมืองอุดรธานี หรือเรียกว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอุดรธานี เป็นศูนย์รวมความ
เคารพและความศรัทธา ซึ่งชาวเมืองอุดรธานีมักจะมาสักการะบูชา ในบริเวณศาล
หลักเมืองอุดรธานี ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญอื่นๆ อันเป็นที่เลื่อมใสบูชาเป็นอย่างสูง
ได้แก่ หลวงพ่อพระพุทธโพธิ์ทอง และ ท้าวเวสสุวัณ ซึ่งมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์
และความเป็นสิริมงคลในแต่ละด้านที่แตก ต่างกันไป ตามประวัติกล่าวว่า ศาลหลักเมือง
อุดรธานีนั้นสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2502โดยได้อัญเชิญดวงพระ
วิญญาณของ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ทรงก่อตั้งเมือง
อุดรธานีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2436 มาสถิตย์ ณ เสาหลักเมืองนี้ด้วยองค์เสาหลัก
เมืองทำขึ้นด้วยไม้คูณยาว 5 เมตรเศษ และฝังลึกลงไป 3 เมตร มีการบรรจุแผ่นยันต์
และแก้วแหวน เงิน ทองต่างๆ เป็นจำนวนมากไว้ใต้ฐานเพื่อเป็นสิริมงคล ต่อมาในปี
พ.ศ. 2542ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมไป
ตัวอาคารของศาลหลักเมืองจะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ผสมผสานศิลปะแห่งภาค
อีสาน ให้เป็นที่สักการะขอพรของชาวอุดรธานีสืบมา นอกจากนี้บริเวณศาลหลักเมือง
ยังมีรูปปั้นท้าวเวสสุวัณ 1 ใน 4 ของท้าวจตุโลกบาลผู้ปกครองเหล่าอสูร
และศาลหลักเมืองหลังใหม่ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามาสักการะศาลหลักเมืองอุดรธานีนั้น
สามารถบูชาและกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 ได้ในหนเดียว


ทุ่งบัวแดง หนองหาน กุมภวาปี

เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีพื้นที่มากกว่า 29,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ทุกปีในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-ต้นเดือนมีนาคม จะมีดอกบัวสีชมพูเข้มเกิดและออกดอกพร้อมกัน ติดเป็นผืนเดียวขนาดใหญ่ และเมื่อหมดฤดูกาลราว 3-4 เดือน


ศาลเจ้าปู่-ย่า  

ตั้งอยู่ถนน 39 ศาลเจ้าเนรมิตร ตลาดน้อยหนองบัว เป็นศาลเจ้าของ
ชาวจีนที่ใหญ่โต และสวยงามมีสวนหย่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบมี
ศาลาชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การท่องเที่ยว
และพักผ่อน และในศาลเจ้าปู่-ย่าแห่งนี้ ยังมีมังกรทองยาวถึง 99
เมตร ซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.0 4224 5801
โทรสาร 0 4224 7291 เว็บไซต์ www.puyaudon.com


พระธาตุดอนแก้ว  

พระธาตุดอนแก้ว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระมหาธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนแก้ว
ประดิษฐานอยู่กลางวัดมหาธาตุเจดีย์ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 50 กิโลเมตร
เป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สูงประมาณ 18วาเศษ องค์พระธาตุมีลักษณะ
การสร้าง 2 ชั้น แต่ละชั้นมีรูปแกะสลักเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ นรก-สวรรค์ การ
ก่อสร้างพระธาตุเป็นหินทรายรูปทรงสี่เหลี่ยม ยาวประมาณ 1 ศอก รอบนอกฉาบ
ด้วยปูน สันนิษฐานว่าวัดพระธาตุดอนแก้ว ใบเสมา และเสาหินสร้างขึ้นในราว
ศตวรรษที่ 12–13

 


บ้านคำชะโนด  

ตั้งอยู่ที่ตำบลวังทอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบ้านดุง มีพื้นที่ราว 20 ไร่ ซึ่งมีน้ำล้อมรอบสภาพคล้ายเกาะ
มีดงต้นปาล์มชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นตาลผสมต้นมะพร้าวขึ้นอยู่ เรียกว่า ต้นชะโนด
คนสมัยเรียกที่นี่ว่า "วังนาคินทรคำชะโนด"
เชื่อกันว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่กลางดงเป็นประตูสู่เมืองบาดาล เป็นที่อยู่อาศัยของพญาสุทโธนาค ที่แปลกคือในดงชะโนด
มีน้ำซับน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา แต่กลับไม่เคยมีน้ำท่วมเลย การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 22
(อุดรธานี-สกลนคร) เลี้ยวซ้ายที่บ้านหนองเม็ก ไปทางอำเภอบ้านดุง อีก 9 กิโลเมตร ถึงบ้านคำชะโนด


พระพุทธบาทบัวบาน

ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่ที่อยู่ในโบสถ์
และมีการขุดค้นพบใบเสมาที่ทำด้วยหินทรายเป็นจำนวนมากใบเสมาเหล่านี้สลักเป็นรูปบุคคล และลวดลายต่าง
ๆ เป็นศิลปะทวาราวดีผสมกับศิลปะลพบุรี


อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน  

ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร


วนอุทยานน้ำตกธารงาม  

ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี ตำบลหนองแสง มีพื้นที่ทั่งหมด
ประมาณ 78,125
ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527 ลักษณะสภาพพื้นที่ของวนอุทยานฯ
เป็นภูเขาสูงชัน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลง
สู่ห้วยสามทาก-
ห้วยน้ำฆ้องตลอดปี จุดเด่นที่น่าสนใจภายในวนอุทยานฯ มีหน้าผา ถ้ำที่สวยงาม และ
มีลานหิน หรือที่
ชาวบ้านเรียกว่า “แหล” เป็นแหลขนาดใหญ่ เนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงราย
และซ้อนกันอยู่
และที่จุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้ สถานที่พัก วนอุทยานน้ำตกธารงาม
ไม่มีบริการบ้านพัก
สำหรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม หรือทัศนศึกษา จะต้องนำเต็นท์ไปเอง
ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร. 0 4222 1725 การเดินทาง วนอุทยานน้ำตกธารงามอยู่ห่าง
จากอำเภอหนองแสง 6 กิโลเมตร สามารถให้เส้นทางในการเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่ 
เส้นทางแรก จากอุดรธานี-บ้านเหล่า -โคกลาด- อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร 
เส้นทางที่สอง จากอุดรธานีไปบ้านคำกลิ้ง-บ้านตาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
เส้นทางที่สาม จากอุดรธานี-ห้วยเกิ้ง อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร


ภูฝอยลม  
ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานน้อย ที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเล
ประมาณ 600 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดปี ชื่อของภูฝอยลมมาจากไลเคนชนิดหนึ่ง คือ “ฝอยลม”ซึ่งเคยพบเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ในบริเวณนี้ แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลงเนื่องจากป่าถูกบุกรุกจนมีสภาพเสื่อมโทรม ปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและ ให้เป็นที่
ทัศนศึกษาของประชาชน ประกอบด้วยสวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี อุทยานโลกล้านปี มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์แสดงซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติซึ่งจะได้พบป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง สลับป่าทุ่งหญ้า น้ำตกเล็ก ๆ และถ้ำ

การเดินทาง หากเดินทางมาตามเส้นทางขอนแก่น-อุดรธานี เมื่อเลยอำเภอโนนสะอาดมาแล้วจะพบทางแยกซ้ายที่บ้านห้วยเกิ้งไปภูฝอยลม รถยนต์สามารถขึ้นถึงบนภูได้โดยสะดวก

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี  

จัดตั้งขึ้นในอาคารราชินูทิศ ซึ่งเป็นอาคารเก่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 พิพิธภัณฑ์ฯนี้จัดเปิดทำการให้บริการแก่ประชาชนเข้าเยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2547 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนาจังหวัดอุดรธานีที่ชาวเมืองได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 111 ปี

 


อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม
ตั้งอยู่กลางเมืองอุดรธานี พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาสังวาลย์
ประสูติเมื่อ ปีพุทธศักราช
2399ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ
(เรียกว่า
มณฑลอุดร ในสมัยต่อมา) ระหว่าง พ.ศ. 112–118 ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมืองอุดรขึ้น
เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทรงจัดวางระเบียบราชการปกครองบ้านเมือง และรับราชการใน
หน้าที่สำคัญ ๆ
ที่อำนวยประโยชน์แก่ราษฎร อนุสาวรีย์พระองค์ท่านนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของชาวจังหวัดอุดร

อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง  
อยู่บนทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-หนองบัวลำภู ตรงกิโลเมตรที่ 15 แล้วแยกเข้าไป
ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อการเกษตร และการประมง อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พื้นที่อ่างเก็บ
น้ำประมาณ 20,000 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร การประมง การจ่ายน้ำเพื่อการผลิตประปา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะสำหรับการล่องแพ ตกปลา นั่งเรือชมทิวทัศน์โดยรอบได้ และภายในอ่างเก็บน้ำ มีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งพระองค์ท่านเคยเสด็จ
ประทับเกือบทุกปี

วัดป่าบ้านตาด  
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 เส้น
อุดรธานี-ขอนแก่น ถึงบริเวณสี่แยกบ้านคงเค็ง แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัดที่อยู่เลยจากชุมชนบ้านตาดไม่ไกลเท่าใดนัก สภาพโดยทั่วไปของวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคก มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ ล้อม
รอบด้วยกำแพง นอกจาก มีจุดประสงค์ที่จะให้แสดงเขตแน่นอนของวัดแล้วยังป้องกัน
อันตรายให้กับสัตว์ ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัดอีกด้วยเพราะในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุม
มาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า วัดป่าบ้านตาดเป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน พระอาจารย์วิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทา เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปเหมาะสำหรับผู้ที่ต้อง การไปปฏิบัติธรรม

วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก)  

ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกระหว่างถนนนเรศวร กับถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง เป็นวัดป่าอีกวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองภายในวัดร่มรื่น มีเจดีย์องค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และรูปเหมือนหลวงปู่ถิร จิตธมโม เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พร้อมเครื่องอัฐบริขาร เจดีย์นี้มีสัณฐานคล้ายทะนานที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุแต่ครั้งพุทธกาล สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. 2544 ทุก ๆ ปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันเกิดหลวงปู่จะมีการทอดกฐิน และการทำบุญฉลองอายุหลวงปู่


วัดโพธิสมภรณ์  

ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้


วนอุทยานวังสามหมอ  

อยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลหนองกุ้งทับม้า ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบะยาว-ป่าหัวนาคำ-ป่าหนองกุ้งทับม้า-ป่านา ยูง และป่าหนองหญ้าไซ วนอุทยานฯ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังสามหมอประมาณ 20 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุดรธานีประมาณ 120 กิโลเมตร ประกาศเป็นวนอุทยานฯ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2527 มีเนื้อที่ประมาณ 18,750 ไร่ ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบโดยทั่วไปเป็นป่าแดง หรือป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลางขึ้น ได้แก่ไม้ยาง ไม้ตะเคียนทอง มีลำห้วย เกาะ แก่ง และโขดหินที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ บ่าง อีเห็น ชะมด นกเปล้า เป็นต้น


วัดป่าบ้านค้อ  
ภายในวัดมีพระมหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระบารมีพระนวมินทร์ นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงกับพระมหาธาตุเจดีย์ยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นกิ่งพันธุ์ที่ตอนกิ่งมาจากพรศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนหมายเลข 2021 (อุดรธานี-บ้านผือ) ประมาณ 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้อ ประมาณ 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 4225 0730- 1

สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม  

อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า “หนองนาเกลือ” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนเข้าไปพักผ่อน และออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก


วัดมัชฌิมาวาส  

ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดเดิมหรือวัดเก่า ในวิหารเล็กๆ ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินสีขาวปางนาคปรกประดิษฐานอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อนาค” เป็นที่เคารพสักการะของชาวอุดรธานี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้ง และให้ชื่อว่า “วัดมัชฌิมาวาส”