WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

หลวงพ่อพระใส
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวหนองคาย ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย อ. เมือง เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งแห่งล้านช้าง

ตามตำนานกล่าวว่า พระราชธิดาทั้ง ๓ พระองค์ของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๙๓-๒๑๑๕) กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง พระนามว่า สุก, เสริม, ใส โปรดให้หล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น ๓ องค์ ขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของพระองค์ว่า พระเสริม พระสุก และพระใส ประดิษฐานรวมกันไว้ในเมืองเวียงจันทน์

ต่อมาเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย์ยกทัพไปปราบกบฏในปี พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๑ เมื่อเหตุการณ์สงบ ฝ่ายไทยจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์มาฝั่งไทย ขณะล่องแพมาตามแม่น้ำงึม เกิดพายุ ทำให้พระสุกจมลงในน้ำงึม ในที่สุดจึงอัญเชิญพระเสริมไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย และอัญเชิญพระใสไปประดิษฐานไว้ ณ วัดหอกอง (วัดประดิษฐธรรมคุณ) ใน จ. หนองคาย

ภูทอก

อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร

 


สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปจากอำเภอเมืองหนองคายไปยังเมืองท่าเดื่อ ของ สปป.ลาว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเวียงจันทน์ประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของ 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ลาว และไทย นับว่าเป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวทั่วไปที่ต้องการเดินทางจากหนองคายไปเวียงจันทน์จำเป็นต้องใช้ สะพานแห่งนี้ ตัวสะพานมีความยาว 1,137 เมตร กว้าง 12.7 เมตร มีช่องสำหรับเดินรถ 2 ช่องทาง ซึ่งตรงช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับสร้างทางรถไฟ เชิงสะพานมีด่านตรวจคนเข้าเมือง 


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

มีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า ที่ทำการเขตฯ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนจิก ซึ่งอยู่เลยอำเภอบุ่งคล้ามา 3 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร


น้ำตกธารทอง

อยู่ในเขตบ้านผาตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลผาตั้ง การเดินทางใช้เส้นทางหนองคาย-ศรีเชียงใหม่-สังคม (ทางหลวงหมายเลข 211) ผ่านบ้านไทยเจริญ แล้วต่อไปบ้านผาตั้ง บริเวณหลัก กม.ที่ 74 ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ 11 กิโลเมตร น้ำตกธารทองจะอยู่ริมทางด้านขวามือ ส่วนด้านซ้ายมือของถนนเป็นบริเวณลานจอดรถ น้ำตกธารทองมีลักษณะเป็นธารน้ำไหลไปตามลานหิน มีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ ก่อนจะลดระดับเกิดเป็นชั้นน้ำตกเล็ก ๆ เป็นระยะลดหลั่นกันไปประมาณ 30 เมตรและไหลลงสู่ลำน้ำโขงในที่สุด ช่วงเวลาที่มีน้ำมากเหมาะแก่การมาเที่ยวชมคือระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม บริเวณโดยรอบเป็นสวนรุกขชาติมีป่าไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น


วัดผาตากเสื้อ

วัด ผาตากเสื้อ เป็นวัดที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก มองจากบนผาลงมามองเห็นความเป็นอยู่ของชาวไทยลาว ภายในวัดมีธรรมชาติที่สมบูรณ์สามารถเดินเลาะตามหน้าผาเพื่อชมธรรมชาติและ ทิวทัศน์ที่สวยงามได้

การเดินทาง จากจังหวัดหนองคายมุ่งหน้าสู่ถนนหลวงหายเลข 211 เรียบแม่น้ำโขง ระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร ถึงบ้านดงต้อง ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จะมีป้ายทางซ้ายมือบอกเส้นทางไปวัดถ้ำเพียงดินอีก 14 กิโลเมตร และวัดผาตากเสื้อ 7 กิโลเมตร โดยแยกทางขวามือ การเดินทางสามารถมาได้โดยรถประจำทาง บขส. สายหนองคาย-เลย ผ่านอำเภอสังคม ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง วันละหลายเที่ยวตั้งแต่เวลา 06.00-16.00 น. ออกทุก 30 นาที และต่อสองแถวซึ่งออกวันละ 1 เที่ยวเท่านั้น เพื่อเข้าไปชมวัดถ้ำเพียงดิน และวัดผาตากเสื้อ ระหว่างทางมีร้านอาหารไม่มาก นักท่องเที่ยวควารเตรียมสะเบียงอาหารสำรองไว้ด้วย

นัก ท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยวชมวัดถ้ำศรีมงคล (ถ้ำเพียงดิน) และวัดผาตากเสื้อ สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลผาตั้ง โทร. 0 4290 1013


น้ำตกวังน้ำมอก

อยู่ในเขตวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท เป็นน้ำตกสูง 30 เมตร อยู่ทางทิศเหนือของหมุ่บ้าน เลยเขตเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ออกไปทางอำเภอสังคม ประมาณ 28 กิโลเมตร ก่อนถึงวัดหินหมากเป้ง 20 เมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าสู่หมู่บ้านวังน้ำมอก ระยะทางจากทางแยกเข้าสู่น้ำตกประมาณ 7 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์จนถึงตัวน้ำตกได้โดยไม่ต้องเดินเท้า บริเวณน้ำตกมีแนวสันภูเป็นผาหินมีลักษณะแปลกตา ธารน้ำไหลระยะทางลดหลั่นกันไป ตอนล่างเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลานหิน สามารถลงเล่นน้ำและอาบน้ำได้ ช่วงเวลาที่มีน้ำได้แก่ ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวที่สุด

ประกอบกับผู้คนที่มาท่อง เที่ยวสามารถพักค้างคืน (โฮมสเตย์) และเดินเที่ยวป่า รวมทั้งยังร่วม พิธีบายศรีสู่ขวัญ และซุมข้าวแลง (กินข้าวเย็นด้วยกัน) ซึ่งเป็นประเพณีของชาวบ้านวังน้ำมอกในการต้อนรับกับคนแปลกถิ่นที่มาเยือน จึงสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนเป็นอย่างดี อาหารพื้นบ้านที่ท่านจะได้ลิ้มรส อันได้แก่ แกงหน่อไม้ ตำสับปะรด ปลาทอดสมุนไพรกรอบ ฯลฯ

สนใจชุดการท่องเที่ยวบ้านวังน้ำมอกไปจนถึงการเที่ยวป่า ติดต่อที่ คุณติณณภพ โทร. 08 6232 5300


วัดโพธิ์ชัย

เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ใตเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวเมืองหนองคาย หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตามตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลางและพระใสประจำน้องคนสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่เวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือน 7 ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ


วัดสว่างอารมณ์

(วัดถ้ำศรีธน) จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 212 ไป 90 กิโลเมตร ถึงอำเภอปากคาด มีทางแยกขวาเข้าวัดไปอีก 500 เมตร วัดสว่างอารมณ์ตั้งอยู่บริเวณลานหินเนินเขา ร่มรื่นด้วยต้นไม้และลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่าน บริเวณใต้โขดหินใหญ่ประดิษฐานพระนอนให้ผู้คนสักการะบูชา บนโขดหินมีอุโบสถทรงระฆังคว่ำ หากขึ้นไปถึงด้านบนสามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลจนถึงฝั่งลาว์

 

 


วัดอรัญบรรพต พระสุธรรมเจดีย์

ตั้งอยู่ริมถนนสายศรีเชียงใหม่-สังคม ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์และเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อถวายหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เกจิอาจารย์ที่มีศิษยานุศิษย์มากมาย มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนา ปัจจุบันได้มรณภาพแล้วเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2548

 

 


หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ

ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง การเดินทางจากตัวเมืองหนองคายใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ทางไปอุดรธานี เลี้ยวเข้าเส้นทางหมายเลข 211 สายหนองคาย-ท่าบ่อ ถึง กม.ที่ 31 จะเห็นป้ายบอกทางเข้าวัดเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร รวมระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 43 กิโลเมตร

หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทอง ฝีมือของช่างฝ่ายเหนือและช่างล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก นั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3.29 เมตร สูง 4 เมตร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเคารพนับถือมาก จากหลักฐานศิลาจารึกทำให้ทราบว่า พระเจ้าองค์ตื้อสร้างเมื่อพุทธศักราช 2105 ผู้สร้างคือ พระไชยเชษฐา กษัตริย์นครเวียง หล่อโดยใช้ทองคำ ทองเหลือง และเงินผสมกัน รวมน้ำหนักได้ 1 ตื้อ (ตื้อ เป็น มาตราโบราณของอีสาน) ใช้เวลาในการสร้าง 7 ปี 7 เดือน ทางจังหวัดได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4


น้ำตกธารทิพย์
อยู่เลยอำเภอสังคมไปประมาณ 9 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 211 ถึงบริเวณ กม. 97-98 มีป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เมื่อถึงลานจอดรถต้องเดินเท้าอีก 100 เมตรจึงถึงตัวน้ำตก น้ำตกธารทิพย์ เป็นน้ำตกที่สูงและสวยงามท่ามกลางป่าเขียวขจี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ด้านล่างเป็นน้ำตกชั้นแรกสูงประมาณ 30 เมตร ไหลจากหน้าผาเป็นสายยาวสีขาวสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 100 เมตร ต้องปีนขึ้นไปตามเส้นทางที่ทำไว้ และชั้นที่ 3 สูงประมาณ 70 เมตร มีน้ำไหลอยู่ตลอดปี และจะมีน้ำมากในฤดูฝน

วัดหินหมากเป้ง
ตั้งอยู่ที่บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท การเดินทางจากตัวเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข 211 (หนองคาย-ศรีเชียงใหม่) ถึง กม. 64 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2186 วัดจะอยู่ริมถนนด้านขวามือ รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ 75 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ บริเวณวัดโดยรอบสะอาด เรียบร้อยและเงียบสงบ มีพื้นที่ด้านหนึ่งติดกับลำน้ำโขงซึ่งมองเห็นทัศนียภาพสวยงาม อาจารย์เทสก์ เทสรังสี เกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน ได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย หลังจากท่านมรณภาพ มีการก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ภายในมีรูปปั้นของอาจารย์เทสก์ พร้อมจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและชีวประวัติของท่านอีกด้วย่

พระธาตุบังพวน

ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุบังพวน บ้านดอนหมู ตำบลพระธาตุบังพวน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 23 กิโลเมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองหนองคายมาตามทางหลวงหมายเลข 2 (หนองคาย-อุดรธานี) ประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 211 ทางไปท่าบ่อ ถึงกม. 10 วัดอยู่ด้านขวามือ พระธาตุบังพวนเป็นเจดีย์เก่าแก่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายมาช้านาน ตัวองค์พระธาตุเดิมสร้างด้วยอิฐเผา ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่น เป็นสถูปแบบอินเดียรุ่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้พังทลายลงเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 เนื่องจากฐานทรุด เจดีย์องค์ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เป็นรูปปรางค์สี่เหลี่ยมต่อกันเป็นบัวปากระฆัง มีฐานทักษิณ 5 ชั้น กว้าง 17.20 เมตร ชั้นที่ 6 เป็นรูประฆังคว่ำ ชั้นที่ 7 เป็นรูปดาวปลี เหนือขึ้นไปเป็นที่ตั้งฉัตร สูงจากพื้นดิน 34.25 เมตร ชาวหนองคายจัดงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 11 ค่ำเดือนยี่ของทุกปี ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ สัตตมหาสถาน หรือ สถานที่สำคัญ 7 แห่งในพุทธประวัติหลังจากที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วและ ได้เสด็จประทับเสวยวิมุติสุขแห่งละ 7 วัน และสระปัพพฬนาค หรือสระพญานาค ซึ่งในสมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมือง ก็จะนำน้ำจากสระนี้ไปสรงเพื่อเป็นสิริมงคล


ศาลาแก้วกู่

ศาลาแก้วกู่หรือที่รู้จักกันในนามวัดแขก ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคาย 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอโพนพิสัยอยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพุทธมามกะสมาคมจังหวัดหนองคาย สถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแสดงรูปปั้นทางศาสนาแห่งนี้เกิดจากแรง บันดาลใจของหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ซึ่งได้สร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อราวปี พ.ศ. 2521 ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนทุกศาสนาสามารถนำมาผสมผสานได้งานปั้นอันใหญ่โต อลังการนี้มีทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆรูปเทพฮินดู รูปปั้นเกี่ยวกับศาสนคริสต์ รูปปั้นเล่าเรื่องรามเกียรติ์และตำนานพื้นบ้าน เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00-18.30 น. ค่าเข้าชม 10 บาท


อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ

ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลัง เก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2429) ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2429) เสด็จในกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งเป็นแม่ทัพปราบกบฏฮ่อในครั้งนั้นรับสั่ง ให้สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนความดีของผู้ที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมือง ที่อนุสาวรีย์ทั้ง 4 ทิศ มีคำจารึกภาษาไทย จีน ลาว และอังกฤษ มีการจัดงานบวงสรวงและฉลองอนุสาวรีย์ในวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี


บึงโขงหลง
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงนิเวศ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 8,064 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทาน พิจารณาโครงการเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2523 และประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อปี 2525 บึงโขงหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติอันดับที่ 1,098 ของโลก (Wetland of International Importance) ประกาศขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2544 มีพื้นที่กว่า 22 ตารางกิโลเมตร ยาว 13 กิโลเมตร กว้าง 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และพืชน้ำนานาชนิด เช่น นกน้ำกว่า 100 ชนิดที่หาดูได้ยาก มีปลาที่หาดูยากคือ ปลาบู่แคระ

พระธาตุหนองคาย หรือ พระธาตุกลางน้ำ

เดิมชื่อพระธาตุหล้าหนอง เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขง ห่างจากชายฝั่งปัจจุบันประมาณ 180 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ (พระพนม) จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค 7 พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 17.2 เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ 28.5 เมตร หักออกเป็น 3 ท่อน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 20–22 เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวนมากที่สุด หนังสือประชุมพงศาวดารภาค 70 บันทึกไว้ว่า “พระธาตุเมืองหนองคายได้เพ (พัง) เมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีพุทธศักราช 2390” และตลิ่งได้ถูกน้ำเซาะจนมองเห็นพระธาตุอยู่เกือบกึ่งกลางลำน้ำโขงในปัจจุบัน

พระธาตุหล้าหนองยังคงเป็นที่ เคารพสักการะของชาวหนองคาย ชาวบ้านได้จัดงานประเพณีเกี่ยวกับพระธาตุทุกปี นอกจากนี้ทางจังหวัดหนองคายได้ก่อสร้างพระธาตุหล้าหนององค์จำลองสูง 15 เมตรขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยบรรจุชิ้นส่วนพระธาตุองค์จริงอยู่ภายใน


วัดถ้ำศรีมงคล (วัดถ้ำดินเพียง)
มีสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด คือ ถ้ำดินเพียง มีหลานคนได้เล่าขานกันมาว่าเป็นถ้ำที่พระธุดงค์ประเทศลาวเดินทางข้ามมาโดย ไม่ได้ผ่านมาทางเรือแต่เป็นการเดินทางผ่านถ้ำนี้ ซึ่งผู้ที่จะเห็นเส้นทางภายในถ้ำต้องเป็นผู้บำเพ็ญศีลภาวนา หรือพระอภิญญา ลักษณะถ้ำดินเพียงนี้คล้ายเมืองบาดาลของพญานาคตามความเชื่อของชาวบ้าน ภายในถ้ำจะมีความชื้นและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีก้อนหินเป็นแท่งตั้งวางอย่างจงใจ บางก้อนเป้นโลงศพ มีส่วนเว้าโค้งของหินภายในถ้ำที่สวยงาม การเดินทางเข้าชมถ้ำควรมีผู้เชี่ยวชาญนำเข้าไป เพราะถ้าไปเองอาจทำให้หลงทางและเป็นอันตรายได้

หาดจอมมณี

อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร ตามถนนเลียบแม่น้ำโขง เป็นหาดทรายริมแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ชายหาดมีความยาวประมาณ 200 เมตร ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนเมษายน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวในจังหวัดและจากบริเวณจังหวัดใกล้เคียง เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนเป็นจำนวนมาก จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น “พัทยาอีสาน” อีกทั้งทิวทัศน์ในบริเวณหาดทรายยังสามารถมองเห็นบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ได้อย่างชัดเจน


หมู่บ้านประมงน้ำจืด
อยู่ที่ตำบลกองนาง ตามเส้นทางท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านซึ่งชาวบ้านมีอาชีพทำการประมงน้ำจืด มีการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ เช่น ปลาตะเพียน ปลาไน ปลานวลจันทร์ ปลายี่สกเทศ ปลาเกล็ดเงิน ปลาหัวโต และปลาดุกเทศ โดยจัดส่งไปจำหน่ายยังกรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคอีสาน

ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย

ตั้งอยู่ที่ถนนหนองคาย-บึงกาฬ (ทางหลวงหมายเลข 212) ประมาณ 63 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางแยกขวาที่บ้านนายางเข้าไปอีก 200 เมตร เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำโขงจึงทำให้เป็นเขตที่มีความชุ่มชื้นสูงหลาก หลายไปด้วยพันธุ์ไม้ที่ทดลองปลูกซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ทั่ว บริเวณ ได้แก่ แปลงไม้ผล มีทุเรียน มังคุด ลองกอง มะม่วงหิมพานต์ รวมทั้งพันธุ์ไม้พื้นบ้านที่ได้อนุรักษ์ไว้เช่น ต้นมะเกี๋ยงที่นำไปทำไวน์และน้ำมะเกี๋ยง แปลงผักพื้นบ้านที่ชาวอีสานนิยมนำไปจิ้มน้ำพริก แนมลาบ เช่น กระเจียว ผักกาดย่า ส้มโมง ผักหวานป่า แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หอมกว่า 100 ชนิด และสมุนไพรพื้นถิ่นภาคอีสาน ในช่วงฤดูหนาวมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวสีสันสวยงามด้วย นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง สอบถามรายละเอียด โทร. 0 4242 1257


หมู่บ้านทำแผ่นกระยอ
อยู่บริเวณเส้นทางจากหนองสองห้องไปอำเภอท่าบ่อ จะมองเห็นตะแกรงไม้ไผ่ตากแผ่นกระยออยู่เป็นระยะริมถนน แผ่นกระยอเป็นแผ่นแป้งซึ่งเป็นส่วนประกอบสำหรับทำอาหารเวียดนาม เช่น ปอเปี๊ยะและแหนมเนือง มีการส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของหนองคาย

หมู่บ้านทำยาสูบ
อยู่บริเวณเส้นทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอท่าบ่อ (ทางหลวงหมายเลข 211) มีชาวบ้านทำไร่ยาสูบตามแนวเรียบริมฝั่งโขง มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก

ตลาดท่าเสด็จ
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมือง เป็นแหล่งรวมสินค้าที่ในแถบอินโดจีนและยุโรปตะวันออกมีทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร แห้ง อาหารแปรรูป และข้าวของเครื่องใช้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า นาฬิกา เครื่องครัว เปิดจำหน่ายทุกวันเวลา 07.00-18.30 น. มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเดินทางมาเที่ยวชมและ เลือกซื้อสินค้ามากมาย นอกจากนี้ท่าเสด็จยังเป็นด่านสำหรับคนท้องถิ่นข้ามไปยังลาว ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปต้องใช้ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว

 


 
 
 
 
1
หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ
2
หลวงพ่อพระใส
3
วัดหินหมากเป้ง
4
วัดโพธิ์ชัย
5
พระธาตุบังพวน
6
วัดผาตากเสื้อ
7
วัดสว่างอารมณ์
8
วัดอรัญบรรพต พระสุธรรมเจดีย์
9
ศาลาแก้วกู่