"วัดราชชนัดดา"

สะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกนั้น เป็นพระราชดำริในรัชกาลที่ ๔ เพื่อที่จะแก้อาถรรพณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ยังไม่มีเทคโนโลยีสร้างได้ในสมัยนั้น มาสำเร็จสมัยรัชกาลที่ ๗ ในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๕๐ ปีพอดี

อาถรรพณ์ที่เป็นเหตุให้ต้องสร้างสะพานพุทธฯนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในพิธีฝังเสาหลักเมืองของกรุงเทพมหานครในวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามฤกษ์แล้ว ขณะที่พราหมณ์กำลังเลื่อนเสาลงหลุมก็พบเหตุประหลาด มีงูเล็กๆ ๔ ตัวปรากฎอยู่ก้นหลุม โดยไม่มีใครสังเกตเห็นมาก่อน ครั้นจะหยุดเสาเมืองไว้ก็ไม่ได้ เพราะพิธีทุกอย่างต้องเป็นไปตามฤกษ์ พราหมณ์จึงจำต้องปล่อยเสาลงหลุมและกลบดินฝังงูเล็ก ๔ ตัวนั้นไว้กับเสาหลักเมืองด้วย

เรื่องนี้ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปริวิตกเป็นอันมาก บรรดาโหราจารย์ทั้งหลายต่างทำนายตรงกันว่า เหตุการณ์นี้เป็นอวมงคลคือ เป็นเรื่องไม่ดี แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าจะทำให้เกิดเหตุร้ายสิ่งใด บ้างก็ทำนายว่าพระราชวงศ์จักรีจะสิ้นสุดลงในเวลา ๑๕๐ ปี ซึ่งก็สร้างความวิตกให้ผู้คนตลอดมา จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงวชาญด้านโหราศาสตร์ นอกจากจะทรงทำพิธีแก้อาถรรพณ์ด้วยการฝังเสาหลักเมืองขึ้นอีกเสาหนึ่งคู่กัน แล้ว ยังทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างสะพานเชื่อมเมืองหลวงใหม่กับเมืองหลวงเก่าให้ ติดต่อถึงกัน แต่ในยุคนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีสามารถสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างขนาดนั้น ได้

จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๗ ซึ่งกำหนดจะมีงานเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงพระราชดำริในรัชกาลที่ ๔ ที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อม ๒ ฝั่ง อีกทั้งยังทรงเห็นว่ากรุงเทพมหานครได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมากและขยายไปทางด้าน ตะวันออกมากกว่าด้านอื่น แต่ทางด้านฝั่งธนบุรีมีพื้นที่ติดกันเป็นเรือกสวนและมีผู้คนอาศัยอยู่มาก การไปมากับฝั่งพระนครยังยากลำบากต้องใช้แต่ทางเรือ ไม่วันใดวันหนึ่งก็ต้องสร้างสะพานเชื่อมถึงกัน ถ้าสร้างเสียแต่วันนี้จะได้ประโยชน์เร็วขึ้น ทั้งในโอกาสฉลองกรุงเทพฯ ๑๕๐ ปีก็ควรจะมีสิ่งที่เป็นอนุสรณ์สถานสร้างไว้ เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกที่สร้าง กรุงเทพมหานครขึ้น เมื่อโปรดเกล้าฯให้คณะอภิรัฐมนตรีสภาประชุมปรึกษาหารือกัน ก็เห็นชอบพระราชดำริที่จะสร้างอนุสรณ์สถาน ๒ สิ่งคู่กัน โดยเชิญชวนประชาชนร่วมเฉลิมพระเกียรติสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก คือพระบรมรูปองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีผู้สร้างกรุงเทพมหานคร กับอีกสิ่งหนึ่งคือ สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นพระราชดำริมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ โดยกำหนดสถานที่ปลายถนนตรีเพชร ฝั่งพระนคร ข้ามไปลงที่บริเวณด้านวัดประยุรวงศาวาส จากนั้นตัดถนนกระจายไปในเขตฝั่งธนบุรี

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ อุปนายกราชบัณฑิตสถาน ซึ่งทรงอำนวยการแผนกศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ เป็นพระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ ประทับเหนือราชบัลลังก์ และหล่อด้วยทองสำริด สูงจากฐานถึงยอด ๔.๖๐ เมตร ฐานกว้าง ๒.๓๐ เมตร มีฐานศิลาอ่อนเป็นเวทีที่ตั้งพระบรมรูป หล่ออีกตอนหนึ่ง สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมอำนวยการสร้าง ซึ่งทรงรับสั่งให้กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง เป็นผู้ออกแบบโครงสร้าง แสดงทางขึ้นลงทั้ง ๒ ข้างและตัว สะพาน พร้อมด้วยขนาดและรายการ เพื่อเปิดประมูลจาก บริษัทต่างๆ งบประมาณการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ทั้ง ๒ สิ่งนี้ กำหนดประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท พระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าฯ ทรงบริจาคราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง และรัฐบาลสมทบงบ ประมาณแผ่นดินอีกจำนวนหนึ่ง อีกทั้งทรงมีพระราชดำริที่จะเปิดรับบริจาคเงินจาก ประชาชนให้มีส่วน ร่วมในการ สร้างด้วย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามสะพานนี้ว่า "สะพานพระพุทธยอดฟ้า" ทางขึ้นลงทางฝั่งธนบุรีนั้นจะใช้ทางเดียว กันเป็นถนน ๒ เลน แต่ทางฝั่งพระนครแยก ทางขึ้นลง ออกจากกัน และตรงทาง โค้งที่ ทางขึ้นทางลง มาบรรจบกัน เป็นที่ประดิษ ฐานพระบรม รูปพระบาท สมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก หันพระพักตร์ ไปยัง ถนนตรีเพชร เบื้องหลัง ก่อเป็น กำแพงหิน อ่อนกั้น เบื้องหน้ามีเครื่อง บูชาและมีน้ำพุ ๒ ข้างตอม่อสะพานทั้ง ๒ ฝั่ง ทำเป็นเสาสูงไว้ข้างละต้นรวมเป็น ๔ ต้น มีลักษณะสอบขึ้นข้างบน ภายในกลวงมีบันไดขึ้นไปด้านบนได้ ซึ่งบนสุดมีหน้าต่างกระจก ๔ ทิศติดไฟฟ้าไว้ภายใน เพื่อเป็นอาณัติสัญญาณ แก่เรือที่จะผ่านสะพาน เมื่อสะพานปิดไฟจะเปิด เรือสามารถมองเห็นได้แต่ไกล ไฟจะดับเมื่อสะพานเปิด เสาทั้ง ๔ ยังเป็นเครื่องประดับสะพานด้วย ที่โคนเสามีคำจารึกประวัติการสร้างสะพานอยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งจารึกนามสะพานพร้อมปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่เป็นปีประกอบพระราชพิธีเปิดพระปฐม บรมราชานุ สรณ์และ สะพานเหมือนกันทั้ง ๒ ฝั่ง

สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถ่ายเมื่อวันพระราชพิธีเปิดสะพาน วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ ใต้ทางลาดขึ้นลงสะพานยังมีห้องหน้าต่างกระจก ซึ่งด้านหนึ่งแสดงพิพิธภัณฑ์สรรพสินค้าสยาม อีกด้านหนึ่งแผนกไฟฟ้าหลวงแห่งกรมรถไฟหลวงใช้แสดงเครื่องไฟฟ้าต่างๆ และเปิดขายให้ประชาชนด้วย นอกจากสะพานพระพุทธยอดฟ้าจะถูกบันทึกไว้ว่าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานแรกแล้ว ใต้ทางลาดนี้ยังมีห้องน้ำสาธารณะเป็นแห่งแรกของประเทศไทยด้วย พระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบวิธีวาง ศิลาฤกษ์ในวันที่ ๒ มกราคม ๒๔๗๒ ซึ่งตอนนั้นวันขึ้นปีใหม่ยังเป็น ๑ เมษายน การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๗๔ และเสด็จพระราชดำเนินเปิดในวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ อันเป็นวันจักรีและอยู่ในช่วงของการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์อายุครบ ๑๕๐ ปี ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ สะพานพระพุทธยอดฟ้าถูกฝ่ายสัมพันธมิตร ทิ้งระเบิดจนเสียหาย เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของกองทัพญี่ปุ่น พอสงครามสงบองค์กาสหประชาชาติได้นำสะพานเบลลีมาทอดให้ชั่วคราวจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๙๑ รัฐบาลจึงได้บูรณะและกลับมาใช้ได้ตามปกติในปี ๒๔๙๒ ในปัจจุบันมีการสร้าง "สะพานสมเด็จพระปกเกล้า" ขึ้นคู่ขนานกับสะพานพุทธฯ เพื่อแบ่งเบาภาระการจราจร แม้ทุกวันนี้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ที่ใช้งานมาตั้งแต่ ๒๔๗๕ ก็ยังใช้อยู่ตามปกติ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และเป็นอนุสรณ์สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์

  ที่อยู่ติดต่อ

   ถนน ตรีเพชร แขวง วังบูรพาภิรมย์ เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

แผนที่

  ค้นหาข้อมูล

วัดโพธิ์

ช่างชุ่ย

วัดบวรนิเวศฯ

ตลาดน้ำคลองลัดมะยม

ตลาดน้ำขวัญ-เรียม

ตลาดน้ำตลิ่งชัน