WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ดอนหอยหลอด

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด” ดอนหอยหลอดมีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 แห่ง แห่งแรก ได้แก่ ดอนนอก อยู่บริเวณปากอ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดยทางเรือ ดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และอีกแห่งคือ ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวนมากที่สุด จึงเป็นจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้หอยหลอดเป็นหอยชนิด 2 ฝา ตัวสีขาวขุ่น มีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในเลน การจับหอยหลอด จะจับในช่วงน้ำลง โดยใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดก้านธูป จุ่มปูนขาว แล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมาปูนแล้วโผล่ขึ้นมาให้จับ ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือบริเวณศาลาอาภร (ใกล้ศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์) เพื่อนั่งเรือไปชมดอนหอยหลอด ราคาเช่าลำละ 60 บาท (ไม่เกิน 6 คน) หรือ นักท่องเที่ยวคนละ 10 บาทต่อเที่ยว ชมปากอ่าว (ไม่เกิน 5 คน) ราคาเช่าลำละ 200 บาท หากต้องการเช่าไปเที่ยวชมทิวทัศน์ป่าชายเลน (ไม่เกิน 7 คน) ราคาลำละ 300 บาท นักท่องเที่ยวสามารถ


ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา

เป็นตลาดริมคลอง ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม (จอดรถที่วัดอัมพวันเจติยารามได้) ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์  ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00-20.00 น. ในคลองอัมพวาจะมีพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายอาหารและเครื่องดื่ม เช่น หอยทอด ก๋วยเตี๋ยว กาแฟ โอเลี้ยง ขนมหวานต่างๆ  และมีรถเข็นขายของบนบกด้วย บรรยากาศสบาย ๆ มีเพลงฟัง จากเสียงตามสายของชาวชุมชน ประชาชนสามารถเดินเที่ยวชมตลาดหาซื้ออาหารรับประทานและเช่าเรือไปเที่ยวชมดู หิ่งห้อยในยามค่ำคืนได้ ค่าบริการคนละ 60-80 บาท
การเดินทาง 
รถยนต์  ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ถึง กม.ที่ 63 เข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ผ่านตัวเมือง จากนั้นเข้าทางหลวง 325 สมุทรสงคราม-บางแพ กม.ที่ 36-37 มาทางแยกซ้ายเข้าไปทางที่จะไปอุทยานฯ ร.2 ตลาดน้ำจะอยู่ใกล้กับอุทยานฯ ร.2
รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ - ราชบุรี - ดำเนินสะดวก มาลงที่ตลาดอัมพวา


วัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร

ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง บริเวณถนนเพชรสมุทร เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดเดิมชื่อ วัดศรีจำปา ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา ปี พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่ กลองเหนือวัดศรีจำปา จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชรและช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา เรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม” 


ตลาดน้ำท่าคา
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าคา เป็นตลาดนัดทางน้ำที่ยังคงความเป็นธรรมชาติของวิถีชีวิตชาวบ้านซึ่งมีอาชีพ ทำสวนปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ชาวบ้านจะพายเรือนำผลผลิต พืชผักและผลไม้จากสวน เช่น พริก หอม กระเทียม น้ำตาลมะพร้าว ฝรั่ง มะพร้าว ชมพู่ ส้มโอมาขาย-แลกเปลี่ยนกัน เฉพาะในวันขึ้นหรือแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ 12 ค่ำ (ทุก ๆ 5 วัน) ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00–11.00 น. นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อเช่าเรือพายเที่ยวชมหมู่บ้านและเรือกสวนผลไม้ใน บริเวณนั้นได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันเวลานัดได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา โทร. 0 3476 6208, ลุงจรูญ โทร. 0 3476 6123
การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) กิโลเมตรที่ 32 (เลยทางแยกเข้าวัดเกาะแก้วไปเล็กน้อย) มีทางแยกขวาไปอีก 5 กิโลเมตร หรือเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางขึ้นรถได้ที่ตลาดตัวเมือง หน้าธนาคารทหารไทย สายท่าคา-วัดเทพประสิทธิ์ ตั้งแต่เวลา 07.00–18.00 น. รถออกทุก 20 นาที

 


ค่ายบางกุ้ง
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบางกุ้ง เมื่อมาถึงบริเวณค่ายจะมองเห็นแนวกำแพงจำลองสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์จากการ สู้รบ ค่ายแห่งนี้เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า ค่ายบางกุ้ง เนื่องจากเมืองแม่กลองเป็นเส้นทางที่กองทัพพม่าใช้ในการเดินทัพ โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่ายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและ เป็นที่เคารพบูชาของทหาร พระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้คนจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรีและกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่าย ค่ายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนี่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง" พระองค์ทรงให้ชื่อทหารเหล่านี้ว่า “ทหารภักดีอาสา” ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรี มาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี (บุญมา) ร่วมรบขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย นับเป็นค่ายทหารไทยที่สร้างความเกรงขามให้กองทัพพม่า สร้างขวัญกำลังใจให้คนไทยกลับคืนมา และเป็นสงครามครั้งแรกที่ไทยทำกับพม่าหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ค่ายบางกุ้งแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึงปี พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราช และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์ โดยทำพิธียกศาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ภายในบริเวณค่ายยังมีโบสถ์ที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์หลวงพ่อดำ” มีลักษณะพิเศษคือ โบสถ์ทั้งหลังปกคลุมด้วยด้วยต้นไม้ถึงสี่ชนิด คือ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไกร ต้นกร่าง ชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์ปรกโพธิ์และไม่ไกลนักเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช

วัดบางกุ้ง
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที อยู่ ในเขตพื้นที่เดียวกับค่ายบางกุ้งแต่อยู่คนละฝั่งกัน มีถนนตัดผ่านกลาง วัดบางกุ้งนี้มีความมหัศจรรย์อยู่ที่โบสถ์ของวัดจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาด ใหญ่ ทำให้วัดบางกุ้งแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand โดยภายในวัดมีโบสถ์เก่าประดิษฐานหลวงพ่อพุทธมณีนิลพระประธานเป็นพระพุทธรูป ปั้นขนาดใหญ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นที่เคารพบูชาของคนในท้องถิ่น รวมไปถึงชาวไทยที่มาจากทั่วทุกสารทิศซึ่งมาสักการะและชมความมหัศจรรย์ของ โบสถ์ที่ดำรงอยู่ด้วยการค้ำยันแห่งรากไม้ นอกจากนั้นยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาแสดงเรื่องราวเกี่ยว กับพุทธประวัติ เป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมและภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในซุ้มขนาบ ข้างด้วยอัครสาวกนั่งพนมมือ 
วัดบางกุ้งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เคยเป็นที่ตั้งค่ายรบโบราณที่มีความสำคัญ ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ทรงให้กองทัพเรือมาตั้งค่าย กำแพงล้อมที่วัดบางกุ้งแห่งนี้ เพื่อรบกับทัพข้าศึก เรียกว่า "ค่ายบางกุ้ง" จนภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาได้แตกลงแล้ว พระเจ้าตากสินทรงโปรดให้ฟื้นค่ายบางกุ้งแห่งนี้อีกครั้งโดยให้ตั้งกองทหาร ชาวจีนมารักษาค่ายไว้ และใช้เป็นที่รับศึกทัพพม่า โดยทรงยกกองทัพเสริมมาช่วยตีข้าศึกจนแตกพ่ายไปในสงครามครั้งแรกกับพม่า นับแต่สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ซึ่งได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับเหล่าทหารไทยได้อย่างมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่วัดบางกุ้ง โทร. 0 3476 1631, 08 9014 5681
ความเชื่อและวิธีการบูชา  ผู้ที่เดินทางมาสักการะหลวงพ่อดำในโบสถ์ปรกโพธิ์แห่งนี้ ด้วยความเชื่อที่ว่าบารมีของท่านจะช่วยปกปักรักษาคุ้มครองให้ผู้ที่มากราบ ไหว้ร่มเย็นเหมือนอยู่ใต้ร่มโพธิ์ร่มไทร แคล้วคลาด ปราศจากอันตราย และมีชัยในอุปสรรคทั้งปวง

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสมุทรสงคราม-บางนกแขวก (เส้นทางเดียวกับอุทยาน ร. 2) ก่อนถึงอาสนวิหารแม่พระบังเกิด เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานสมเด็จพระอัมรินทร์ แล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้ง ตรงไปประมาณ 6 กิโลเมตร


ตลาดหุบร่ม

ตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมือง ตลาดหุบร่มหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ตลาดเสี่ยงตาย หรือตลาดริมทางรถไฟ ตั้งขายอยู่ริมทางรถไฟใกล้สถานีรถไฟแม่กลอง ความยาวของตลาดประมาณ 100 เมตร บรรดาพ่อค้าแม่ค้าจะวางขายสินค้าบนพื้นจนติดกับรางรถไฟ เวลารถไฟมาก็ต่างหุบร่มที่กางและเก็บสินค้าภายในพริบตา จนเป็นที่มาของชื่อตลาดหุบร่มนั่นเอง สินค้าที่วางขายที่ตลาดแห่งนี้จะเป็นพวกผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาหารทะเลสด ๆ ขายกันในราคาไม่แพง จึงเป็นตลาดยอดนิยมของชาวบ้านบริเวณนั้นเพราะราคาถูกและคุณภาพดี ตลาดแห่งนี้เปิดขายทุกวันเวลา 6.00-18.00 น.

เวลารถไฟวิ่งผ่านตลาดหุบร่ม วันละ 8 รอบ (โดยประมาณ) ดังนี้ 06.20, 08.30, 09.00, 11.10, 11.30, 14.30, 15.30 และ 17.40 น.

การเดินทาง
รถยนต์ วิ่งเข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม ข้ามทางรถไฟแล้วจอดรถได้ที่บริเวณตรงข้ามวัดบ้านแหลม
รถประจำทาง ขึ้นรถสายกรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม ลงที่สถานีขนส่ง
รถไฟ จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ลงที่สถานีรถไฟมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นนั่งเรือข้ามฟาก (ท่าฉลอม) ไปที่สถานีรถไฟบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสาคร  มุ่งตรงสู่สถานีรถไฟแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม


อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร. 2)

เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรม ราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้ เป็นมรดกแก่ชาติ จนได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นผู้น้อมเกล้าฯถวาย มีพื้นที่ประมาณ 11 ไร่ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญเพราะเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระ พุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)
ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่


อาสนวิหารแม่พระบังเกิด
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลบางนกแขวก โบสถ์นี้เป็นสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยบาทหลวงเปาโลซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ได้รับทุนสนับสนุนจากญาติพี่น้องของท่านในประเทศฝรั่งเศส คณะมิซซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส กรุงโรมและผู้ใจบุญในกรุงเทพฯ ใช้เวลาสร้างถึง 6 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิคของประเทศฝรั่งเศส ฉาบด้วยปูนตำ ภายในประดับด้วยภาพกระจกสีสวยงดงาม มีรูปปั้น ธรรมาสน์เทศน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักบรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสตศาสนา นับเป็นโบสถ์ที่มีความสวยงามไม่ไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ การเข้าชมควรติดต่อขออนุญาตจากบาทหลวงผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า เพื่อติดต่อวิทยากรบรรยาย โทร. 0 3476 1347

การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายสมุทรสงคราม-บางนกแขวก (เส้นทางเดียวกับอุทยาน ร. 2) เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร อาสนวิหารแม่พระบังเกิดอยู่เลยแยกสะพานสมเด็จพระอัมรินทร์ไปประมาณ 100 เมตร

บ้านครูเอื้อ...อัมพวา 
ตั้งอยู่เลขที่ 193-195 ริมคลองอัมพวา ตำบลอัมพวา ใกล้ตลาดน้ำอัมพวา ก่อตั้งโดยมูลนิธิสุนทราภรณ์ โดยการนำอาคารไม้โบราณ ริมคลองอัมพวา อันเป็นถิ่นกำเนิดของครูเอื้อ สุนทรสนาน เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการประวัติผลงานของครูเอื้อ ศูนย์รวมข้อมูลสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจค้นคว้าเรื่องราวของเพลงสุนทราภรณ์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เปิดให้แฟนเพลงเข้าไปนั่งฟังเพลง ค้นคว้า อ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังแสดงของใช้ส่วนตัวของครูเอื้อ และภาพเก่า ๆ ที่หาชมได้ยาก รวมทั้งจำหน่ายของที่ระลึกและผลงานเพลงของครูเอื้อ สุนทรสนาน
สถานที่แห่งนี้ยังนับเป็นส่วนหนึ่งใน "โครงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวอัมพวา" ของมูลนิธิชัยพัฒนา ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ อีกด้วย
บ้านครูเอื้อ...อัมพวา เปิดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เวลา 11.00-20.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักประชาสัมพันธ์มูลนิธิชัยพัฒนา โทร. 0 2282 4425 ต่อ 116, 117, 0 2252 9881 และมูลนิธิสุนทราภรณ์ โทร. 0 2241 0974 แฟกซ์ 0 2241 3535

วัดบางกะพ้อม
ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 37 – 38 ไปตามทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สิ่งที่น่าสนใจอยู่ภายในวิหารเก่าของวัด ผนังวิหารด้านบนเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังลักษณะแตกต่างจากทั่วไป คือ เป็นปูนปั้นลวดลายนูนแสดงเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ผนังวิหารด้านล่างโดยรอบมีช่องเจาะเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป นอกจากนี้กลางวิหารยังประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองขนาดใหญ่ซ้อนกันสี่รอยลด หลั่นกันไป สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี เดิมมีแผ่นเงินหุ้มแต่ถูกขโมยไปเมื่อครั้งสงคราม พระพุทธบาทรอยที่ซ้อนลึกที่สุดนั้นเป็นไม้ประดับมุกยังคงหลงเหลือลวดลายงด งาม

วัดภุมรินทร์กุฎีทอง

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตรงปากคลองประชาชื่นฝั่งตะวันตก ตำบลสวนหลวง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดมีมากมาย ได้แก่ กุฎีทอง ทำด้วยไม้สัก ประวัติเล่าว่า เศรษฐีบิดาของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) ให้สมภารวัดบางลี่ตรวจดูดวงชะตาคุณนาค สมภารทำนายว่าจะได้เป็นพระราชินี เศรษฐีบิดาคุณนาคจึงให้คำมั่นว่า ถ้าเป็นจริงจะสร้างกุฎีทองถวายให้วัด วัดบางลี่จึงได้ชื่อว่า วัดบางลี่กุฎีทอง ต่อมาวัดบางลี่ถูกน้ำเซาะที่ดินพังลง จึงรื้อกุฎีทองมาสร้างไว้ที่วัดภุมรินทร์ วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดภุมรินทร์กุฎีทอง นอกจากนี้ ยังมี พิพิธภัณฑ์วัดภุมรินทร์และอุทยานการศึกษา เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุล้ำค่าสมควรแก่การศึกษาและอนุรักษ์ ไว้ เช่น พระพุทธรูป หนังสือไทย โถลายคราม และเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัยชื่อ พระพุทธรัตนมงคลหรือหลวงพ่อโต และ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 3475 1085, 0 3475 1492
บริเวณใกล้วัดมีจุดลงเรือของศูนย์ท่องเที่ยวทางน้ำ จ.สมุทรสงคราม สามารถติดต่อล่องเรือตามโปรแกรมต่าง ๆ ได้แก่ ล่องเรือตามรอยเสด็จประพาสต้นรัชกาลที่ 5 ล่องเรือเที่ยวตลาดน้ำ ให้อาหารลิง ชมฟาร์มหอยแครง หรือพักโฮมสเตย์ ติดต่อ ประธาน อบต.สวนหลวง โทร. 0 3475 1023


วัดอัมพวันเจติยาราม
อยู่ติดกับอุทยาน ร. 2 เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดอัมพวันเจติยารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็นพระอุโบสถที่มีความงดงาม นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐาน

การเดินทาง
รถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (สายธนบุรี-ปากท่อ) ถึงกิโลเมตรที่ 63 เข้าตัวเมืองสมุทรสงครามและออกไปประมาณ 6 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) กิโลเมตรที่ 36-37 มีทางแยกซ้าย เข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร
รถโดยสายประจำทาง ขึ้นรถได้ที่ตลาดเทศบาลอำเภอเมือง สายแม่กลอง-บางนกแขวก–ราชบุรี ลงหน้าวัดอัมพวันเจติยาราม

วัดบางแคน้อย
ตั้งอยู่ที่ตำบลแควอ้อม ริมแม่น้ำแม่กลอง คุณหญิงจุ้ย (น้อย) วงศาโรจน์ เป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2411 เดิมอุโบสถของวัดสร้างบนแพไม้ไผ่ผูกไว้กับต้นโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ปัจจุบันวัดนี้ได้รับการบูรณะอย่างดี สิ่งที่น่าชมภายในวัด ได้แก่ ผนังภายในพระอุโบสถทำจากไม้สักแกะสลักเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ ลวดลายสวยงามชัดเจนโดยฝีมือช่างแกะสลักจังหวัดเพชรบุรีซึ่งมีชื่อเสียงด้าน การแกะสลักไม้ นับเป็นอุโบสถที่มีความงดงามในศิลปะการแกะสลักไม้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3476 1222

วัดจุฬามณี
ตั้งอยู่ริมฝั่ง คลองอัมพวาห่างจากตัวอำเภออัมพวาเพียง 2 กิโลเมตร เดิมเรียกว่า "วัดแม่ย่าทิพย์" สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเล่าว่าท้าวแก้วผลึก (น้อย) ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้างเป็นผู้สร้างวัดจุฬามณีขึ้น บริเวณด้านหลังวัดห่างไป 5 เส้น เป็นนิวาสถานเดิมของท่านทองและท่านสั้น พระชนกและพระชนนีของสมเด็จพระอัมรินทร์ทรามาตย์ (นาก) พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ซึ่งภายหลังถูกไฟไหม้ ครอบครัวของท่านจึงย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดอัมพวันเจติยาราม อุโบสถวัดจุฬามณีเดิมสร้างจากไม้สักและไม้เนื้อแข็ง จนถึง พ.ศ. 2511 พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท) ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม หลังจากหลวงพ่อเนื่องมรณภาพในปี พ.ศ.2530 พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (อิฏฐ ภททฺจาโร) ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่อง ได้ดำเนินการสืบต่อจนแล้วเสร็จ

วัดศรัทธาธรรมหรือวัดมอญ

ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลบางจะเกร็ง ไปตามถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม 2) ประมาณกิโลเมตรที่ 64 ไปเส้นทางเดียวกับไปดอนหอยหลอด เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร วัดนี้จะอยู่ทางขวามือก่อนถึงดอนหอยหลอด เป็นวัดที่มีพระอุโบสถเป็นจุดเด่นสร้างโดยพระครูสมุทรวิสุทธิวงศ์ (อดีตเจ้าอาวาส) เมื่อ พ.ศ. 2535 พระอุโบสถทำด้วยไม้สักทองผนังฝังมุกทั้งด้านในและด้านนอก ลวดลายมีความละเอียดงดงามมาก แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและรามเกียรติ์ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อบ้านแหลม หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อพุทธโสธร เป็นที่สักการะของชาวสมุทรสงครามและจังหวัดใกล้เคียง ในบริเวณวัดมีขนมกาละแม-รามัญจำหน่าย โดยกลุ่มแม่บ้านรามัญพัฒนา เป็นขนมขึ้นชื่อของวัดมีรสชาติเหนียว หวาน มัน ห่อด้วยกาบหมาก สามารถชมการสาธิตกวนกาละแมในกะทะใบใหญ่ได้ในบริเวณวัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3471 1305


ศิลปะการทำซออู้ บ้านพญาซอ
ซอเป็นเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลาง บ้านพญาซอเป็นบ้านช่างซออู้ ที่นำศิลปะการเล่นดนตรีไทยมาผนวกกับการแกะสลักซอเป็นลวดลายที่งดงาม โดยการนำผลมะพร้าวที่ใช้ทำซอซึ่งมีลักษณะพิเศษมาแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายตัวละคร ลายพุดตาน ลายนามย่อ ลายนามปีนักษัตรเช่น ชวด ฉลู ปัจจุบันหาชมศิลปะการแกะสลักเช่นนี้ได้ยาก นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถชมศิลปะการแกะสลักซอและเรียนรู้การใช้ซอได้ที่ บ้านคุณสมพร เกตุแก้ว เลขที่ 43 หมู่ 5 ต.บางพรม อ.บางคนที สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3476 1949
การเดินทาง บ้านพญาซอ จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม-บางแพ) กิโลเมตรที่ 36-37 มีทางแยกซ้ายไปอุทยาน ร.2 บ้านพญาซออยู่เลยอุทยาน ร.2 ไปประมาณ 3 กิโลเมตร

วัดอินทาราม
ตั้งอยู่ที่ตำบลเหมืองใหม่ เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อ พ.ศ. 2300 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มาปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อโตอายุกว่า 300 ปี พระอุโบสถสร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง บานหน้าต่างและบานประตูเป็นไม้สักแกะสลักสุภาษิตสอนใจ ท่าน้ำของวัดเป็นอุทยานปลาตะเพียน นักท่องเที่ยวสามารถให้อาหารปลาได้ ส่วนหนึ่งของวัดจัดเป็นศูนย์ฟื้นฟูสภาพจิตใจที่ใช้สมุนไพรควบคู่กับการ ปฏิบัติธรรมรักษาผู้ติดยาเสพติด มีโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์เรือโบราณในอนาคต โทร. 0 3476 1888, 0 3473 5515
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 325 (ถนนสมุทรสงคราม-บางแพ) เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานพระศรีสุริเยนทร์ ลงสะพานแล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3062 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2002 ผ่านโรงพยาบาลอัมพวา แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 2007 หรือใช้รถประจำทางสาย 8131 สมุทรสงคราม-ท่าเรือ วัดแก้วเจริญ

วัดเจริญสุขารามวรวิหาร  
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางนกแขวก ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถที่มีศิลปะการก่อสร้างเฉพาะตัว เพดานโบสถ์เป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อโตลักษณะเป็นพระปฏิมากรสมัยสุโขทัยสร้างด้วยศิลาแลง ขนาดหน้าพระเพลากว้าง 178 เซนติเมตร สูงจากพื้นรองประทับถึงจุฬา 208 เซนติเมตร บริเวณท่าน้ำหน้าวัดมีฝูงปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะปลาตะเพียนเงิน และปลาตะเพียนทอง ประชาชนนิยมมาให้อาหารปลาและรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือรสชาติอร่อยบริเวณท่า น้ำ
การเดินทาง ไปตามเส้นทางสายสมุทรสงคราม-บางนกแขวก (เส้นทางเดียวกับอุทยาน ร. 2) ประมาณ 5 กิโลเมตร ผ่านอาสนวิหารแม่พระบังเกิด ข้ามสะพานบางนกแขวก จะเห็นป้ายวัดอยู่ด้านขวามือ เลี้ยวขวาเข้าประมาณ 500 เมตร

โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

ตั้งอยู่ที่ตำบลอัมพวา ใกล้ตลาดน้ำอัมพวา เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนานำที่ดินที่คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวา ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย มาดำเนินการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอัมพวา เพื่อสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านและอนุรักษ์วิถีการดำเนินชีวิตของชาวอัมพวา และด้วยที่ "ชุมชนอัมพวา" เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติไทย ซึ่งอนุชนรุ่นหลังสามารถหวนรำลึกและมองย้อนเห็นภาพอดีตอันรุ่งเรืองถึงความ เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม และประเพณีที่งดงามที่สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างน่าภาคภูมิใจ 

โครงการ "อัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์"  แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วย ภูมิสังคมและพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สวนสาธิตการเกษตรเพื่อการเรียนรู้ อาทิ สวนมะพร้าวและพืชต่าง ๆ ร้านค้าชุมชน ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ ลานสำหรับจัดกิจกรรมและจำหน่ายของที่ระลึกจากชาวอัมพวา ร้านกาแฟอายุกว่า 200 ปี พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอัมพวา เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงสิ่งของเครื่องใช้สมัยโบราณที่ค้นพบในอำเภออัมพวา ร้านชานชาลา จำหน่ายเครื่องดื่มและของว่าง บ้านครูเอื้อ แสดงนิทรรศการประวัติและผลงาน รวมทั้งข้าวของเครืองใช้ของครูเอื้อ สุนทรสนานหรือสุนทราภรณ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักประชาสัมพันธ์มูลนิธิชัยพัฒนา โทร. 0 2282 4425 ต่อ 116, 117, 0 2252 9881 หรือ www.chaipat.or.th


วัดประดู่
ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสต้นทางชลมารคมาที่วัดนี้สมัยที่หลวงปู่แจ้งเป็นเจ้าอาวาส ทรงมีพระราชศรัทธา และได้ถวายสิ่งของให้แก่หลวงปู่มากมาย เช่น เรือเก๋งพระนที่นั่ง พระแท่นบรรทม ตาลปัตร ปิ่นโต สลกบาตร ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันทางวัดได้โดยจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์พระราฃศรัทธา เก็บรักษาไว้อย่างดี นอกจากนี้ในพิพิธภํณฑ์ยังจัดแสดง "หุ่นดินสอพอง" รูปพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดสมุทรสงคราม และรูปรัชกาลที่ 5 แกะสลักจากไม้หอม ผู้สนใจเยื่ยมชมสอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 3473 5237 หรือเว็บไซต์ www.watpradoo.com

บ้านแมวไทยโบราณ

เป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์แมวไทยโบราณ ตั้งอยู่เลขที่ 2/1 หมู่ 7 ตำบลแควอ้อม บ้านแมวไทยโบราณเกิดจากการรวมตัวของเพื่อนที่นิยมเลี้ยงแมวไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์แมวไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทยเป็น สมบัติของชาติตลอดไปและเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องคุณสมบัติและลักษณะที่ถูก ต้องของแมว สนับสนุนด้านการค้นคว้าวิจัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ระหว่างสมาชิก แลกเปลี่ยนเรื่องและประสบการณ์การวิจัย การผสมพันธุ์กับองค์กรการเลี้ยงแมวที่เกี่ยวข้อง คุณปรีชา พุคคะบุตร ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นผู้ดูแลบ้านแมวไทยโบราณเล่าให้ฟังว่า “เดิมคุณแม่เป็นผู้เลี้ยงแมวไทยสายพันธุ์วิเชียรมาศ สมัยนั้นผมยังเด็กไม่ค่อยได้สนใจ พอโตขึ้น ถูกใช้ให้คลุกข้าวเลี้ยงแมว ช่วงนั้นมีแมวอยู่ในบ้านไม่มากนัก เลี้ยงมาเรื่อยๆ แมววิเชียรมาศไม่เคยขาดบ้าน มีความผูกพันกับแมวมาตลอด ต่อมามีเพื่อนฝูงที่นิยมเลี้ยงแมวมากขึ้น ไปมาหาสู่พูดคุยกันว่าน่าจะอนุรักษ์ไว้ เพราะแมวไทยเป็นแมวที่ฉลาด ช่างประจบ รักบ้าน รักเจ้าของและสวยสง่า มองดูสะดุดตา” แมวไทยมีหลายพันธุ์ทั้งพันธุ์สีสวาท ศุภลักษณ์ โกญจา ภายในบ้านแมวไทยมีเรือนเพาะเลี้ยงแมวไทย แบ่งเป็นกรงเลี้ยงแมวไทยประเภทต่าง ๆ บ้านแมวไทยโบราณ เป็นสถานที่น่าสนใจเหมาะแก่การศึกษาหาความรู้เรื่องแมวไทยพันธุ์แท้ๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3473 3284, 08 4003 4194

การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 325 (ถนนสมุทรสงคราม-บางแพ) เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานพระศรีสุริเยนทร์ เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3062 ข้ามคลองประชาชมชื่น ผ่านวัดภุมรินทร์กุฎีทอง วัดบางแคใหญ่ จะเห็นป้ายบ้านแมวไทย


ล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่กลอง
ล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่กลอง สามารถ เช่าเรือล่องชมทิวทัศน์ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตลอดสองฝั่งแม่น้ำจะเห็นบ้านเรือนผู้คน และเรือนปั้นหยาซึ่งหาดูยากในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมน้ำ เช่น วัดอัมพวัน วัดบางแคใหญ่ วัดบางแคน้อย วัดภุมรินทร์กุฎีทอง หรือ จะนั่งเรือเข้าไปในลำคลองเล็กๆ ผ่านสวนมะพร้าว สวนลิ้นจี่ บรรยากาศร่มรื่นและเป็นเส้นทางที่ยังไม่ค่อยมีผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวมากก็ น่าสนใจไปอีกแบบ

กิจกรรมการปลูกป่าชายเลน
ตำบลคลองโคน  มีกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สภาพแวดล้อมที่น่าสนใจบริเวณปาก อ่าวแม่กลอง ตำบลคลองโคน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางไปได้สะดวก ปัจจุบันช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนได้มากกว่า 2,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นต้นแสม ต้นลำพู ผู้สนใจสามารถนั่งเรือหางยาวชมพื้นที่ป่าชายเลน ชมนกนานาชนิดรวมทั้งลิงแสมและสัมผัสกับชีวิตชาวประมงอย่างใกล้ชิด อบต.คลองโคนจะจัดเตรียมเรือหางยาว กระดานเลน กล้าไม้และอุปกรณ์การปลูกไว้ให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมฟื้นฟู ป่าชายเลน สอบถามรายละเอียดได้ที่ อบต.คลองโคน โทร. 0 3473 1329 การเดินทาง ไปตามถนนพระราม 2 ประมาณกิโลเมตรที่ 72 จะเห็นปั๊มน้ำมันปตท. เลี้ยวซ้าย (ซอยที่มีป้ายทางเข้าพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเขายี่สาร) เข้าไปประมาณ 500 เมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปประมาณ 4 กิโลเมตร

วัดเขายี่สาร
ตั้งอยู่ที่บ้านเขายี่สาร ตำบลเขายี่สาร เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ พระวิหาร บนยอดเขามีลักษณะเป็นรูปเรือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยซึ่งเป็นองค์ประธานของวัด พระมณฑปและบานประตูสลักไม้ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายนับเป็นงานประณีตศิลป์ชั้น สูง พระอุโบสถบูรณะใหม่ประดิษฐ์ลวดลายปูนปั้นด้วยฝีมือช่างเมืองเพชร ภายในมีภาพจิตรกรรมฝีมือเดิม บานหน้าต่างเป็นรูปบุคคลในพงศาวดารจีน ถ้ำพระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีนิ้วพระบาทเก้านิ้ว นอกจากนี้ด้างล่างยังมีศาลประดิษฐานหลวงพ่อปู่ศรีราชามีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั่วไป มีงานนมัสการหลวงพ่อปู่กลางเดือนอ้ายของทุกปี พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเขายี่สาร โดยใช้อาคารศาลาการเปรียญของวัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชนยี่สารที่มีความสำนึกในประวัติศาสตร์ความ เป็นมาของท้องถิ่น ชุมชนยี่สารเป็นชุมชนโบราณร่วมสมัยกับการเกิดกรุงศรีอยุธยา มีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง เรื่องราวเหล่านี้เป็นจนข้อมูลสำคัญที่น่าศึกษา หาค้นคว้าได้จากพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร อาคารชั้นล่างจัดแสดงภูมิปัญญาบ้านเขายี่สาร ชีวิตวัฒนธรรมของผู้คน เครื่องมือผลิตยาสมุนไพร เครื่องใช้ไม้สอยของชาวบ้านในชุมชน ชั้นบนจัดแสดงภาชนะ เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวชุมชนเขายี่สาร เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เวลา 09.00 – 15.00 น. ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาที่ตรงกับวันธรรมสวนะ   ส่วนวันจันทร์-ศุกร์เปิดให้เข้าชมเมื่อมีการติดต่อขอเข้าชมล่วงหน้าไม่น้อย กว่า 1 สัปดาห์  ถ้าเข้าชมเป็นกลุ่ม (ไม่เกิน 20 คน) ค่าเข้าชม 200 บาท มีมัคคุเทศก์บริการนำเที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณสิริอาภา รัชตะหิรัญ โทร. 0 2433 1547, 08 1859 3195 องค์การบริหารส่วนตำบลเขายี่สาร โทร. 0 3476 3108 โทรสาร 0 2433 1547การเดินทาง ไปตามถนนพระราม 2 ประมาณกิโลเมตรที่ 72 จะเห็นปั๊มน้ำมัน ปตท. ซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทางเข้าวัดเขายี่สาร ตรงเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร

บ้านท่าคา
ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านท่าคา ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา ดำเนินการโดยกลุ่มชาวหมู่บ้านท่าคา ผู้สนใจจะได้พักอยู่กับชาวบ้านชมการเก็บน้ำตาลมะพร้าว การเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าว พายเรือแจวชมสวน พายเรือแจวชมหิ่งห้อยในยามค่ำ ปัจจุบันมีหิ่งห้อยเหลืออยู่ไม่มากแต่ยังพอมีให้เห็น หรือ เที่ยวชมตลาดน้ำท่าคา (แนะนำให้ไปพักในวันที่รุ่งขึ้นมีตลาดนัด) สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา โทร. 0 3476 6208 ประชาสัมพันธ์ตลาดน้ำท่าคา โทร. 0 3476 6123 คุณมาลี วงศ์ประสิทธิ์ โทร. 0 3476 6094 คุณทวีป เจือไท โทร. 0 3476 6170, คุณทรัพย์ ผ่องเพชรโทร. 0 3476 6190์ั

อนุสรณ์สถานแฝดสยามอิน-จันและพิพิธภัณฑ์เรือ
ตั้งอยู่ตำบลลาดใหญ่ ริมถนนเอกชัย (ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 4 กม.) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ฝาแฝดสยามอิน-จันที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ไทยไปทั่วโลก ภายในบริเวณเป็นลานกว้างประดับด้วยต้นไม้ดอกไม้ อนุสรณ์แฝดสยามอิน-จันตั้งอยู่กลางลาน ด้านหน้ามีสระน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอาคารโถงจัดแสดงชีวประวัติของแฝดสยามอิน-จัน "แฝดสยามอิน-จัน" เกิดที่จังหวัดสมุทรสงครามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811) ประมาณปี พ.ศ. 2371-2372 (ค.ศ. 1828-1829) กัปตันคอฟฟินและฮันเตอร์เดินทางมาติดต่อการค้าที่แม่กลอง พบฝาแฝดคู่นี้จึงขอนำกลับไปอเมริกาและอังกฤษ เพื่อเปิดการแสดงในที่ต่างๆ เรื่องราวชีวิตของแฝดสยามอิน-จัน ฝาแฝดที่มีร่างกายท่อนบนติดกันและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติยาวนานจน ถึงอายุ 63 ปี ได้รับการกล่าวขานทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อ “Siamese Twin”
ในอาคารโถงเดียวกันนอกจากชีวประวัติแฝดสยามแล้ว ยังแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็น พิพิธภัณฑ์เรือ รวบรวมเรือพื้นบ้านหลายชนิดมาจัดแสดงไว้เพื่อให้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยว กับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวแม่กลอง พิพิธภัณฑ์เรือเปิดตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 08.00-12.00 น . ค่าเข้าชม 15 บาท สอบถามรายละเอียด โทร. 0 3471 1333

แม่น้ำราชบุรี เบญจสุทธิคงคา

น้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำสายสำคัญ 5 สาย ซึ่งใช้ในการประกอบพิธีมหามงคลต่าง ๆ ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา (จากจังหวัดอ่างทอง) แม่น้ำเพชรบุรี (จากจังหวัดเพชรบุรี) แม่น้ำราชบุรี (จากจังหวัดสมุทรสาคร) แม่น้ำบางปะกง (จากจังหวัดนครนายก) และแม่น้ำป่าสัก (จากจังหวัดสระบุรี) อันเป็นที่มาของ “เบญจสุทธิคงคา” แม่น้ำราชบุรี บริเวณคลองสามแยกหน้าวัดดาวดึงส์ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บริเวณจุดที่กำหนดให้เป็นจุดตักน้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น คือ บริเวณสามแยกที่น้ำจะไหลมาจากคลอง 3 คลอง คือ คลองผีหลอก คลองอัมพวา และคลองดำเนินสะดวก โดยน้ำที่ไหลมาจากคลองทั้งสามแห่งจะมาบรรจบกัน ณ จุดนี้ ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งบริเวณจุดตัดดังกล่าวเป็นวังน้ำวนที่น้ำลึกและเชี่ยวมาก ถือเป็นบ่อที่ลุกที่สุดในบริเวณนั้น
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้น ณ คลองอัมพวา ได้เสด็จมาประทับยังศาลาการเปรียญในวัดดาวดึงส์ และจัดทำเครื่องเสวยในบริเวณนั้น ซึ่งการเสด็จในครั้งนั้นได้สรงน้ำในคลองสามแยก ทั้งยังใช้น้ำดังกล่าวเพื่อประกอบการทำเครื่องเสวยอีกด้วย ชาวบ้านในละแวกนั้นจึงถือว่าน้ำที่คลองสามแยก หน้าวัดดาวดึงส์แห่งนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการอัญเชิญมาใช้เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างต่อเนื่องจากอดีต จนถึงปัจจุบั


วัดแก่นจันทน์
 ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที เป็นวัดเก่าแก่สร้างในปี พ.ศ. 2350 เคยเป็นวัดร้างมาก่อน  ต่อมาพระครูสุนธร สุตกิจ(หลวงพ่อโห้) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางพลับ ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ได้บูรณะปรับปรุงซ่อมแซมวัดแก่นจันทน์แห่งนี้  วัดนี้เป็นที่จัดงานประเพณีตักบาตรขนมครกน้ำตาลทรายเพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้อง ถิ่นติดต่อกันมายาวนานกว่า 100 ปี ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ชาวบ้านก็จะรวมตัวกันที่ศาลาวัดแก่นจันทน์ เพื่อช่วยกันทำขนมครกโดยการซื้อเกลือ ซื้อถ่าน ซื้อข้าวสารมาหมักค้างคืนไว้ บ้างก็เก็บมะพร้าวจากสวน นำมาคั้นกระทิซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของขนมครก  เพื่อนำมาใส่บาตรให้กับพระภิกษุสงฆ์ที่วัดการเดินทาง ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม แล้วใช้เส้นทางเดียวกับทางไปอุทยาน ร.2 (อัมพวา-บางนกแขวก) เลยอุทยาน ร.2 ไปประมาณ 3 กม.จะมีทางแยกขวาเข้าวัดแก่นจันทน์ ั

พิพิธภัณฑ์ตั้งเซียมฮะ (บ้านไหพันใบ)
ตั้งอยู่เลขที่ 120 หมู่ 8 ตำบลกระดังงา อำเภอบางคนที เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เกิดจาการเก็บรวบรวมสิ่งของด้วยใจรักของเจ้าของ และเปิดให้เข้าชมด้วยไมตรจิต โดยไม่เก็บค่าเข้าชม (มีกล่องรับบริจาคหากต้องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายพิพิธภัณฑ์)
ชมเครื่องปั้นดินเผารูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคสุโขทัย กรุงรัตนโกสินทร์ ที่งมได้จากแม่น้ำแม่กลอง ชมคันฉ่องไม้สัก ถาดนิเกิล เรือบดไม้สัก เตาเชิงกราน และของโบราณหายากหลายชนิด การเข้าชมควรติดต่อล่วงหน้า 2 วัน ที่คุณธวัชชัย - คุณประพีร์ภัทร พิเสฏฐศลาศัย โทร. 0 3476 1098 
การเดินทาง - ใช้เส้นทางผ่านอัมพวา อุทยาน ร. 2 ไปทางบางคนที พิพิธภัณฑ์อยู่ด้านซ้ายมือ ก่อนถึงสามแยกใกล้โบสคริสต์บางนกแขวก

บ้านดนตรี
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดภุมรินทร์กุฎีทอง โดยใช้อาคารโรงเรียนเป็นที่ทำการสอนดนตรีไทย ด้วยสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามเล็งเห็นคุณค่าวัฒนธรรมของ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์สืบทอดให้ลูกหลานชาวสมุทรสงครามได้ภาคภูมิ ใจ จึงได้รวบรวมนักดนตรีไทยรุ่นเก่าๆ ที่สมัครใจ ให้อบรมสั่งสอนเด็กรุ่นใหม่เพื่อสืบทอดความเป็นเมืองแห่งดนตรีไทยไว้สืบชั่ว ลูกหลาน เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นมา สอนทั้งในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และวันเสาร์-อาทิตย์ โทร. 0 3475 1500

บ้านหัวหาด
ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านหัวหาด ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา สัมผัสวิถีชีวิตชาวชุมชนริมฝั่งคลองอันร่มรื่นและสวนผักผลไม้ เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชนเก่าแก่ด้วยการพักในรูปแบบโฮมสเตย์ และกิจกรรมล่องเรือเที่ยวชมวิถีชีวิตชุมชนและตักบาตรยามเช้า ชมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่น่าสนใจ การเลี้ยงปลาทับทิม พายเรือเที่ยวชมสวนผลไม้ บ้านดนตรีไทย นวดแผนโบราณ นั่งเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณทองหยิบ แก้วนิลกุล (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9) โทร. 0 3473 5073

 
 
 
 
 
แนะนำสถานทีท่องเที่ยว กราบไหว้พระเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต และครอบครัว หรือคนที่เรารัก และยังได้ท่องเที่ยวอีกต่างหาก ซึ่งใช้เวลาภายในวันเดียว ก็สามารถท่องเที่ยวได้ ....
   
1
วัดบ้านแหลม หรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร
2
วัดบางกะพ้อม
3
วัดบางแคน้อย
4
วัดอัมพวันเจติยาราม
5
วัดอินทาราม
6
วัดภุมรินทร์กุฎีทอง
7
วัดศรัทธาธรรมหรือวัดมอญ
8
วัดเจริญสุขารามวรวิหาร  
9
วัดประดู่