WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

พระปรางค์สามยอด
ตั้งอยู่บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน ปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 ปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสาม ปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้งเปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 2510, 0 3641 3779

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งเสือเต้น ตำบลหนองบัว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระ ราชทานให้กับเขื่อนแห่งนี้ สร้างภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 4,860 เมตร ความสูงที่จุดสูงสุด 36.50 เมตร จุดเด่นที่น่าสนใจภายในเขื่อน ได้แก่ จุดชมวิวสันเขื่อพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งแสดงความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรม ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของชาวบ้าน เช่น ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดทานตะวัน น้ำผึ้ง ไข่เค็มดินสอพอง มีรถรางวิ่งพาชมทัศนียภาพบริเวณเขื่อนทุกวัน (ให้บริการตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป) วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์เวลา 7.30-18.00 น. ค่าบริการผู้ใหญ่ 25 บาท เด็ก 10 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3649 4031-4        การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรีใช้เส้นทางลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข 3017) ระยะทาง 48 กิโลเมตร มีบริการรถสองแถวลพบุรี - วังม่วง ผ่านหน้าเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 06.00 - 17.30 น.     นอกจากนี้ยังมีบริการท่องเที่ยวทางรถไฟขบวนพิเศษ ไป - กลับ กรุงเทพฯ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2220 4334, 1690 และนักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกใช้บริการนั่งรถไฟชมเขื่อนได้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟลพบุรี โทร. 0 3641 1022
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
เขาพญาเดินธง ห่างจากเขื่อน 10 กม. (ตามเส้นทางไปเขื่อนเข้าซอย 15) สามารถใช้รถกระบะขับขึ้นถึงยอดเขาเพื่อชมวิวได้ สอบถาม อบต.พัฒนานิคม โทร. 0 3663 9042

ศาลพระกาฬ
ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ที่ทับหลังซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณด้วย
ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา 2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำพระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงกว่า 300 ตัว ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี กล่าวกันว่าเดิมบริเวณนี้เต็มไปด้วยต้นกร่างขนาดใหญ่ มีลิงอาศัยอยู่ เมื่อมีคนนำอาหารและผลไม้มาแก้บนที่ศาลพระกาฬ ลิงป่าเหล่านั้นได้เข้ามากินอาหาร จึงเชื่องและคุ้นเคยกับคนมากขึ้น

สวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าดินดำ น้ำตกวังก้านเหลืองนี้ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เนื่องจากมีต้นน้ำเกิดจากตาน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากบริเวณน้ำตกประมาณ 1.5 กิโลเมตร
การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรีไปน้ำตกวังก้านเหลืองใช้เส้นทางลพบุรี-โคกสำโรง (ทางหลวงหมายเลข 1) จากนั้นใช้เส้นทางโคกสำโรง-ชัยบาดาล (ทางหลวงหมายเลข 205 ) ถึงบริเวณที่บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 21 แล้วต่อเข้าทางหลวงหมายเลข 2089 ไปอำเภอท่าหลวงประมาณ 12 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าตัวน้ำตกอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกวังก้านเหลืองซึ่งจะอยู่ทางขวามือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3634 7105-6, 0 3634 7446

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟ สร้างในสมัยใดไม่ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์สืบมาหลายยุคหลายสมัย ศิลปกรรมที่ปรากฏจึงมีความแตกต่างกันมากเมื่อเข้าไปในวัด จะพบศาลาเปลื้องเครื่องเป็นอันดับแรก 
ศาลาเปลื้องเครื่องนี้ใช้เป็นที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน เลี่ยนเครื่องทรงก่อนที่จะเข้าพิธีทาง ศาสนา ในพระวิหารหรือพระอุโบสถ ถัดจากศาลาเปลื้องเครื่อง เป็นวิหารหลวง สร้าง ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทางทิศใต้ของวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถ ขนาดย่อม ประตูหน้าต่างเป็นศิลปะแบบฝรั่งเศสทั้งหมด ห่างไปทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง เป็น พระปรางค์ประธาน องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงโบกปูนเครื่องประดับลวดลายเป็นพระพุทธ รูปและพุทธประวัติ อายุประมาณ พ.ศ.1800 ต่อมาได้รับการซ่อมแซมในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลวดลายจึงมี ปะปนกันหลายสมัย ปรางค์องค์นี้ เดิมบรรจุพระพุทธรูปไว้จำนวนมาก ที่มีชื่อเสียง คือ พระเครื่องสมัยลพบุรี เช่น พระหูยาน พระร่วง 

เวลาเปิด-ปิด : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เปิดให้เข้าชม ระหว่างเวลา 07.00 - 17.00 น. เว้นวันจันทร์ - อังคาร 

อัตราเข้าชม :  ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมเพื่อเข้าชมโบราณสถานอื่น ได้แก่ โบราณสถานบ้านวิชาเยนทร์ 
โบราณสถานปรางค์สามยอด โบราณสถานพระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) โบราณสถานวัดพระศรีมหาธาตุ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท

พระนารายณ์ราชนิเวศน์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2209 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ณ เมืองลพบุรี แบ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงมีซุ้มประตูทั้งหมด 11 ประตู ประตูทางเข้าเป็นทรงจตุรมุขมีช่องทางเข้าโค้งแหลม ตรงจั่วซุ้มประตูตกแต่งลายกระจังปูนปั้นที่วิวัฒนาการมาจากดอกบัว ที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในมีช่องเล็ก ๆ เจาะเป็นรูปโค้งแหลมคล้ายบัวเรียงเป็นแถวสำหรับวางตะเกียง ประมาณ 2,000 ช่อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2399 เพื่อให้เป็นราชธานีชั้นใน และพระราชทานชื่อว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”


หมู่บ้านทำดินสอพอง
ตั้งอยู่ที่บ้านหินสองก้อน ชานเมืองลพบุรี เป็นแหล่งผลิตดินสอพอง สินค้ามีชื่อของลพบุรี ตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งแรกสร้างเมือง พระรามแผลงศรมาตกที่นี่ ศรพระรามร้อนแรงเหมือนไฟ ดินแถวนี้จึงสุกพองเป็นสีขาว  เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านจะเห็นชาวบ้านหยอดแป้งดินสอพอง แบบดั้งเดิม และสามารถเลือกซื้อแป้งดินสอพองผสมสมุนไพร โดยสถาบันราชภัฏเทพสตรีร่วม พัฒนาผลิตภัณฑ์ ติดต่อได้ที่กลุ่มพัฒนาดินสอพอง บ้านหินสองก้อน โทร. 0 3664 0504, 0 7116 1204 และอบต.ทะเลชุบศร โทร. 0 3661 1438

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์
จังหวัดลพบุรี มีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 200,000 – 300,000 ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ทานตะวันเป็นพืชทนแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกแทนข้าวโพด เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการ นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพส่งเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง โดยแหล่งที่ปลูกทานตะวัน จะกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล พื้นที่ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง           การเดินทาง จากลพบุรี ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน (ลพบุรี-สระบุรี) ถึงกิโลเมตรที่ 4 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3017 (ทางไปตำบลโคกตูม) ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จะถึงทางเข้าวัดเวฬุวัน (ด้านซ้ายมือ) เลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงทุ่งทานตะวัน สำหรับรถโดยสารประจำทาง มีรถสองแถวลพบุรี – วังม่วง ผ่านทางเข้าวัดเวฬุวัน รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 06.00 – 17.30 น.         นอกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกทานตะวันกระจัดกระจายไปตามเส้นทางที่จะไปอำเภอพัฒนา นิคม บริเวณช่องสาริกา (เข้าทางวัดมณีศรีโสภณ) ริมทางหลวงหมายเลข 21       สอบถามบริเวณพื้นที่ปลูกทานตะวันก่อนการเดินทางได้ที่ ททท.ภาคกลาง เขต 7 (ลพบุรี)

พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์
ตั้งอยู่ภายในวัดเชิงท่า อำเภอเมือง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องประวัติวัดเชิงท่า พระ พุทธ พระธรรม และสงฆ์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงอัฐบริขาร และเครื่องใช้ในการพระพุทธศาสนาที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของพุทธศาสนา ได้แก่ ไตร จีวร บาตร ตาลปัตร เครื่องเคลือบ ธรรมาสน์ ตู้พระไตรปิฎก ตู้เก็บพระคัมภีร์ ภาพพระบฎมหาเวสสันดรชาดก และพระพุทธเจ้าในอนาคต ได้แก่ พระศรีอริยเมตไตร พิพิธภัณฑ์หอศิลป์นี้ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 8.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3661 8388

ปรางค์นางผมหอม
อยู่ห่างจากตลาดหนองรีประมาณ 4 กิโลเมตร ในเขตบ้านโคกคลี ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 205 กม.ที่ 269 ลักษณะของปรางค์นางผมหอมนี้ เป็นปรางค์องค์เดียวโดดๆ ก่อด้วยอิฐไม่ถือปูน เช่นเดียวกับเทวสถานปรางค์แขก สภาพปัจจุบันยอดหักลงมาหมดแล้ว มีประตูเข้าภายในปรางค์ได้ ภายในปรางค์เป็นห้องโถง กรอบประตูสร้างด้วยแท่งหิน รอบๆ ปรางค์ยังมีหินก้อนใหญ่อยู่เกลื่อนกลาด ห่างจากปรางค์นางผมหอมไม่มากนักเป็นด่านกักสัตว์บ้านโคกคลี เป็นเนินดินมีซากอิฐ เข้าใจว่าเป็นฐานวิหาร หรือเจดีย์ ชาวบ้านเรียกโคกคลีน้อย ยังมีเนินกว้างอีกแห่งหนึ่งเรียกโคกคลีใหญ่ ที่ตั้งของปรางค์นางผมหอมมีแม่น้ำมาบรรจบกันสองสาย คือ ลำสนธิกับลำพระยากลาง สันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้แต่เดิมเป็นเมืองโบราณ และจากการขุดแต่งโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2530 พบหลักฐานเพิ่มเติม คือ ชิ้นส่วนของเครื่องประดับตกแต่งองค์ปรางค์ ทำด้วยหินทรายเป็นรูปสตรีนุ่งผ้าตามศิลปะเขมรแบบบายน สันนิษฐานว่าปรางค์องค์นี้มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-17 ในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 

พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านโป่งมะนาว

อยู่ที่หมู่ 7 ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม อยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 26.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,300-3,500 ปี ประมาณยุค “บ้านเชียงตอนปลาย” มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณถึง 13 โครงกระดูกภายในหลุมเดียวกัน ฝังอยู่พร้อมเครื่องใช้และเครื่องประดับกระจายอยู่ทั่วบริเวณกว้าง จึงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย          นอกจากนี้ชมรมอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี และทรัพยากรธรรมชาติบ้านโป่งมะนาว ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 6 ประจำปี 2549 เนื่องจากได้อบรมเยาวชนในท้องถิ่นให้เป็นยุวอาสาสมัคร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อนำชมพิพิธภัณฑ์ ส่งผลให้เยาวชนมีความรู้เรื่องท้องถิ่นอย่างถ่องแท้และมีจิตสำนึกในการรักษา หวงแหนแผ่นดินเกิด และรางวัลแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคกลางดีเด่น ประจำปี 2551 สำหรับนักเรียน/นักศึกษา/นักท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายฟรี ติดต่อได้ที่ สถานีอนามัยตำบลห้วยขุนราม 0 3645 9457

การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรี ใช้เส้นทางสายลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม - อ.วังม่วง (สระบุรี) เข้าทางเดียวกับน้ำตกสวนมะเดื่อ ไม่มีรถประจำทางผ่าน 


ศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 280 ซอย 24 สายตรี หมู่ที่ 9 ตำบลพัฒนานิคม เป็นศูนย์อบรมและเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย เป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้ง เกสรผึ้ง เทียนไข ฯลฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3663 9292
การเดินทาง จากตัวเมือง ใช้เส้นทางสายลพบุรี - โคกตูม - พัฒนาการ (ทางหลวงหมายเลข 3017) ประมาณ 45 กิโลเมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางด้านซ้านมือ 

วัดพรหมรังษี
วัดพรหมรังษี  เดินทางจากจังหวัดลพบุรี ซอย 12 ริมทางหลวงหมายเลข 21 ตำบลดีลัง อยู่บริเวณสี่แยกพอดี ห่างจากตัวอำเภอพัฒนานิคมประมาณ 9 กิโลเมตร
เหตุที่วัดนี้มีชื่อว่าวัดพรหมรังษี สืบเนื่องมาจากในสมัยหนึ่ง สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ได้เดินธุดงค์และได้หยุดพักปักกลด ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาผู้ที่มีศรัทธาในพุทธศาสนาจึงได้ร่วมใจกันสร้างวัดและถวายนามนี้เป็น อนุสรณ์
วัดนี้มีพระอุโบสถทรงจตุรมุข พระเจดีย์ทรงระฆังคล้ายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชและสิ่งก่อสร้างอื่นที่มี ความสวยงาม รอบๆ บริเวณมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยและมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นอย่าง ดี ผู้ที่ผ่านไปมามักแวะชมวัดนี้เสมอ

วัดไลย์
อยู่ริมน้ำบางขาม ในเขตตำบลเขาสมอคอน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยเสด็จไปวัดนี้ และทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์เรื่องเที่ยวตามทางรถไฟไว้ว่า "วัดไลย์อยู่ริมน้ำบางขาม พ้นเขาสมอคอนไปทางตะวันตกไม่ห่างนัก เป็นวัดเก่าชั้นแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา แล้วปฏิสังขรณ์เมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ยังมีลายภาพของเก่าปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิงามน่าดูนัก ที่วัดไลย์นี้มีรูปพระศรีอาริย์เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนนับถือ กันมาแต่โบราณ เมื่อรัชกาลที่ 5 ไฟป่าไหม้วิหารรูปพระศรีอาริย์ชำรุดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้อัญเชิญลงมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ แล้วคืนกลับไปประดิษฐานอย่างเดิม ถึงเทศกาลราษฎรยังเชิญออกแห่เป็นประเพณีเมืองมาทุกปีมิได้ขาด”  ปัจจุบันทางวัดได้ก่อสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระศรีอาริย์ขึ้นใหม่ ด้านหน้าเป็นรูปมณฑลจตุรมุขแลดูสง่างามมาก  นอกจากนี้แล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น พระวิหาร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น คือ มีลักษณะเจาะช่องผนังแทนหน้าต่าง  ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิ ซึ่งนับว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของ ชาตินอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถ และวิหารรูปมณฑปยอดปรางค์อยู่ใกล้ ๆ กับพระวิหาร และพิพิธภัณฑ์ประจำวัดซึ่งมีของเก่ามากมายให้ชม เช่น พระพุทธรูป เครื่องหมาย เครื่องลายคราม เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ และอื่น ๆ อีกมากมาย

การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (ลพบุรี - สิงห์บุรี) แล้วเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3028 ตรงสี่แยกไฟแดง(กม.ที่18) เข้าไปอีกระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางผ่านหลายสาย คือ สายลพบุรี - ท่าโขลง สายโคกสำโรง - บ้านหมี่ และสายสิงห์บุรี - บ้านหมี่

เขาวงพระจันทร์

บริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ จะมีทางบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาประมาณ 3,790 ขั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว 1,680 เมตร ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ 2 ชั่วโมง สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อนเต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา
ในหน้าเทศกาลเดือนสาม ประชาชนโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลกันมานมัสการรอย พระพุทธบาทและพระพุทธรูปบนยอดเขาแห่งนี้อย่างเนืองแน่นเป็นประจำทุกปี สิ่งก่อสร้างและรูปแบบของการแสดงความเคารพที่วัดนี้จึงค่อนข้างจะมีอิทธิพล จีนหรือฝ่ายมหายานอยู่มาก
เขาวงพระจันทร์ได้ชื่อว่าเป็นเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดลพบุรี และเป็นภูเขาที่สร้างชื่อเสียงให้ผู้คนรู้จักเมืองลพบุรีมาช้านานแล้ว นอกจากนั้นภูเขานี้ยังเป็นที่มาแห่งตำนานเมืองเรื่องท้าวกกขนาก และเรื่องพระเจ้ากงจีน อีกด้วย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3665 0188

การเดินทาง มีรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่ง สายลพบุรี – โคกสำโรง ผ่านทางหน้าวัดและเหมารถรับจ้างจากปากทางเข้าวัดเข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร


อำเภอบ้านหมี่ 
เป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงในการทอผ้ามัดหมี่ ราษฎรส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่ เป็นไทยพวนที่อพยพมาจากประเทศลาว เมื่อประมาณ 130 ปีมาแล้ว และได้นำเอาชื่อบ้านเดิม คือ “บ้านหมี่” มาใช้เป็นชื่อบ้านอพยพมาตั้งหลักแหล่งใหม่นี้ด้วย

วัดธรรมิการาม หรือวัดค้างคาว  
ตั้งอยู่ริมลำน้ำบางขามฝั่งตะวันตก ตำบลบางขาม เหตุที่ชื่อวัดค้างคาวเพราะว่าเดิมมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก ปัจจุบันไม่มีแล้วและได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดธรรมิการาม” วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมฝั่งคลองในหมู่ไม้ร่มรื่น สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้ คือ มีภาพเขียนที่ผนังโบสถ์ ซึ่งเป็นภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติทั้ง 4 ด้าน ลักษณะของภาพเขียนมีลักษณะแบบตะวันตกเข้ามาปนบ้างแล้ว เช่น การแรเงาต้นไม้ และอื่นๆ เป็นภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝีมือช่างพื้นบ้านที่งดงามมาก
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (สายลพบุรี - สิงห์บุรี) แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3028 ตรง กม.ที่ 18 (เส้นทางเดียวกับทางเข้าวัดไลย์) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3648 9593

วัดเขาวงกต

เป็นวัดที่อยู่ในวงล้อมของภูเขาสามด้าน บริเวณกว้างขวางถึง 30 ไร่ บนไหล่เขาด้านทิศตะวันตกมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ถัดลงมามีศาลาเก็บศพหลวงพ่อเจริญ ดิสสวัณโณ อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2506 แต่ศพไม่เน่าเปื่อย หน้าวัดมีเจดีย์สร้างอยู่บนเรือสำเภา อนุสรณ์ของหลวงพ่อเภาผู้สร้างวัดนี้สิ่งที่น่าสนใจมาก คือ ถ้ำค้างคาว ซึ่งอยู่บนไหล่เขาเหนือพระอุโบสถ นับว่าเป็นถ้ำค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี ภายในถ้ำมีค้างคาวนับล้านๆ ตัว รายได้จากค่ามูลค้างคาวที่เข้าวัดแต่ละปีเป็นเงินหลายหมื่นบาท ทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ 18.30 น. ค้างคาวจะพากันบินออกจากปากถ้ำไปหากิน ยาวเป็นสายคล้ายควันไฟ การบินออกหากินนี้จะติดต่อกันไปไม่หยุดจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 22.00 น. และจะเริ่มกลับเข้าถ้ำตั้งแต่เวลาประมาณ 03.00 น. จนถึงประมาณ 06.00 น. จึงจะหมด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3662 8865 การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 311 (ลพบุรี – สิงห์บุรี) เช่นเดียวกับวัดท้องคุ้ง จะถึงก่อนเข้าตัวอำเภอบ้านหมี่ ประมาณ 4 กิโลเมตร มีบริการรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านหมี่ ลงรถที่สถานีขนส่งบ้านหมี่ แล้วเหมารถรับจ้างจากตลาดบ้านหมี่เข้าไปยังวัดอีกครั้ง


เขาสมอคอน
อยู่ในเขตตำบลเขาสมอคอน ไปตามเส้นทางสายลพบุรี - สิงห์บุรี ถึงกิโลเมตรที่ 18 เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 12 กิโลเมตร เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสืออักขรา นุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า “เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของ สุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชและพระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพะเยา ซึ่งน่าจะเป็นราชวงศ์หนองแส โยนก เชียงแสน ทั้งสองพระองค์ เพราะเมื่อทรงพระเยาว์ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ ซึ่งสมัยนั้นกษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน...”
มีวัดที่สำคัญบนเทือกเขานี้ 4 วัดด้วยกัน คือ วัดบันไดสามแสน มีโบราณสถานคือ วิหารอยู่หน้าถ้ำ และพระอุโบสถเก่า สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา มีพระอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2457 ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะแบบพม่า และเจดีย์ทรงเรือสำเภา วัดถ้ำช้างเผือก บริเวณเชิงเขามีทำนบดินและอ่างเก็บน้ำโบราณ ประมาณว่าสร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับอ่างเก็บน้ำและทำนบดินที่ตำบลทะเลชุบศร วัดเขาสมอคอน มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ทำบัวกลุ่มรองรับองค์ระฆังเป็นเจดีย์มีถ้ำเล็กๆ เรียกว่า ถ้ำพระนอน ภายในมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสเมื่อปี พ.ศ. 2448
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมาย 311 (สายลพบุรี - สิงห์บุรี) ถึง กม.ที่ 18 เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3028 ตรงสี่แยกไฟแดง เข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางผ่านทางเข้าเขาสมอคอนบริเวณตลาดท่าโขลงหลายสาย คือ สายลพบุรี - ท่าโขลง, สายโคกสำโรง - บ้านหมี่ และสายสิงห์บุรี – บ้านหมี่ หลังจากนั้นต้องเหมารถสองแถว หรือรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าไปจากปากทาง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3652 1159

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ และนิทรรศการ ตามอาคารต่างๆ ในบริเวณพระนารายนณ์ราชนิเวศน์ ดังนี้

 

 


วัดท้องคุ้งท่าเลา  
อยู่ริมถนนสายบางงา – บ้านหมี่ ตำบลบ้านพึ่ง สิ่งที่น่าสนใจ คือ ประตูทางเข้าวัดเป็นรูปหนุมานกำลังอ้าปาก ประดับกระจกสีสวยสะดุดตา เป็นความคิดริเริ่มของเจ้าอาวาสที่นำตำนานเมืองลพบุรีที่เกี่ยวกับเรื่อง รามเกียรติ์มาประยุกต์ในการสร้าง
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับวัดท้องคุ้ง อยู่ห่างมาอีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร และมีบริการรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านหมี่ ผ่านหน้าวัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3664 4139

วัดท้องคุ้ง

 ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านพึ่งสิ่งที่น่าสนใจคืออุโบสถบนเรือสำเภากลางน้ำ ลักษณะอุโบสถสร้างบนเรือสำเภาลอยน้ำอยู่ในแม่น้ำบางขามนอกจากนี้ยังมีศาลาธรรมสังเวช สร้างประยุกต์เป็นรูปรถโดยสารประจำทาง การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับวัดธรรมมิการามวัดท้องคุ้งอยู่ห่างมาอีกประมาณ2กิโลเมตร มีบริการรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านหมี่ ผ่านหน้าวัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3664 4139


พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรีบริเวณหัวถนนนารายณ์ มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นรูปปั้นในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไป ทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายออกมาข้างหน้าเล็กน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ที่ฐานอนุสาวรีย์ได้จารึกข้อความว่า “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงพระราชสมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2175 สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2231 พระองค์ทรงมีพระบรมราชกฤษดาภินิหารเป็นอย่างยิ่ง”
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ปราสาททององค์สุดท้าย ในรัชสมัยของพระองค์วรรณคดีและศิลปะของไทยได้เจริญถึงขีดสูงสุด มีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง เกียรติคุณของประเทศไทยแผ่ไพศาลเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสร้าง และประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ไว้ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509

พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร)
พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร) ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร ห่างจาก ตัวเมืองประมาณ 4 กม. พระที่นั่งแห่งนี้เป็นที่ประทับในฤดูร้อน ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชณ เมืองลพบุรี องค์พระที่นั่งตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลชุบศร มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ ลักษณะทาง สถาปัตยกรรม เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน สภาพปัจจุบันคงเหลือกำแพงและผนัง ส่วนทะเลชุบศรในสมัยโบราณนั้น เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอด สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ทำทำนบใหญ่กั้นน้ำไว้ เพื่อชักน้ำจากทะเลชุบศรผ่านท่อน้ำดินเผาไปยังเมืองลพบุรี 
ปัจจุบันยังเห็นเป็นสันดินปรากฏอยู่ พระที่นั่งเย็น เป็นสถานที่มีความสำคัญทางดาราศาสตร์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงใช้เป็นที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2228 และทอดพระเนตร สุริยุปราคา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2231 ร่วมกับคณะทูตและบาทหลวง จากประเทศฝรั่งเศสที่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี 

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมเพื่อเข้าชมโบราณสถานอื่น ได้แก่ โบราณสถานบ้านวิชาเยนทร์ โบราณสถานปรางค์สามยอด  โบราณสถานวัดพระศรีมหาธาตุ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 3779, 0 3641 2510

บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านหลวงวิชาเยนทร์
ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ ห่างจากปรางค์แขกประมาณ 300 เมตร ทางทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สำหรับเป็นที่รับรองราชทูตที่มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2228 ได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ต่อมา Constantine Phaulkon (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งเป็นชาวกรีกได้เข้ามารับราชการได้รับความดี ความชอบ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึง “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” และได้พระราชทานที่พักอาศัยให้ทางทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูต 
อ่างซับเหล็ก
อยู่ในเขตตำบลนิคมสร้างตนเอง ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศตะวันออกประมาณ 16 กิโลเมตร
อ่างซับเหล็กเป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติที่มีมาแต่โบราณ ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงโปรดให้ช่างชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาเลียนเป็นผู้วางท่อส่งน้ำจากอ่างซับ เหล็กนำมาใช้ในเขตพระราชฐาน
อ่างซับเหล็กมีเนื้อที่ประมาณ 1,760 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2497 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้สร้างเขื่อนดินกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 จังหวัดลพบุรีได้ปรับปรุงอ่างซับเหล็กให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยทำถนนรอบอ่างเก็บน้ำ ปลูกต้นไม้และสร้างศาลาพักร้อน

ศาลหลักเมือง หรือ ศาลลูกศร
ตั้งอยู่ถนนสายริมน้ำหลังวัดปืนใหญ่ ใกล้กับบ้านวิชาเยนทร์ ตัวศาลาเป็นตึกเล็กๆ มีเนื้อที่ประมาณ 12 ตารางเมตร มีแท่งหินแท่งหนึ่งโผล่เหนือระดับพื้นดินขึ้นมา สูงประมาณ 1 เมตร เป็นศาลเจ้าหลักเมืองโบราณที่เรียกว่า "ศาลลูกศร" สมเด็จกรมพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับศาลลูกศรไว้ในตำนานเมืองลพบุรี ว่า “หลักเมืองลพบุรี” อยู่ทางตลาดข้างเหนือวัง เรียกกันว่า ศรพระราม จะมีมาแต่ก่อนสมัยขอมฤาเมื่อครั้งขอมทราบไม่ได้แน่ ที่เรียกกันว่า ศรพระรามนั้นเกิดแต่เอาเรื่องรามเกียรติ์สมมติฐานเป็นตำนานของเมืองนี้ คือเมื่อเสด็จศึกทศกัณฑ์พระรามกลับไปครองเมืองอโยธยาแล้ว จะสร้างเมืองประทานตรงนั้น ลูกศรพระรามไปตกบนภูเขาบันดาลให้ยอดเขานั้นราบลง หนุมานตามไปถึงจึงเอาหางกวาดดินเป็นกำแพงเมืองหมายไว้เป็นสำคัญ แล้วพระวิษณุกรรมลงมาสร้างเมือง ครั้นเสร็จแล้วพระรามจึงประทานนามว่า “เมืองลพบุรี” ด้วยเหตุนี้จึงอ้างกันมาก่อนว่า หลักเมืองนั้นคือลูกศรพระรามที่กลายเป็นหิน และเนินดินตามกำแพงเมืองที่ยังปรากฏอยู่เป็นของหนุมานที่เอาหางกวาดทำไว้

หอไตรวัดท่าแค
อยู่ภายในวัดท่าแค เป็นหอไตรที่เก็บพระธรรมของชุมชน “ลาวหล่ม” โดยปกติหอไตร
จะสร้างบนเสาสูงในสระน้ำ แต่หอไตรที่วัดท่าแคนี้ มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น
คือ สร้างเป็นเรือนไม้ทรงจตุรมุข ตั้งอยู่บนเสาสูง หลังคามุงด้วยกระเบื้องว่าว
และมีหลังคารูปหอคอยอยู่กึ่งกลาง เลียนแบบหลังคาทรงปราสาท เครื่องบนและซุ้มระเบียงตกแต่งด้วยแผ่นไม้แกะสลักแบบตะวันตกทำให้ดูอ่อนช้อย
และโปร่งตา ส่วนบานเฟี้ยมที่ใช้กั้นผนังห้องเป็นลายไม้สลักเป็นภาพสัญลักษณ์มงคลของจีน ผนังบางส่วนติดกระจกสีเป็นช่องให้แสงลอดมาได้
การเดินทาง ใช้เส้นทางเลียบคลองชลประทาน (สะพาน 6 – อำเภอบ้านหมี่)
จนถึงสถานีรถไฟท่าแค เลี้ยวขวาข้ามสะพานประมาณ 1 กิโลเมตร วัดท่าแคอย
ู่ทางด้านซ้ายมือ นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – วัดท่าแค
บริการระหว่างเวลา 06.00 – 18.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3642 7094

วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร (วัดเขาพระงาม)
ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธินไป
ประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม วัดเขาพระงามนี้เดิมเป็นวัดร้าง
สร้างมาแต่เมื่อใดไม่มีปรากฏ ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 พระอุมาลีคุณูปมาจารย์
(จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ กับพระสงฆ์อีกรูปได้ธุดงค์
มาพักที่วัดนี้ เห็นว่ามีภูมิประเทศดี จึงได้สร้างพระพุทธรูปที่เขานี้ เป็นพระพุทธรูป
ที่มีหน้าตักกว้าง 11 วา สูงจากหน้าตักถึงยอดพระเศียร 18 วา เส้นพระศกทำด้วย
ไหกระเทียม เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธนฤมิตรมัธยมพุทธกาล
" ครั้นภายหลังซ่อมเมื่อปี พ.ศ.2469 จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "พระพุทธปฏิภาคมัธยม
พุทธกาล" มาจนทุกวันนี้
การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ลพบุรี – โคกสำโรง) ระยะทางประมาณ
12 กิโลเมตร จากศาลากลางจังหวัดลพบุรี เมื่อเดินทางเข้าใกล้บริเวณวัด จะแลเห็นพระพุทธรูปสีขาวเด่นตระหง่านอยู่บนเชิงเขา มีรถโดยสารประจำทาง
สายลพบุรี – เขาพระงาม – ศูนย์การบิน ผ่านหน้าวัด บริการระหว่างเวลา
06.00 – 20.30 น. ต้นทางอยู่ที่วัดพรหมาสตร์

วัดหนองเต่า (วัดพาณิชธรรมมิการาม)

อยู่ที่ตำบลหนองเต่า สิ่งที่น่าสนใจ คือ อุโบสถบนหลังเต่าซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์
ของตำบลหนองเต่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงยก
ช่อฟ้าอุโบสถ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2517 การเดินทาง ห่างจากตัวเมือง
บ้านหมี่ 11 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมถนนสายเลียบคลองชลประทาน


ทุ่งทานตะวัน
จังหวัดลพบุรี มีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ
200,000 – 300,000 ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน
– มกราคม ทานตะวันเป็นพืชทนแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกแทนข้าวโพด
เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการ นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร
หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพส่งเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต
คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง โดยแหล่งที่ปลูกทานตะวัน
จะกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล
พื้นที่ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม
อำเภอเมือง  การเดินทาง จากลพบุรี ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน (ลพบุรี-สระบุรี)
ถึงกิโลเมตรที่ 4 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3017 (ทางไปตำบลโคกตูม)
ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จะถึงทางเข้าวัดเวฬุวัน (ด้านซ้ายมือ) เลี้ยวเข้า
ไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงทุ่งทานตะวัน สำหรับรถโดยสารประจำทาง
มีรถสองแถวลพบุรี – วังม่วง ผ่านทางเข้าวัดเวฬุวัน รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี
ระหว่างเวลา 06.00 – 17.30 น. อกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกทานตะวันกระจัดกระจาย
ไปตามเส้นทางที่จะไปอำเภอพัฒนา นิคม บริเวณช่องสาริกา (เข้าทางวัดมณีศรีโสภณ)
ริมทางหลวงหมายเลข 21 สอบถามบริเวณพื้นที่ปลูกทานตะวันก่อนการเดินทางได้ท
ี่ ททท.ภาคกลาง เขต 7 (ลพบุรี)

วัดนครโกษา

ตั้งอยู่เหนือสถานีรถไฟลพบุรี ใกล้กับศาลพระกาฬ เดิมคงเป็นเทวสถานของขอม
มีพระปรางค์แบบลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 อยู่ด้านหน้าแต่พระพุทธรูปปูน
ปั้นแบบอู่ทอง บนปรางค์นั้นคงสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลัง ได้พบเทวรูปหิน ขนาดใหญ่แบบลพบุรีซึ่งมีร่องรอยดัดแปลงเป็นพระพุทธรูปสององค์ ปัจจุบันนำไป
ไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ เทวสถานแห่งนี้ ภายหลังมีผู้สร้างเป็นวัดขึ้นในสมัยอยุธยาดังจะเห็นได้จากซากวิหารซึ่งเหลือแต่ผนัง
และเสาอยู่ทางด้านหน้าและมีเนิน เจดีย์สูงก่อด้วยอิฐอยู่เบื้องหลัง วัดนี้มีผู้สันนิษฐาน
กันว่า ต่อมาเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็น
ผู้บูรณะจึงเรียกชื่อว่า


วัดมณีชลขัณฑ์
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตลาดท่าโพธิ์ วัดนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนเพราะมีถนนตัดผ่าตรงกลางพอดี มีโบราณสถานที่น่าสนใจ คือ พระเจดีย์รูปทรงแปลก คือก่อเป็นเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป คล้ายกับเจดีย์เหลี่ยมสมัยเชียงแสน (ล้านนา) แต่ตรงมุมมีการย่อมุมไม้สิบสอง ทำเป็นสามชั้น มีซุ้มประตูยอดแหลมอยู่ด้านข้างทั้งสี่ด้านทุกชั้น นอกจากนี้ภายในวัดยังมีต้นโพธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเพาะเมล็ดนำมาปลูกไว้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 1583

วัดยาง ณ รังสี และพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน
ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลตะลุง ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีด้านตะวันตก เดิมเรียกว่า วัดพญายาง เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีต้นยางยักษ์ต้นหนึ่งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ท่าม กลางดงต้นยาง เดิมชื่อวัดยางศรีสุธรรมาราม แล้วเปลี่ยนเป็นวัดยาง ณ รังสี จนถึงปัจจุบัน
ส่วนพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญไม้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี ศาลาหลังนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. 2536 ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศาลาวัดในชนบทภาคกลางในประเทศไทย ทั้งนี้ผู้สร้างจำลองแบบมาจากภาพศาลาที่อยู่ด้านหลังธนบัตรใบละ 1 บาท ที่พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 8 ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยาก ต่อมาได้มีการบูรณะซ่อมแซมแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 โครงการพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านจึงได้เกิดขึ้น และนับเป็นพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านแห่งแรกของประเทศไทย

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายลพบุรี – บางปะหัน (ถนนเลียบคลองชลประทาน) จนถึง กม.ที่ 9 วัดจะอยู่ด้านขวามือ มีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านแพรก ออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา 05.30 – 17.30 น.

สวนสัตว์ลพบุรี
ตั้งอยู่หลัง "โรงภาพยนตร์ทหารบก" สร้างเมื่อปี พ.ศ.2483 สมัยจอมพล ป. พิบูล-สงคราม มีบริเวณร่มรื่นกว้างขวาง มีสัตว์ต่าง ๆ มากมาย เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ 
เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.30 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 10.- บาท เด็ก 5.- บาท โทร. (036) 413551

วัดเสาธงทอง
ตั้งอยู่บนถนนฝรั่งเศสซึ่งตัดเชื่อมระหว่างพระราชวัง นารายณ์ฯ กับบ้านหลวงรับราชทูต เป็นวัดเก่าแก่ เดิมแยกเป็น 2 วัด คือ วัดรวก และวัดเสาธงทอง พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้รายงานกราบทูลเสนอความเห็นต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลอยุธยาว่า วัดรวกมีโบสถ์ วัดเสาธงมีวิหาร สมควรจะรวมเป็นวัดเดียวกัน ทรงดำริเห็นชอบให้รวมกัน และให้เรียกชื่อว่า วัดเสาธงทอง

วัดนี้มีโบราณสถานที่ควรชม คือ พระวิหารซึ่งแต่เดิมคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาอื่น เพราะจากแผนที่ของช่างชาวฝรั่งเศสทำไว้ ระบุว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่พำนักของชาวเปอร์เซีย พระวิหารหลังนี้อาจเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลามของชาวเปอร์เซียก็เป็น ได้ นอกจากนั้นก็มีตึกปิจู ตึกคชสาร หรือตึกโคระส่าน เป็นตึกเก่าสันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พำนักของแขกเมืองและราชทูตชาวเปอร์เซีย

วัดกวิศรารามราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่บนถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน ติดกับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ทางด้านทิศใต้ จากตำนานกล่าวกันว่า เดิมชื่อ วัดขวิด และในประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์ กล่าวว่า สมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดพระราชทานนามให้เรียกว่า "วัดกระวิศราราม" ต่อมาได้รับปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ 5 และในปี พ.ศ.2481 พระกิตติญาณมุนี เจ้าอาวาสในขณะนั้น ได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดกวิศราราม" อันมีความหมายว่า วัดของพระเจ้าแผ่นดิน กล่าวกันว่าเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยนั้น ภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีประตูทางเข้าออกทางเดียวกัน หน้าต่างเจาะช่อง ศิลปแบบอยุธยา มีมุขเด็จอยู่ด้านหน้า ที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ต่อออกมาและขยายพัทธสีมาให้ใหญ่กว่าเดิม พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะอู่ทอง จิตรกรรมฝาผนังเป็นลายรูปดอกไม้ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงกลมบนฐานเหลี่ยมองค์ใหญ่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ และหมู่กุฏิซึ่งเป็นตึกในสมัยรัชกาลที่ 4 ตลอดจนหอพระไตรปิฎกที่สวยงามอยู่ภายในวัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3661 8593

วัดสันเปาโล

ตั้งอยู่บนถนนร่วมมิตร ทางเข้าวิทยาลัยนาฏศิลป์ลพบุรี เป็นวัดของพวกบาทหลวงเยซูอิต สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ปัจจุบันคงเหลือเพียงผนังด้านหนึ่งและหอดูดาว บริเวณโดยรอบมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น คำว่า “สันเปาโล” คงเพี้ยนมาจากคำว่าเซ็นตปอลหรือเซ็นตเปาโล ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “ตึกสันเปาหล่อ”

 


เทวสถานปรางค์แขก
อยู่ใกล้กับนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของลพบุรี เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐมีสามองค์ แต่ไม่มีฉนวนเชื่อมต่อกันเหมือนปรางค์สามยอด นักโบราณคดีกำหนดว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 เพราะมีลักษณะคล้ายกับปรางค์ ศิลปะเขมรแบบพะโค (พ.ศ. 1425-1536) เป็นปรางค์แบบเก่า ซึ่งมีประตูทางเข้าแบบโค้งแหลม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้สร้างวิหารขึ้นด้านหลัง และถังเก็บน้ำซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปรางค์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างวิหารขึ้นด้านหน้า และถังเก็บน้ำประปาทางด้านทิศใต้ของเทวสถาน

วัดตองปุ
อยู่หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ตำบลทะเลชุบศร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง ในอดีตเคยเป็นที่ชุมนุมกองทัพไทย ในวัดตองปุนี้มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถทรงไทยที่มีฐานอ่อนโค้ง วิหารมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ หน้าต่างและประตูเป็นช่องโค้งแหลม นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์หลวงพ่อแสงวัดมณีชลขัณฑ์ แต่มีขนาดเล็กกว่า และยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญเหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวในเมืองไทย คือ ที่สรงน้ำพระโบราณ หรือที่เรียกกันว่า น้ำพุสรงน้ำพระ เก็บรักษาไว้ที่วัดแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมี หอไตร คลัง และหอระฆัง ที่ควรชม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 3198

สระแก้ว
ตั้งอยู่กลางวงเวียนศรีสุริโยทัย หรือวงเวียนสระแก้ว ถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี กลางสระมีสิ่งก่อสร้างรูปร่างคล้ายเทียนขนาดยักษ์ ตั้งอยู่บนพานขนาดใหญ่รอบขอบพานประดับเครื่องหมายประจำกระทรวงต่าง ๆ มีสะพานเชื่อมถึงกันโดยรอบทั้ง 4 ทิศ ที่เชิงสะพานมีคชสีห์ในท่านั่งหมอบอยู่สะพานละ 2 ตัว

เมืองโบราณซับจำปา
เมืองโบราณซับจำปา  เป็นที่รู้จักครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ. 2513  โดยคณะสำรวจจากกรมศิลปากร  และหน่วยปราบศัตรูพืช  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ร่วมกันสำรวจบริเวณป่าบ้านซับจำปา  การสำรวจพบเมืองโบราณขนาดใหญ่  ที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ  ต่อมาจึงได้มีนักวิชาการทั้งชาวไทย  และชาวต่างประเทศสนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับเมืองโบราณแห่งนี้เรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน เมืองโบราณซับจำปา  ปรากฏการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น  กำไลหิน  แกนกำไลหิน  กระดูกมนุษย์  และภาชนะดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งมีอายุประมาณ  3,000 – 2,500  ปีมาแล้ว  อีกทั้งโบราณวัตถุประเภทศิลาจารึกประติมากรรมรูปต่าง ๆ  สันนิฐานว่าในราวพุทธศตวรรษที่  12 – 13  ชุมชนโบราณแห่งนี้ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย  เช่น  ศาสนา  ความเชื่อ  อักษร  ภาษา  ศิลปกรรม  และพัฒนาขึ้นเป็นเมือง  พื้นที่บริเวณรอบๆ  มีการขุดคูน้ำเพื่อสร้างคันดินเป็นกำแพงเมืองล้อมรอบชุมชน  และมีกษัตริย์ปกครองเมือง

วัดเชิงท่า
 ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ลพบุรีทางทิศตะวันออก พื้นที่ด้านหน้าติดพระราชวัง "พระนารายณ์ราชนิเวศน์" ด้านทิศตะวันตกที่หันหน้าสู่แม่น้ำลพบุรี เดิมชื่อ วัดท่าเกวียน ด้วยเป็นท่าของเกวียนลำเลียงสินค้าขนส่งมาลงที่ท่าน้ำหน้าวัดแห่งนี้ ภายในวัดเชิงท่ามีอาคารสำคัญสร้าง ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ ได้แก่ พระอุโบสถ พระเจดีย์ประธานของวัด กุฏิสงฆ์แบบตึกสองชั้นทรงเก๋งจีน ศาลาตรีมุข อาคารโวทานธรรมสถาน หอระฆังและศาลาการเปรียญ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าและสวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3661 8388