WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

เดิมชื่อ อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,312.5 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล(ทางหลวงหมายเลข 2034) แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือ นั่งรถจากกรุงเทพฯไปลงที่สถานีขนส่งมุกดาหาร และต่อรถสองแถว (สีเหลือง) ค่าโดยสารประมาณ 5 บาทไปลงที่ตลาดพรเพชร แล้วต่อรถสองแถวสายมุกดาหาร – ดอนตาล ค่าโดยสารประมาณ 10 บาท ลงที่ปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบหรือบอกให้คนขับรถเข้าไปส่งที่ อุทยานฯก็ได้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อ กัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขง ประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานฯประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลกๆ มากมาย


อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว

เป็นอุทยานที่มีพื้นที่อยู่บนแนวรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ประมาณ 321 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 144,375 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2535 เป็นลำดับที่ 75 ของประเทศ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก มีความงามทางธรรมชาติให้สัมผัสหลายแบบ เช่น เดินชมทิวทัศน์บนยอดภูเขา ความมหัศจรรย์ของโขดหิน ชมไม้ดอกบนทุ่งหญ้าช่วงปลายฤดูฝนและชมดอกบัวธรรมชาติบนยอดเขาที่ชาวท้องถิ่น เรียกว่า“ภูเขาแห่งดอกบัว”


แก่งกะเบา
เป็นแก่งหินยาวเหยียดตามลำน้ำโขง บนฝั่งก็ยังมีลานหินกว้างใหญ่เป็นที่พักผ่อนได้อย่างดี ในฤดูแล้งน้ำลดจนเห็นเกาะแก่งกลางน้ำ และหาดทรายสวยกว่าฤดูอื่นๆ บริเวณริมแก่งกระเบามีร้านอาหารตั้งอยู่ อาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของที่นี่ คือ หมูหันซึ่งมีรสชาติอร่อยตามแบบฉบับสูตรเด็ดของท้องถิ่น
การเดินทางใช้เส้นทางมุกดาหาร-ธาตุพนม (ทางหลวงหมายเลข 212) ประมาณ 20 กิโลเมตร แยกขวาไปอำเภอหว้านใหญ่อีก 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกไปแก่งกะเบา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนืออีก 8 กิโลเมตร

ูวัดภูด่านแต้ หรือ วัดพุทธโธธัมมะธะโร

ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 212 ที่บ้านชัยมงคล ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร ตรงหลักกิโลเมตรที่ 134 ด้านขวามือเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีธรรมจักรเปล่งรัศมีอยู่ด้านบนมีความอ่อนช้อยสวยงาม สามารถมองเห็นได้แต่ไกล บริเวณวัดเป็นหินดานธรรมชาติ มีประชาชนจากที่ต่างๆ เข้าไปนมัสการและชมความงามของบริเวณวัดกันอยู่เสมอ

 


หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก
สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่ห้ว ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี หอแก้วมุกดาหารมีลักษณะเป็นหอคอยรูปทรงกระบอก มีความสูง 65.50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตัวแกนหอคอย 6 เมตร ส่วนฐานมีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรงเก้าเหลี่ยมแทนความหมายถึงรัชกาลที่ 9 มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร มีทางเข้าออก 3 ทาง ชั้น 1 จัดแสดงเครื่องมือเครือ่งใช้ในการดำรงชีวิตของชาวมุกดาหาร ชั้น 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติเมืองมุกดาหาร วัตถุโบราณ ภาพถ่ายเก่า ตลอดจนเครื่องแต่งกายชาวไทยพื้นเมืองมุกดาหาร 8 เผ่า ส่วนแกนหอคอยเริ่มตั้งแต่ชั้น 3 ถึงชั้น 6 สูง 50 เมตร ส่วนหอชมวิวและโดม สูง 15 เมตร บนยอดสูงสุดเป็นที่ตั้งของ "ลูกแก้วมุกดาหาร" มีลักษณะกลมสีขาวหมอกมัว ทำจากประเทศเยอรมนี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เมตร การขึ้นไปชมจะมีลิฟต์และบันไดเวียนอำนวยความสะดวก โดยมีชั้นสำหรับชมนิทรรศการและทัศนียภาพรอบด้านในระดับต่างๆรวม 4 ระดับ คือ ชั้นที่ 1,2,6และ7 บนชั้นที่ 6 มีกล้องส่องทางไกลไว้รอบด้านเพื่อชมทิวทัศน์ในระยะไกล นอกจากจะเห็นเมืองมุกดาหารในมุมสูงแล้ว ยังสามารถมองเห็นเมืองคันทะบุลี แขวงสะหวันนะเขด ที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำโขงได้อย่างชัดเจน หอแก้วมุกดาหารเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.ค่าข้าชมคนละ 20 บาท

ู่วัดศรีมงคลใต้

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงในตัวเมืองมุกดาหาร ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าองค์หลวง พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง สร้างขึ้นก่อนตั้งเมืองมุกดาหาร แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด มีขนาดหน้าตักกว้าง 2.20 เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์ถึงยอดพระเมาลี 2 เมตร
ตามตำนานเล่าว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ขณะที่เจ้ากินรีคุมบ่าวไพร่ถากถางอยู่ใกล้ต้นตาลเจ็ดยอด เมื่อครั้งสร้างเมืองใหม่นั้นได้พบพระพุทธรูปสององค์ องค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน องค์เล็กเป็นพระพุทธรูปเหล็กอยู่ใต้ต้นโพธิ์ เจ้ากินรีจึงสร้างวัดขึ้นบริเวณนั้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสององค์ วันหนึ่งเมื่อพระภิกษุประจำวัดเข้าไปสักการะ ปรากฏว่าไม่พบพระพุทธรูปเหล็ก เมื่อค้นดูรอบๆ บริเวณวัด พบว่าพระพุทธรูปเหล็กไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ตามเดิม และจมลงในดินเหลือแต่ยอดพระเมาลีเป็นที่น่าอัศจรรย์ เจ้ากินรีจึงสร้างแท่นสักการะบูชาไว้ ณ ที่นั้น และถวายนามว่า “พระหลุบเหล็ก” ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ในโบสถ์ เรียกนามว่า “พระเจ้าองค์หลวง” เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมุกดาหารนับแต่นั้นมา 


สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2
ตั้งอยู่ที่บ้านสงเปือย ตำบลบางไทรใหญ่ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ 7 กิโลเมตร โดยข้ามไปลงที่ บ้านนาแก เมืองคันทะบูลี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวแขวงสะหวันนะเขตไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 โดยรูปแบบสะพานเป็นสะพานคอนกรีต 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.5 เมตร ความยาวสะพานทั้งสิ้น 2,702 เมตร

น้ำตกตาดโตน
อยู่ห่างจากอำเภอหนองสูงไปทางทิศใต้ และอยู่ห่างจากอำเภอคำชะอีไปทางทิศตะวันตก ตามถนนสาย 2030 ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 67-68 แยกเข้าไปอีกประมาณ 400 เมตร ทางขวามือ ระยะน้ำตกสูง 7 เมตร กว้าง 30 เมตร มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวมุกดาหารและชาวจังหวัดใกล้เคียง

วัดมโนภิรมย์  

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตตำบลชะโนด เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นโดยช่างสถาปัตยกรรมจากนครเวียงจันทน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 เกิดไฟไหม้วัดเสียหายอย่างมากมาย และได้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2454 ที่วัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เช่น วิหาร พระอุโบสถ พระพุทธรูป และซุ้มบันไดโบสถ์ที่เก่าแก่และสวยงาม

 


สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี วัดสองคอน
ตั้งอยู่ที่ บ้านสองคอน ต.ป่งขาม อ.หว้านใหญ่ เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2539 มีหุ่นขี้ผึ้งของนักบุญราศีทั้งเจ็ด ที่อุทิศชีวิตในป่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อพิสูจน์ศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า ทุกๆปี ในวันที่ 22 ตุลาคม จะมีพิธีฉลิมฉลองรำรึกถึงการสถาปนาแต่งตั้ง"บุญราศีมรณสักขี"  และในวันที่ 16 ธันวาคมของทุกปี จะมีพิธีรำลึกบุญราศีสองคอน

วัดสองคอนมีบริเวณกว้างขวางและมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและสักการะทุกวันระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. คริสตชนสามารถร่วมพิธีบูชามิสซาได้ในวันอาทิตย์ เวลา 07.00 น.

การเดินทาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหาร 40 กม. จากมุกดาหารใช้ทางหลวงหมายเลข 212 (มุกดาหาร-นครพนม) ไปทางนครพนมถึงหลัก กม. ที่ 28 แยกขวาที่บ้านสองคอน อำเภอหว้านใหญ่ ตรงไปยังริมแม่น้ำโขง ประมาณ 12 กม. ตัวโบสถ์คริสต์อยู่ริมน้ำ และเป็น Unseen in Thailand II

ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง

ตั้งอยู่บนถนนสำราญชายโขง ริมแม่น้ำโขง ติดกับท่าด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดมุกดาหาร ศาลแห่งนี้เดิมเป็นศาลไม้ไม่ทราบประวัติความเป็นมา ต่อมาได้มีการบูรณะเป็นศาลคอนกรีต ชาวจังหวัดมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่กับศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ชาวจังหวัดมุกดาหารจะจัดให้มีพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองและเจ้าแม่ สองนางพี่น้องพร้อมกัน 

 


วัดภูก้อจ้อหรือวัดบรรพตคีรี

ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา เป็นวัดที่ประดิษฐานรูปเหมือนของหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต เกจิอาจารย์ชื่อดัง ซึ่งได้มรณภาพไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2538 และยังเป็นที่นับถือของชาวจังหวัดมุกดาหาร

 


วัดศรีบุญเรือง (บ้านใต้)

ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญชายโขงในตัวเมืองมุกดาหาร ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธสิงห์สอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์ถึงยอดพระเมาลี 1.20 เมตร ประวัติความเป็นมาของพระพุทธสิงห์สองนั้น มีหลักฐานว่า ในสมัยที่เมืองมุกดาหารยังเป็นเมืองใหม่ เจ้ากินรีได้เดินทางไปนครเวียงจันทน์ เพื่ออัญเชิญพระพุทธสิงห์สองมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถของวัดศรีมงคลใต้ ต่อมาเจ้ากินรีได้สร้างวัดขึ้นใหม่ที่บ้านศรีบุญเรือง จึงได้อัญเชิญย้ายมาประดิษฐานบนแท่นในพระอุโบสถวัดศรีบุญเรือง เพื่อสักการะบูชาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในงานสงกรานต์ของอำเภอเมืองมุกดาหาร ชาวอำเภอเมืองมุกดาหารได้กระทำพิธีอัญเชิญพระพุทธสิงห์สองจากพระอุโบสถวัด ศรีบุญเรืองแห่รอบเมือง แล้วนำไปประดิษฐานบนแท่นที่จัดไว้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สรงน้ำเป็นประจำทุกปี


กลองมโหระทึก

เป็นกลองสัมฤทธิ์หน้าเดียว เส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 90 เซนติเมตร หน้ากลองเป็นรูปตะวันนูน มีแฉก 14 แฉก มีรูปกบติดขอบกลองจำนวน 4 ตัว กลองดังกล่าวเชื่อว่าอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี และเป็นกลองที่พวกข่าและขอมโบราณชอบเก็บสะสมไว้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2481 ที่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำโขงที่น้ำเซาะพังตรงบ้านนาทาม โดยตอนแรกเก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล อำเภอดอนตาล แต่ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อยู่ไม่ไกลจากที่ว่าการอำเภอดอนตาล โดยสร้างเป็นหอกลองเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคง


อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก

ตั้งอยู่บนเส้นทาง 212 (สายมุกดาหาร-เลิงนกทา) ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารประมาณ 23 กิโลเมตร ก่อนถึงทางเข้าภูหมู เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร

 


ตลาดอินโดจีน
แหล่งช้อปปิ้งใจกลางเมืองมุกดาหาร ติดริมแม่น้ำโขง นานาสินค้าราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านหลั่งไหลเข้ามาให้นักท่องเที่ยวได้ เลือกซื้อ มีตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องสำอาง อาหารการกิน ของที่ระลึกต่าง ๆ มากมาย  บรรยากาศของตลาดอินโดจีนจะคึกคักตั้งแต่เช้าจรดเย็นโดยเฉพาะถ้าเป็นวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ผู้คนจะไปจับจ่ายซื้อของกันมากเป็นพิเศษ

ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง

ตั้งอยู่บนถนนสองนางสถิตย์ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ในบริเวณศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองนี้ มีหลักเมืองประดิษฐานอยู่ด้วย ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองนี้ไม่มีผู้ใดทราบความเป็นมาว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองมุกดาหาร แต่เดิมเป็นเพียงศาลไม้ต่อมาได้มีการบูรณะก่อสร้างเป็นศาลคอนกรีต ชาวเมืองมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปกปักรักษาเมืองมุกดาหารให้ร่มเย็นเป็นสุข


อุทยานภูหมู

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตตำบลชะโนด เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นโดยช่างสถาปัตยกรรมจากนครเวียงจันทน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 เกิดไฟไหม้วัดเสียหายอย่างมากมาย และได้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2454 ที่วัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เช่น วิหาร พระอุโบสถ พระพุทธรูป และซุ้มบันไดโบสถ์ที่เก่าแก่และสวยงาม


ห้าแยกชุมชนเวียดนาม

ตั้งอยู่ในตัวเมืองมุกดาหาร เป็นที่ตั้งชุมชนชาวเวียดนาม และเป็นตลาดอาหารเช้าที่ขึ้นชื่อของมุกดาหาร  หากมาเยือนที่นี่ในยามเช้าตรู่จะได้ลิ้มรสอาหารพื้นเมือง อาทิ ข้าวเปียก ก๋วยจั๊บญวน ข้ามต้ม เลือดแปลง หมูยอ ไส้หมูลวกจิ้ม และอื่น ๆ อีกมากมาย


หอยสมัยหิน
มีลักษณะคล้ายหอยสังข์จำนวนมาก ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ 40 ฟุต พบที่โคกหินแดง บ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2034 เลี้ยวซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ 17-18 ปากทางเข้าบ้านนาโพธิ์ จากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณีโดยนำหอยไปวัดความหนาแน่นแล้วทำให้ทราบว่า เปลือกโลกบริเวณนี้มีอายุประมาณ 27 ล้านปี ซึ่งขุดพบเป็นแห่งที่ 3 ของโลก บริเวณที่พบเปลือกหอยนี้ปรากฎว่าเป็นชั้นหินปูนหนาประมาณ 1 ฟุต เหมาะสำหรับผู้สนใจทางด้านธรณีวิทยา

หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ตั้งอยู่ที่บ้านเป้า เป็นหมู่บ้านชาวผู้ไทยที่จัดเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแห่งแรกของ จังหวัดมุกดาหาร มีการจัดนำเที่ยวแบบผสมผสานกันระหว่างการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ มีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในหมู่บ้าน นอกจากนั้น ชาวบ้านยังผลิตสินค้าพื้นเมือง เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย จักสานไม้ไผ่ ไว้จำหน่ายอีกด้วย สอบถามข้อมูลได้ที่กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านภู ตำบลบ้านเป้า คุณสำหรับ งานไว(ประธานกลุ่ม) โทร. 0 9942 4378 หรือ คุณอุไร อาจวิชัย โทร. 0 6089 6190 , 0 4261 9022