ข้อมูลจังหวัดนราธิวาส

ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา
นราทัศน์เพลินตา ปาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน

 แต่เดิม บ้านบางนรา หรือ มะนาลอ เป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางนราใกล้กับทะเล ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) บ้านบางนราถูกจัดอยู่ในเขตปกครองของเมืองสายบุรี ครั้นต่อมาเมื่อปัตตานีได้รับการยกฐานะเป็นมณฑล บ้านบางนราจึงย้ายมาสังกัดเมืองระแงะที่อยู่ในมณฑลปัตตานี กระทั่งปี พ.ศ. 2449 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) บ้านบางนราได้เจริญเป็นชุมชนใหญ่ มีการค้าทั้งทางบกและทะเลคึกคักมาก จึงได้ย้ายที่ว่าการจากเมืองระแงะมาตั้งที่บ้านมะนาลอ และพ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เสด็จพระราชดำเนินมาถึงบางนรา และได้พระราชทานชื่อ “นราธิวาส” แปลว่า “ที่อยู่ของคนดี”

ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในโครงการสาม เหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT Growth Triangle Development Project) มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก ที่ชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์มาเที่ยวพักผ่อนและซื้อสินค้ารวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีการถ่ายเท วัฒนธรรมรวมทั้งสินค้านำเข้า ส่งออกซึ่งกันและกัน
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษายาวีเป็นภาษาพูดและภาษาเขียนที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ภาษายาวีมีต้นกำเนิดจากภาษามาลายูซึ่งเป็นภาษาพูดและนำสระและพยัญชนะจากภาษา อาหรับมาใช้ประกอบกัน


 

 

ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร (ป่าพรุโต๊ะแดง)
ป่าพรุ หรือ peat swamp forest เกิดขึ้นได้อย่างไร ? คำตอบคือ เกิดจากแอ่งน้ำจืดขังติดต่อกันชั่วนาตาปี และมีการสะสมของชั้นดินอินทรียวัตถุ ก็คือซากพืช ซากต้นไม้ ใบไม้ จนย่อยสลายอย่างช้าๆ กลายเป็นดินพีท (peat) หรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำมีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำ ได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีท กับดินตะกอนทะเล สลับชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอน น้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายไปและเกิดป่าชายเลนขึ้นแทนที่
เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงและมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดลง และเกิดป่าพรุขึ้นอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี
ระบบนิเวศน์ในป่าพรุนั้นมีหลากหลาย ทุกชีวิตล้วนเกี่ยวพันต่อเนื่องกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำ ต้นของกันและกันให้ทรงตัวอยู่ได้ ฉะนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย
พันธุ์ไม้ที่พบในป่าพรุมีกว่า 400 ชนิด บางอย่างนำมารับประทานได้ เช่น หลุมพี ซึ่งเป็นไม้ในตระกูลปาล์ม มีลักษณะต้นและใบคล้ายปาล์ม แต่มีหนามแหลมอยู่ตลอดก้าน ผลมีลักษณะคล้ายระกำ แต่จะเล็กกว่า รสชาติออกเปรี้ยว ชาวบ้านนำมาดองและส่งขายฝั่งมาเลเซีย ซึ่งคนมาเลย์จะนิยมมาก ฤดูเก็บจะอยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม ถ้าเป็นช่วงอื่นจะหายากและราคาสูง บางอย่างเป็นพืชพรรณในเขตมาเลเซีย เช่น หมากแดง ซึ่งมีลำต้นสีแดง เป็นปาล์มชั้นดีมีราคา มีผู้นิยมนำไปเพาะเพื่อประดับสวน เพราะความสวยของกาบและใบ ลำต้นมีสีแดงดังชื่อ ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่น่าสนใจ เช่น ปาหนันช้าง พืชในวงศ์กระดังงาที่มีดอกใหญ่และ กล้วยไม้กับพืชเล็กๆ ซึ่งจะต้องสังเกตดีๆ จึงจะได้เห็น
สัตว์ป่าที่พบกว่า 200 ชนิด เช่น ค่าง ชะมด หมูป่า หมีขอ แมวป่าหัวแบน(ซึ่งเป็นสัตว์คุ้มครองที่หายากอีกชนิดหนึ่งของไทย) หนูสิงคโปร์ พบค่อนข้างยากในคาบสมุทรมลายูแต่ชุกชุมมากบนเกาะสิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยพบชุกชุมในป่าพรุโต๊ะแดงนี้เท่านั้น  และหากป่าพรุถูกทำลายหนูเหล่านี้อาจออกไปทำลายผลิตผลของเกษตรกรในพื้นที่โดย รอบได้
พันธุ์ปลาที่พบ ได้แก่ ปลาปากยื่น เป็นปลาชนิดใหม่ของโลกพบที่ป่าพรุสิรินธรนี้เท่านั้น ปลาดุกรำพัน ที่มีรูปร่างคล้ายงูซึ่งอาจพัฒนาเป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เลี้ยงในแหล่งที่มี ปัญหาน้ำเปรี้ยวได้ ปลากะแมะ รูปร่างประหลาดมีหัวแบนๆกว้างๆ และลำตัวค่อยๆยาวเรียวไปจนถึงหาง มีเงี่ยงพิษอยู่ที่ครีบหลัง  ปลาเหล่านี้จะอาศัยป่าพรุเป็นพื้นที่หลบภัยและวางไข่ก่อนที่จะแพร่ลูก หลานออกไปให้ชาวบ้านได้อาศัยเป็นเครื่องยังชีพ
นกที่นี่มีหลายชนิด แต่ที่เด่นๆ ได้แก่ นกกางเขนดงหางแดง มีมากในเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบครั้งแรกที่นี่เมื่อปีพ.ศ. 2530  นกจับแมลงสีฟ้ามาเลเซีย ซึ่งในประเทศไทยจะพบที่ป่าพรุสิรินธรเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และปัจจุบันนกทั้งสองชนิดอยู่ในภาวะล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์
ความน่าสนใจของป่าพรุไม่ใช่เพียงแต่ พรรณไม้แปลกๆ สัตว์ป่าหายาก แต่คนที่ไปเที่ยวโดยเฉพาะเด็กๆจะได้ประสบการณ์ชีวิตกลับไปมากมาย จากธรรมชาติรอบตัวบางทีหากเดินชมธรรมชาติเงียบๆอาจจะได้พบสัตว์ป่ากำลังหา อาหารอยู่ก็เป็นได้  เส้นทางนี้นำเราเข้าไปหาธรรมชาติอย่างใกล้ชิดแต่ก็ไม่ได้นำเราเข้าไปล่วง เกินธรรมชาติมากนัก
หากนำคู่มือดูนก สมุดบันทึก ดินสอสี กล้องส่องตา กล้องถ่ายรูป และยาทากันยุงไปด้วย อาจจะเพลิดเพลินจนใช้เวลาในนี้ได้ทั้งวัน อากาศสดชื่นเย็นสบายในป่าพรุก็ยังทำให้คนที่เข้าไปเยือนรู้สึกสดชื่นประทับ ใจ  แต่ช่วงเวลาที่มาท่องเที่ยวได้สะดวกคือ กุมภาพันธ์-เมษายน เพราะฝนจะตกน้อยที่สุด เนื่องจากป่าพรุมีภูมิอากาศแบบคาบสมุทร ฉะนั้นจึงมีฝนตกชุกตลอดปี  
สิ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังก็คือ ยุงดำ สัตว์กินเลือด พาหะนำโรคเท้าช้าง ซึ่งจะมีอยู่ชุกชุมและออกหาอาหารในช่วงเวลาค่ำ และ ไฟป่า ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสูบบุหรี่ โดยเผลอทิ้งก้นบุหรี่ลงไป เมื่อป่าพรุเกิดไฟป่าแล้วจะดับยากมากกว่าป่าชนิดอื่น เนื่องจากเชื้อเพลิงไม่ได้มีแค่ต้นไม้ในป่า แต่รวมไปถึงซากไม้ และต้นไม้ที่ทับถมกันในชั้นดินพรุ จึงเป็นไฟที่ลุกลามลงไปใต้ดิน ทำให้การควบคุมหรือดับไฟลำบาก ไฟจะคุกรุ่นกินเวลานับเดือนๆ ต้องรอจนกว่าจะมีฝนตกชุก น้ำท่วมผิวดินไฟจึงจะดับสนิท
การเดินทาง 
เดินทางโดยรถไฟ  จากกรุงเทพฯจะค่อนข้างสะดวกกว่า เพราะสถานีปลายทางอยู่ที่อำเภอสุไหงโกลก หากมิได้นำรถมาเองสามารถใช้บริการรถรับจ้างจากตัวเมืองสุไหงโกลกได้โดยสะดวก
ทางรถยนต์  จากอำเภอตากใบใช้เส้นทางตากใบ - สุไหงโกลก (ทางหลวงหมายเลข 4057) ประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีทางแยกเล็กๆ เข้าสู่ถนนชวนะนันท์ เข้าไปประมาณ 3กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก 2 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางเข้าสู่ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเป็นระยะ สอบถามรายละเอียดที่ ตู้ปณ. 37  อำเภอสุไหงโกลก นราธิวาส 96120
 
 
ค้นหา  
จังหวัด
 
 
 
 
     
 

จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ทั้งหมด 4,475.43 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู ทิศเหนือจดจังหวัดปัตตานีและอ่าวไทย ทิศตะวันตกจดจังหวัดยะลา ทิศตะวันออกจดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย และทิศใต้จดรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าและภูเขาประมาณ 2/3 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ติดกับบริเวณอ่าวไทยซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงที่ฝนตกมากที่สุด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมานต่อ

 

แผนที่ จังหวัดนราธิวาส