WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ล่องแก่งลำน้ำว้า 

ที่บ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพางห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 59 กิโลเมตร น้ำว้าเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสไหลตลอดปีมีทัศนียภาพสวยงาม สองฝั่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าไม้ โขดหิน เกาะแก่งที่สวยงามและแก่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือแก่งหลวง มีหาดทรายขาวเหมาะสำหรับตั้งแคมป์มีบริการนั่งช้างชมธรรมชาติ
เส้นทางล่องแก่งลำน้ำว้าเดิมเป็นเส้นทางล่องไม้สัก ที่ถูกลักลอบตัดจากผืนป่าในเขตอำเภอแม่จริมและอำเภอเวียงสา ตลอดลำน้ำว้าไหลผ่านหุบเขา สองฝั่งเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนผ่านแก่งต่าง ๆ กว่า 22 แก่ง ซึ่งมีระดับความยากง่ายอยู่ที่ระดับ 3-5 (ระดับ 3 เป็นระดับปานกลาง ระดับ 4 เป็นระดับยาก ระดับ 5 เป็นระดับยากมาก) แก่งที่ใหญ่ที่สุดและยากที่สุด คือแก่งหลวง บางจุดของลำน้ำเป็นหาดทรายที่สามารถจอดแพเพื่อให้ลงเล่นน้ำ บางแห่งเป็นจุดปางช้างสำหรับขึ้นช้างต่อไปที่บ้านหาดไร่ ช่วงเวลาที่ปริมาณน้ำขึ้นสูงสุดคือ เดือนสิงหาคม และช่วงที่ปริมาณน้ำน้อยที่สุดคือ เดือนเมษายน ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการล่องแก่งน้ำว้า คือระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

เส้นทางล่องน้ำว้ามี 2 เส้นทาง คือ
เส้นทางล่องเรือยาง เริ่มจากบ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม สิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ตำบลส้านนาหนอง อำเภอเวียงสา รวมระยะทาง 19.2 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หากเริ่มลงแพที่หน้าที่ทำการอุทยานฯ จะเหลือระยะทาง 15 กิโลเมตร
เส้นทางล่องแพไม้ไผ่ เริ่มจากบ้านน้ำว้าขึ้นที่บ้านน้ำปุ๊ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
ติดต่อทัวร์ล่องน้ำว้า และนั่งช้างที่บริษัทน่านปางช้าง โทร.0 5478 1316  บริษัท ริเวอร์ราฟท์ โทร. 0 5471 0940 , 0 9835 1506  อินเตอร์ ทัวร์ โทร. 0 5471 0195


อุทยานแห่งชาติดอยภูคา 

ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ป่าต้นน้ำ ป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ประมาณ 1,680 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริม เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร


อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน  อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคา และป่าผาแดง บริเวณท้องที่ต.ดงพญา ต.บ่อเกลือใต้ และต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน มีเนื้อที่ประมาณ 248.6 ตร.กม. หรือประมาณ 155,375 ไร่ มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกหลายแห่ง และมีจุดเด่นที่สวยงาม ที่สำคัญพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็ฯแหล่งต้น

วัดภูมินทร์

เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้า เจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครอง นครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139 มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ“วัดพรหมมินทร์”แต่ตอนหลังชื่อวัดได้ เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์


อุทยานแห่งชาติแม่จริม (ล่องแก่งลำน้ำว้า)

อยู่ ในเขตอำเภอแม่จริม ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 และ 1243 มีพื้นที่ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำที่ไหลไปลงแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสา สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีสัตว์ป่าหลายชนิด


อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

มีพื้นที่ประมาณ 583,750 ไร่ หรือ 934 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดน่าน ได้แก่ เวียงสา นาน้อย และนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่ง ตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ในเขตเทือกเขาประกอบด้วยป่าด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา มีรายงานว่าพบนกยูงในเขตอุทยานฯแห่งนี้ด้วย
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่านพบสัตว์ป่าหายากอยู่หลายชนิด เช่น นกยูง ซึ่งมีอยู่หลายฝูง เสือดาว เสือดำ หมีกวาง หมาป่า และหมาใน มีสัตว์ป่าหลายชนิดที่สำคัญ คือ ช้างป่า, วัวแดง, และกระทิง ซึ่งจะอพยพไปมาระหว่าง เขตติดต่อไทย-ลาว


ต้นดิกเดียม วัดปรางค์

ต้นดิกเดียม ต้นไม้อะไรใครรู้ดูประหลาดผิดธรรมชาติ พันธุ์พฤกษาน่าฉงน แค่เห็นเป็นต้นไม้หันหลังให้แดดหันหน้า เข้าวัดก็แปลกเหลือหลายอยู่แล้ว แต่ใครจะเชื่อว่าต้นไม้ ประหลาดต้นนี้เป็นต้นอารมณ์ขัน ใบไม้จะไหวสั่นทุกครั้ง ที่ถูกคนสัมผัส
วันเวลาที่แนะนำ
ต้นดิกเดียม สามารถไปชมได้ทุกวัน แต่ไม่ควรไปลูบคลำเนื่องจากในประเทศไทยมีอยู่ต้นเดียว เจ้าอาวาสที่วัดท่านจะลูบให้ดู

การเดินทาง
จากจังหวัดน่านเดินทางด้วยทางหลวงหมายเลข 1080 และ 1256 สู่อำเภอปัว ก่อนถึงตัวอำเภอเล็กน้อยมีทางแยกซ้ายเข้าสู่วัดปราง ซึ่งเป็นที่ตั้งของต้นดิกเดียม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 2 โทร. 0-5371-7433,
0-5374-4674-5


วัดพระธาตุเบ็งสกัด

ไปตามเส้นทาง 1256 ทางเข้าตรงข้าม โรงเรียนวรนคร เข้าไปประมาณ 200 เมตร และแยกซ้ายอีก 200 เมตร ตั้งอยู่บริเวณที่สันนิษฐานว่าพระยาภูคาได้สร้างเมืองปัวโบราณหรือเมืองวรน ครเพื่อให้เจ้าขุนฟอง พระราชบุตรธรรมมาปกครอง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ว่าการอำเภอปัว
องค์พระธาตุและพระวิหารสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1826 ภายในองค์พระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาของ ชุมชน วัดตั้งอยู่บนเนินสูงมองเห็นหมู่บ้านอยู่เบื้องล่าง โดยรอบเป็นป่าละเมาะ ด้านหลังเป็นเนินเขา นับเป็นการเลือกสรรชัยภูมิที่ส่งให้วัดดูโดดเด่นเป็นสง่า และจากบนเนินเขา หากมาช่วงฤดูฝนจะมองเห็นนาข้าวเขียวขจีอยู่ที่หมู่บ้านเบื้องล่าง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวิหารเป็นทรงตะคุ่มแบบพื้นบ้านไทลื้อ หรือที่เรียกว่า “ทรงเตี้ยแจ้” พื้นเมือง มีซุ้มประตูเป็นศิลปะล้านช้างบูรณะในสมัยพระยาอนันตยศและโปรดให้นำพระแก้ว ซึ่งมีเกศาเป็นทองคำบรรจุในองค์พระธาตุ องค์พระประธานเป็นศิลปะแบบพื้นบ้านบนฐานชุกชี และด้านหลังองค์พระประธานติดกระจกเงาตามความเชื่อของชาวไทลื้อ บานประตูไม้จำหลักเป็นศิลปะพื้นเมืองน่าน


วัดต้นแหลง 

ตั้งอยู่ในตัวเมืองปัว จากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1080 เมื่อเริ่มเข้าเขตตัวเมืองปัวให้สังเกตธนาคารกสิกรไทย สาขาอำเภอปัว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยก่อนถึงธนาคาร ขับตรงเข้าไปจนถึงวงเวียนให้เลี้ยวขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

สันนิษฐานว่าสร้างประมาณปี พ.ศ. 2127 วิหารทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำ ซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะเดียวกับบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทลื้อแถบสิบสองปันนา ผนังเจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็น ประตูทางเข้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เพื่อให้แสงแรกของวันสาดส่องมาต้ององค์พระประธานและเพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่ เข้ามาในวิหารมุ่งความสนใจไปที่องค์พระประธาน ทั้งยังก่อให้เกิดบรรยากาศสลัวสงบนิ่ง เหมาะกับการน้อมจิตสู่สมาธิ


บ่อเกลือสินเธาว์

พื้นที่บนยอดเขาสูงเสียดเมฆอย่างอำเภอบ่อเกลือ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแหล่งเกลือที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ ส่งเป็นสินค้าออกในภาคเหนือ และแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ชุมชนผลิตไม่ได้ ผ่านกองคาราวานจีนฮ่อจากยูนาน กวางสี และมณฑลอื่นๆ ในจีน โดยใช้เส้นทางผ่านมาทางสิบสองปันนา รัฐฉาน สู่เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เมืองสา (อำเภอเวียงสาในปัจจุบัน) และแพร่ รวมทั้งพ่อค้าไทเขินจากเชียงตุง และพ่อค้าวัวต่างชาวไทลื้อจากอำเภอท่าวังผา ในอดีตท้าวพญาในเค้าสนามหลวงได้รับส่วนแบ่งจากส่วยเกลือ นอกจากค่าธรรมเนียม และค่าปรับอื่นๆ พระยาติโลกราชแห่งเชียงใหม่ยกทัพมาตีน่านก็มุ่งหวังครอบครองบ่อเกลือซึ่งถือ เป็นยุทธปัจจัยสำคัญสมัยนั้น
บ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตร ชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีก ด้วย โดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์อยู่บนภูเขา (บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน)
บ่อเกลือสำคัญในน่านมี 2 แห่ง คือบริเวณต้นน้ำว้า ซึ่งมีบ่อเกลือใหญ่ 2 บ่อ อีกแห่งคือบริเวณต้นน้ำน่าน มีบ่อใหญ่ 5 บ่อและมีบ่อเล็กบ่อน้อยอีกจำนวนมาก ปัจจุบันชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิม จะตักน้ำเกลือจากบ่อส่งผ่านมาตามลำไม้ไผ่สู่บ่อพัก ก่อนจะนำน้ำเกลือมาต้มในกะทะใบบัวขนาดใหญ่เคี่ยวจนน้ำงวดแห้ง ใส่ถุงวางขายกันหน้าบ้าน เกลือเมืองน่านไม่มีไอโอดีนเหมือนเกลือทะเลจึงต้องมีการเติมสารไอโอดีนก่อน ถึงมือผู้บริโภค
บ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตร ชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีก ด้วย โดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์อยู่บนภูเขา (บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน)


เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ  

อยู่ที่ตำบลเชียงของ ห่างจากตัวเมืองน่าน 60 กิโลเมตร จากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข 1083 ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นเสาดินที่มีลักษณะแปลกตาคล้าย “แพะเมืองผี” ที่จังหวัดแพร่ จากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย (late tertian) ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาติ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว เคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่ (ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า


วัดหนองบัว
ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา ไปตามเส้นทาง 1080 เลี้ยวซ้ายที่ กม.40 ข้ามสะพานแล้วเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร วัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่ง นี้สร้างราวพ.ศ. 2405 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4)
ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่ สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็ก อยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนโดย “ทิดบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่างปี พ.ศ. 2395-2434) ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบาง นอกจากนั้นยังมีนายเทพและพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จ และยังมีภาพของเรือกลไฟ และดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยใน
สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่ สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็ก อยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย

วัดพระธาตุแช่แห้ง 

เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระบรมธาตุแช่แห้งสร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 1897
องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง รูปแบบของพระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญ ไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง) ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยว ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน
พระธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ชาวล้านนาเชื่อว่า หากได้เดินทางไป “ชุธาตุ” หรือนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุแช่แห้งได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-18.00 น.

การเดินทาง
วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ด จากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามเส้นทางสายน่าน-แม่จริม หรือทางหลวงหมายเลข 1168 ประมาณ 3 กิโลเมตร


วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร  

ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือ น้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091
ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะ สุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ “ค้ำ” องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย และภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัย อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัยที่วัดราชธานี จังหวัดสุโขทัย พระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมืองน่าน


วัดพญาวัด

ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101 ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่าน มีทางแยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข 1025 เข้าไปประมาณ 300 เมตรแต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมือง จากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี มีลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้น แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืนซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยดังพบที่ สถูปเจดีย์วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัย ยอดซุ้มก่ออิฐวงโค้งเป็นรูปแบบการก่อสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งนคร เชียงใหม่แสดงให้เห็นว่ามีการบูรณะในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสมัยที่อิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ได้เข้ามาแทนที่ศิลปะสุโขทัยแล้วใน พระอุโบสถประดิษฐาน “พระเจ้าฝนแสนห่า” ซึ่งชาวเมืองน่านเคยนำมาแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังมีธรรมาสน์แกะสลัก ฝีมือช่างพื้นเมืองน่านที่เก่าที่สุดเท่าที่เคยพบ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24


วัดสวนตาล

อยู่ที่ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดี เมื่อ พ.ศ.1770 เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ จากภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปเจดีย์วัดสวนตาลก่อนการบูรณะในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (ตรงกับรัชกาลที่ 5) เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์พระเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลศิลปะสมัยสุโขทัยภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปที่ สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1992 เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้ว มีงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และมีการเฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืน


อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร และ พิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง 

สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้พลีชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและวางพวงมาลา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2519 จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลแก่วีรชน สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง หลักกิโลเมตรที่ 84 และ พิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง  จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารให้ศึกษาหาความรู้


หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัวอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา จากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทาง 41 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอท่าวังผามีทางแยกซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทอผ้าพื้นเมืองที่สวยงาม เรียกว่า “ผ้าลายน้ำไหล” ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน นับเป็นหัตถกรรมที่ตกทอดมาหลายยุคหลายสมัย

วัดหนองแดง  

อำเภอเชียงกลาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2330 โดยชาวไทลื้อร่วมกับไทพวน องค์พระประธานสร้างโดยครูบาสิทธิการ พระวิหารบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 และบูรณะต่อมาในปี พ.ศ. 2538 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539
ภายในวัดมีลานกว้างร่มรื่น ช่อฟ้าพระอุโบสถสลักรูปนกหัสดีลิงค์ (ศีรษะเป็นช้าง ตัวเป็นหงส์) ซึ่งชาวไทลื้อเชื่อว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงจากสวรรค์ เชิงชายประดับไม้ฉลุลายน้ำหยาด ซึ่งเป็นลวดลายเฉพาะของชาวไทลื้อ องค์พระประดิษฐานบนฐานชุกชี เรียกว่า "นาคบัลลังก์" จากความเชื่อที่ว่านาคเป็นเครื่องหมายแห่งความสง่างาม ความดี และเป็นอารักษ์แห่งพุทธศาสนา

การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ถึงที่ว่าการอำเภอเชียงกลาง เลยที่ว่าการอำเภอฯไป 2 กิโลเมตรจนถึงสี่แยกรัชดา และเห็นป้อมตำรวจบ้านรัชดาให้เลี้ยวซ้ายไป 1 กิโลเมตร 


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

อยู่ที่ถนนผากอง ตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์ เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น “หอคำ” ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475 ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติน่าน
ลักษณะการจัดพิพิธภัณฑ์จะใช้แสงธรรมชาติเข้าช่วย ตัวอาคารโปร่งมีหน้าต่างโดยรอบ ผู้มาเที่ยวจะรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในบ้านมากกว่าพิพิธภัณฑ์ ทำให้เพลิดเพลินในการเดินชมสิ่งของที่จัดแสดง
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างจัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน รวมทั้งเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด เช่น การสืบชะตา การแข่งเรือ ส่วนชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พบในจังหวัดน่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคเจ้าผู้ครองนครน่าน ชิ้นที่สำคัญ ได้แก่ งาช้างดำ วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่าน เป็นงาช้างข้างซ้าย ยาว 94 เซนติเมตร วัดโดยรอบส่วนที่ใหญ่สุดได้ 47 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 18 กิโลกรัม ได้มาในสมัยพระยาการเมืองเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 5 เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 จากเตาเผาบ่อสวก ตำบลสวก อำเภอเมือง น่าน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ 25 พานพระศรีเครื่องเงินลงยา ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย

พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร 0 5471 0561 , 0 5477 2777 


หอศิลป์ริมน่าน

ก่อตั้งและดำเนินการโดยศิลปินชาวน่าน วินัย ปราบริปู ตั้งอยู่ที่ 122 หมู่ 2 ต.บ่อ ถนนสายน่าน-ท่าวังผา (กม.20) ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดแม่น้ำน่าน ในพื้นที่ประกอบด้วยสตูดิโอ บ้านพักรับรอง และอาคารหอศิลป์ ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น รวมพื้นที่ 13 ไร่ ผู้ก่อตั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมผลงานศิลปะของศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีผล งานการสร้างสรรค์และรูปแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่ยอมรับกัน โดยจัดนิทรรศการประจำปีในรูปแบบกึ่งถาวร ขณะนี้มีผลงานงานจิตรกรรมและประติมากรรมของผู้ก่อตั้ง ประมาณ 200 ชิ้น

เปิดบริการ เวลา 09.00 น.- 17.00 น. ทุกวันพุธ-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดวันจันทร์-อังคาร รายละเอียดสอบถาม โทร.0 5479 8046 (เวลาปกติ), 0 1322 2912


วัดพระธาตุเขาน้อย
องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับวัดพญาวัด ตรงหลักกิโลเมตรที่ 2ร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ.2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกันจากวัดพระธาตุเขาน้อยสามารถมองเห็นทิวทัศน์ โดยรอบของตัวเมืองน่าน ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 

วัดมิ่งเมือง 

ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ลักษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งยู่ในศาลาจตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา


น้ำตกภูฟ้า

เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สูงประมาณ 140 เมตร มีทั้งหมด 12 ชั้น ใช้เวลาไป-กลับ ชมน้ำตก 3 วัน 2 คืน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และลานดูดาวซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ตามถนนสายปัว-บ่อเกลือ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตรในบริเวณพื้นที่กางเต็นท์ทั้ง 2 แห่งนี้ มีห้องน้ำ และห้องสุขาไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว จองบ้านพักที่งานบ้านพักสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ สามารถจองล่วงหน้าได้ 60 วัน ห้องพักราคา 800 บาทต่อคืน โทร. 0 1960 0477, 0 2562 0760, 0 5462 6770

การเดินทาง จากตัวเมืองน่าน ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข1080 (น่าน-ทุ่งช้าง) ระยะทาง 59 กิโลเมตร จากนั้นแยกไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ) อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร
ผู้เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีน้ำเงินสายปัว-บ่อ เกลือ ซึ่งผ่านอุทยานฯ ระหว่างเวลา 07.30-14.00 น. ท่ารถบริเวณสามแยกปัว-บ่อเกลือ


อุทยานแห่งชาตินันทบุรี

ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาว-น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 8.4 องศาเซลเซียส สูงสุด 40.8 องศาเซลเซียส เป็นป่าผสมผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขา มีไม้ประเภท สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯ นี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่ามลาบรี หรือ ผีตองเหลืองสถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ ดอยผาจิ ดอยวาว น้ำตกสันติสุข น้ำตกสองแคว น้ำตกห้วยพริก น้ำตกตาดฟ้าร้อง น้ำตกดอยหมอก และน้ำพุร้อน


หมู่บ้านประมงปากนาย  

ปากนาย เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่าน หลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ หมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ โอบล้อมด้วยทิวเขาเขียวขจี ชาวบ้านปากนายประกอบอาชีพประมง มีแพร้านอาหารให้เลือกชิมปลาจากเขื่อน เช่น ปลากด ปลาบู่ ปลาคัง ปลาแรด ปลาทับทิม เป็นต้น และบางแห่งทำเป็นห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จากบ้านปากนายสามารถเช่าเรือล่องไปตามลำน้ำน่านสู่อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ มีทิวทัศน์เป็นป่าเขาสวยงาม เกาะแก่ง เรือนแพ ชาวประมง ในช่วงนอกฤดูฝน จะมีแพลากไปวัดปากนาย สามารถนั่งรับประทานอาหารบนเรือได้ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และมีแพขานยนต์ข้ามฟากไปยัง อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์


การเดินทาง อยู่ที่ตำบลนาทะนุง ห่างจากตัวจังหวัด 96 กิโลเมตร ใช้เส้นทางน่าน-เวียงสา-นาน้อย จากอำเภอนาน้อย จะมีทางแยกไปถึงอำเภอนาหมื่นราว 20 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1339 จะเป็นทางลาดยางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขาอีกประมาณ 25 กิโลเมตร จึงถึงบ้านปากนาย


ผาชู้ หรือ ผาเชิดชู

ู บริเวณเชิงผาชู้เป็นจุดที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ในช่วงฤดูหนาวจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้ และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า หากจะขึ้นไปชมต้องขึ้นแต่เช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคม จึงต้องเตรียมรองเท้าผ้าใบที่ใส่กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่าย ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ที่ประสงค์จะเดินขึ้นยอดผาชู้ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่ง ชาติศรีน่าน ตู้ ปณ.14 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150
ตามตำนานที่เล่ากันมาเกี่ยวกับผาชู้กล่าวว่า เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรักจึงตัดสินใจฆ่าตัว ตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่าเจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดดหน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กัน และเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดดหน้าผาไปจึงรู้สึกเสียใจและตัดสินใจ กระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไป ด้วยความรักแท้ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา   และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสน ณ จุดที่ตกไปนั้นเอง ( “จ๋วง” เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน “เอื้องผึ้ง” แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาชู้” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  


วนอุทยาน ถ้ำผาตูบ
อยู่ที่ตำบลผาสิงห์ ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร บนเส้นทางหลวงหมายเลข 1080 น่าน-ปัว-ทุ่งช้าง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 9-10 สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาลเส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยาก เช่น ต้นจันทร์ผาและเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณช่วงปลายฝน ทางเดินศึกษาธรรมชาติมีอยู่หลายเส้นทางด้วยกัน คือ จะเริ่มจากเส้นทางเดินเท้าถึงถ้ำบ่อน้ำทิพย์ เส้นทางจากหน้าที่ทำการฯ ถึงจุดชมวิว และเส้นทางเดินรอบที่ทำการสถานที่น่าสนใจในวนอุทยานถ้ำผาตูบ ได้แก่ ถ้ำพระ ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ถ้ำขอน และถ้ำเจดีย์แก้ว

ถ้ำผาฆ้อง  

ต้องเดินเท้าผ่านป่าร่มรื่นเข้าไปประมาณ 3.5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ในถ้ำมีคูหาซึ่งมีหินงอกหินย้อย มีทางน้ำไหลผ่าน พื้นถ้ำเป็นดินเหนียวลื่นมาก ไม่ควรเข้าชมในช่วงฤดูฝนเพราะอาจมีน้ำท่วมในถ้ำ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 สู่อำเภอปัวประมาณกิโลเมตรที่ 18 มีทางแยกสู่โรงเรียนนาสวรรค์ บ้านป่าไร่ ต้องจอดรถไว้ที่โรงเรียนแล้วเดินเท้าไปประมาณ 3.5 กิโลเมตร


ถ้ำผาแดง

อยู่ที่บ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วยในอดีตถ้ำผาแดงเป็นฐานที่ตั้งหลบ ภัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยภายในถ้ำยังปรากฏร่องรอยของที่พัก เตียงนอนของทหาร เตียงนอนคนไข้ บางเตียงยังอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ หลุมที่ฝังซ่อนอาวุธ เศษถาดอาหาร (ถาดหลุม) และเครื่องใช้

การเดินทาง ต้องเดินเท้าประมาณ 3 ชั่วโมง ลัดเลาะเนินเขา ซึ่งจะได้ชมความสวยงามของธรรมชาติ พันธุ์ไม้ และสัตว์ป่าต่างๆ บ้านของชาวเผ่าม้งที่อาศัยอยู่อย่างธรรมชาติกลางหุบเขา 


ัตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น

อยู่บริเวณด่านผ่านแดนบ้านห้วยโก๋น ด่านตรงข้ามคือเมืองน้ำเงิน แขวงไชยะบุรี สาธารณรัประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อยู่ห่างจากเมืองน่าน 138 กิโลเมตร ตลาดจะมีทุกวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่เช้าถึงประมาณใกล้เที่ยง สินค้าที่เข้ามาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นผ้าทอลายน้ำไหล ฝีมือชาวไทลื้อ จากบ้านเมืองเงิน หงสา ของ สปป.ลาว นอกจากนั้น ยังมีสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ของป่า ลูกต๋าว เป็นต้น อนุญาตให้ประชาชนไทย-ลาว เข้าออกด่านนี้ทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น.ศึกษาขั้นตอนการผ่านแดนไทย-ลาว ในรายละเอียด


อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า

เดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3 ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา มีสนามเพลาะ แนวกับระเบิด คลังอาวุธ จุดที่ทหารไทยเสียชีวิตในบริเวณเดียวกับยุทธภูมิยังมี ฐานสู้รบเหล่าผู้กล้า ฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋น เป็นสมรภูมิการสู้รบในอดีต เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2518 ผกค.ได้เข้าโจมตี ทำให้ทหารในสังกัดทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ฐานแห่งนี้ 69 นาย เสียชีวิต 17 นาย ฝ่าย ผกค. บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายทหารสามารถรักษาฐานปฏิบัติการแห่งนี้ไว้ได้ ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของลัทธิการปกครองที่แตก ต่างกัน ภายในฐานยังมีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยวติดต่อได้ที่กองพันทหารราบที่ 15 หรือ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานจู่โจม ค่ายสุริยะพงษ์ โทร. 0 5471 0321, 0 5471 3324


แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก
บริเวณบ้านบ่อสวกนี้ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่ สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่าน มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาเป็นลักษณะเฉพาะของตัว เอง คาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาจากบ้านบ่อสวกคงจะเคยได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ขุดพบตามแหล่งฝังศพของคนในสมัยก่อน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดตาก และกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าการผลิตเครื่องเคลือบที่บ้านบ่อสวกเริ่มขึ้นและพัฒนาในสมัยเจ้า พระยาพลเทพฤาชัย (พ.ศ.2071-2102) ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของเมืองน่าน วิทยาการเตาเผาและเครื่องเคลือบเมืองน่านได้รับจากล้านนา เช่น จากกลุ่มสันกำแพง กลุ่มกาหลง ซึ่งเป็นกลุ่มเตาใกล้นครเชียงใหม่
เตาเผาแห่งนี้ได้รับการสำรวจและศึกษาเบื้องต้น โดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นแหล่งโบราณคดีชุมชนอยู่ที่บ้านบ่อสวกพัฒนา หมู่ 10 ตำบลบ่อสวก ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร  แหล่งที่มีการค้นพบเตาเผาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ในเขตบ้านพักของ จ.ส.ต.มนัส และคุณสุนัน ติคำ บริเวณที่พบเตาอยู่ริมแม่น้ำ ลักษณะของเตาหันหน้าเข้าหาแม่น้ำเพื่อสะดวกในการขนส่ง ภายในเป็นโพรงใหญ่เพื่อให้คนเข้าไปข้างในได้ เตามีความลาดเอียงและมีปล่องระบายอากาศอยู่ด้านบน เตาโบราณจำนวน 2 เตาได้รับการบูรณะ และก่อสร้างอาคารถาวรคลุม ส่วนบริเวณใต้ถุนบ้าน จ่ามนัสจัดเป็นนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุจากแหล่งเตาเผา
การขุดค้นศึกษาแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ในการทำงานวิจัยทาง “โบราณคดีชุมชน” โดยการร่วมมือระหว่างชาวบ้าน องค์กรเอกชน ส่วนราชการในท้องถิ่น และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความงอกงามทางความรู้และความเข้มแข็งของชุมชนไปพร้อมกัน ในอนาคตจะมีการจัดตั้งกองทุนโบราณคดีชุมชนบ้านบ่อสวก และนำเงินจากกองทุนเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน เช่น การฟื้นฟูอาชีพเครื่องปั้นดินเผา การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมู่บ้าน และการอบรมมัคคุเทศก์ชุมชน 

โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง(พมพ.)บ้านมณีพฤกษ์   

เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเกษตร มีโครงการทดลองปลูกผลไม้เมืองหนาวสามารถไปแวะชมได้ นอกจากนั้นยังมีดอกเสี้ยวขาวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ต้นนางพญาเสือโคร่ง บริเวณโครงการเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง และ เผ่าลั๊วะ สิ่งที่น่าสนใจคือโครงการนี้ ตั้งอยู่บนเทือกดอยภูคาจึงพบต้นชมพูภูคาอยู่หลายกลุ่มแต่ต้นที่สมบูรณ์และ นักท่องเที่ยวเข้าไปชมได้อยู่ห่างจากศูนย์ฯ บริการนักท่องเที่ยว 3-4 กิโลเมตร รถเข้าถึงปากทาง จากนั้นต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 30 เมตร


สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์

ภูพยัคฆ์ เดิมชื่อ ภูผายักษ์ บนยอดภูเป็นหินผาสวยงาม มีสภาพเป็นป่าดิบและเป็นดงเสือ
จึงได้ชื่อว่า ภูพยัคฆ์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร เคยเป็นที่ปลูกฝิ่นของราษฎรชาวไทยภูเขา ก่อนปี 2523 เคยเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างทหารไทยกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์  ปัจจุบัน ภูพยัคฆ์ ได้เปลี่ยนจากสมรภูมิรบ แหล่งวางกับดักระเบิดเป็น สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ  พัฒนาให้ราษฎรชายไทยภูเขามีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู พัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่มี
คุณภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างงานสร้างรายได้ให้ราษฎรในพื้นที่เป็นสถานีตัวอย่างในการขยาย ผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชเมืองหนาว การเดินทาง มี 2 เส้นทางคือ เส้นทางแรก จากจังหวัดน่านไปทางอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ถึงภูพยัคฆ์ ระยะทางประมาณ 180 กิโลเมตร เส้นทางที่สอง จากจังหวัดน่าน ไปทางอำเภอบ่อเกลือ ถึงภูพยัคฆ์ระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตร  ภูพยัคฆ์ มีบ้านพักรับรอง พร้อมอุปกรณ์เครื่องนอน สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 2 หลัง สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ 24 คน และมีสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์นอน 2 คน บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 20 หลัง มีอาหารบริการแต่จะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์
โทร. 0 5473 0330,0 5473 0331 และสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ
ภูพยัคฆ์ โทร. 08 5868 8548 (คุณวิทยา ไพศาลศักดิ์) 0 5474 1639, 05471 0054,08 3073 0557


เรือนจำจังหวัดน่าน     

ตั้งอยู่ใจกลางเมืองน่าน มีพื้นที่ 6 ไร่ 3 งาน จุดที่โดดเด่นที่สุดคืออาคารห้องสมุดพร้อมปัญญา ซึ่งเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 อายุกว่า 100 ปี แต่เดิมเป็นโรงนอน มี 12 ห้อง หลังจากย้ายโรงนอนไปอาคารหลังใหม่แล้วก็ได้ปรับปรุงตกแต่งเป็นอาคาร อเนกประสงค์
สำหรับสมาชิก 500 กว่าชีวิตได้ใช้งานอย่างคุ้มค่าและเป็นสัดส่วน ผู้ต้องขังที่นี่สามารถเรียนจนจบปริญญาตรี มีอาจารย์จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนมาสอนทุกวันทั้งวิชาภาษาไทย คอมพิวเตอร์ ดนตรี มีห้องสมุดให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้และสามารถยืมหนังสือไปอ่านได้  ห้องแสดงนิทรรศการจองจำสมัยโบราณ ห้องพระ ห้องทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา งานด้านการฝึกอาชีพก็มีหลากหลาย เช่น การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ตัดผม ทอผ้า ยามว่างสมาชิกสามารถออกกำลังกายที่เวทีมวยสนามตะกร้อ หรือนั่งเล่นใต้ร่มไม้ที่แวดล้อมด้วยไม้ดอกไม้ใบสวยงาม ยามเจ็บป่วยมีสถานพยาบาลบริการ
24 ชั่วโมง ร้านขายของชำขายสินค้าราคาถูกมากๆนอกจากนี้ ยังมีเรือนจำอีกแห่งหนึ่งใน
จังหวัดน่าน อยู่บริเวณเขาน้อย มีพื้นที่ 85 ไร่ ที่นี่ไม่มีปราการกำแพงสูงอย่างเช่นเรือนจำทั่วไป ผู้อยู่ในนี้แต่งกายธรรมดา มีหน้าที่ทำการเกษตร ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เลี้ยงหมูแบบที่เรียกว่า
หมูหลุม วิธีการเลี้ยงหมูแบบนี้จำทำให้ได้เนื้อหมูที่ไม่ค่อยมัน เหมาะสำหรับการเอาไปทำแฮม การผสมพันธุ์หมูป่า การทำปู๋ยหมัก การปลูกผักไฮโดโฟนิกส์ โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ดัดแปลงใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นแทนอุปกรณ์จากต่างประเทศ สามารถลดต้นทุนได้
หลายร้อยเท่า ประหยัดแต่มีคุณภาพทัดเทียมกัน ทำให้ทุกคนมีรายได้เฉลี่ยเดือนละไม่น้อย นอกจากนี้ยังมีการทดลองเลี้ยงปลาดุกในกระบอกไม้ไผ่ ผู้สนใจขออนุญาตเข้าชม
กรุณาติดต่อล่วงหน้า 3 วัน โทร. 0 5471 0275


 


 
 
 
 
แนะนำสถานทีท่องเที่ยว กราบไหว้พระเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต และครอบครัว หรือคนที่เรารัก และยังได้ท่องเที่ยวอีกต่างหาก ซึ่งใช้เวลาภายในวันเดียว ก็สามารถท่องเที่ยวได้ ....
   
1
วัดมิ่งเมือง 
2
วัดพระธาตุแช่แห้ง 
3
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร  
4
วัดพระธาตุเบ็งสกัด
5
วัดต้นแหลง 
6
วัดภูมินทร์
7
วัดพญาวัด
8
วัดพระธาตุเขาน้อย
9
วัดสวนตาล