WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ที่ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี เยื้องศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ 7 งาน 22 ตารางวา แบ่งออกเป็น 3 เขต คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงใหญ

เกาะเกร็ด
เกาะกลางน้ำซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนมอญเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีที่ยังคง รักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้ เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อรักษาประเพณีและการดำรงชีวิตของชุมชน

วัดคงคา
ตั้งอย่ติดกับถนนกาญจนภิเษก ฝั่งขาเข้าพระปิ่น สามารถมองเหงองค์หลงปูทวดแต่ไกล วัดคงคาเป็นวัดที่มีความเก่าแก่มากที่สุดวัดหนึ่งในย่านชานเมืองนนทบุรีกับชานเมืองกรุงเทพ วัดนี้สร้างในสมัยกรุงสุโขทัย หรือประมาณ 700 ปี

วัดราษฎร์ประคองธรรม อ่านต่อ »

พระนอน ที่สวยที่สุด และใหญ่ที่สุด ในจังหวัดนนทบุรี สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2256 เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดค้างคาว และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2505 ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยว ชอบมาทำบุญและกราบไหว้ พรนอน และหลวงพ่อโตซำป่ากง ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบส ซึ่งมีความเก่าแก่ และศักสิทธิ์มาก เป็นที่นับถือของชาวบ้านละแวกนั้น

วัดสะพานสูง
ตั้งอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด มีชื่อเดิมว่า “วัดสว่างอารมณ์” สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อ เพราะในคราวที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  วัดบวรนิเวศวิหารเสด็จไปตรวจวัดสว่างอารมณ์ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงในวัด ชาว บ้านแถบนั้นเรียกกันว่า “วัดสะพานสูง” จนติดปาก จึงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดสะพานสูง” มาจนทุกวันนี้  ประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และนักเลงพระเครื่องทั่วประเทศต่างรู้จักวัดนี้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้เพราะพระเครื่อง และตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยมซึ่งเป็นที่เลื่องลือในพุทธานุภาพอย่างยิ่ง ท่านสร้างพระปิดตา และตะกรุดมหาโสฬสมงคลไว้หาชมได้ยากในปัจจุบัน

บ้านครูมนตรี ตราโมทดุริยางค์ศิลปิน
ครูมนตรี ตราโมท ดุริยางคศิลปินแห่งบ้านโสมส่องแสง คีตกวี 5 แผ่นดิน ผู้มีชีวิตอยู่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนกระ ทั่งถึงรัชกาลที่ 9 ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาดุริยางคศิลป์ ดนตรีไทย ประจำปี พ.ศ. 2528 ได้รังสรรค์ผลงานประพันธ์ทำนองเพลงไทยไว้มากกว่า 200 เพลง รวมทั้งบทร้องอีกจำนวนมากโดยภายในบ้านจัดแสดงวิถีชีวิตความเป็๋นอยู่ที่ เรียบง่าย สมถะ แสดงชีวะประวัติของครูมนตรี รวมทั้งผลงานเพลงที่เป็นลายมือต้นฉบับนับตั้งแต่แรกเมื่อมีอายุ 20 ปี ถึงเพลงสุดท้ายเมื่อมีอายุ 91 ปี รวมทั้งจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ตั้งแต่สมัยยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันลูกหลานของท่านยังอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บ้านครูมนตรี ถนนติวานนท์ 3 ซอยพิชยนันท์ 2 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง นนทบุรี โทร . 0 2968 9498 เปิดให้เข้าชมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย และจัดสอนดนตรีไทยทุกวันเสาร์ – อาทิตย์

พระตำหนักประถม นนทบุรี
ที่อยู่ : ตำหนักประถม งามวงศ์วานซอย 2 ถ.งามวงศ์วาน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร.02-261-4777-8, 02-261-6769
เวลาเปิด-ปิด : ต้องทำเรื่องติดต่อขอเข้าชมเป็นหมู่คณะ
เทศกาล : เทศกาลจิบน้ำชา ชมตำหนัก ในเดือนธันวาคมของทุกปี
การเดินทาง : รถประจำทาง: สาย 134 ปอ.134, 177, 528
รถส่วนตัว : จอดรถได้ในซอยบริเวณด้านหน้าตำหนัก
ค่าใช้จ่าย : ช่วงเทศกาลมีการเก็บค่าเข้าชม

วัดเล่งเน่ยยี่2 หรือ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ หรือ วัดมังกร2

วัดบรมราชากาญจนาภิเษก แต่ เดิมเป็นโรงเจเล็กๆ ตั้งอยู่ที่ ตำบลโสนน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมีพื้นที่รอบๆประมาณ 2 ไร่เศษ และโรงเจแห่งนี้นั้น ชาวบ้านแถบบางบัวทองมีความศัทธาและให้การเคารพเป็นอย่างมาก มาเป็นเวลาเนินนานแล้ว ต่อมาทางคณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ มีปณิธานที่จะพัฒนาโรงเจแห่งนี้ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบและเพื่อสร้างให้เป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสเถลิงถวัลย์ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ดังนั้นทางคณะสงฆ์จีนนิกาย จึงได้มอบหมายให้ พระเดชพระคุณพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อม ทั้งพุทธบริษัทไทย-จีน ร่วมกันสร้างถวายเป็นพระราชกุศล โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชานุญาติให้จัดสร้างวัดและทรงพระราชทาน นามว่า " วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ " อันนำมาซึ่งความปีติ ยินดีของชนชาวไทยเชื้อสายจีน และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อคณะสงฆ์จีนมาโดยตลอด

และในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๙ ทางวัดมังกรกมลาวาส ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก


ตลาดน้ำไทรน้อย
อยู่ริมคลองพระพิมลราชา ไทรน้อย, นนทบุรี
เป็นศูนย์รวมของอาหารคาวหวาน ผัก ผลไม้ หลายชนิดที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายริมฝั่งคลอง มีรสชาติอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัยและราคาเป็นกันเอง สามารถเลือกซื้อเลือกหาตามต้องการ นอกจากนี้ชมทัศนียภาพและวิถีชีวิตของชาวนนทบุรี ที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งคลอง ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติและความเป็นไทยอยู่ เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. แต่ประมาณ 3-4 โมงเย็น ตลาดก็เริ่มวายแล้ว
วันอาทิตย์นักท่องเที่ยวจะเยอะมาก หากมากเยอะและเร็ว สินค้าจะหมดเร็ว ตลาดก็จะวายเร็ว
บริเวณตลาดน้ำมีเรือล่องคลองพระพิมลราชาออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.30-16.00 น. นำเที่ยวชมวัดไทรใหญ่และสวนมะพร้าว โดยมีเยาวชนเป็นมัคคุเทศก์

พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยา

เตั้งอยู่ใจกลางเมืองนนทบุรี ติดกับศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยาแห่งแรกของไทย สร้างในสมัยที่นายสะอาด ปายะนันท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2504 แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตพืชและโบราณคดี นับเป็นพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยาขนาดเล็กที่น่าแวะเยี่ยมชม เปิดให้เข้าชมเวลา 08.30-16.00 น. ตั้งแต่วันอังคาร – วันเสาร์


ศาลหลักเมือง นนทบุรี
ศาล หลักเมือง ตั้งอยู่ที่ปากคลองอ้อม ตำบลศรีเมือง  ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2208 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายที่ตั้งเมืองนนทบุรีจากบ้านตลาดขวัญมาอยู่ที่ปากคลองอ้อม  ต่อมาใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ตั้งเมืองนนทบุรีกลับมาตั้งที่บ้านตลาดขวัญดังเดิม  ศาลหลักเมือง ที่ปากคลองอ้อมจึงยังคงอยู่ที่เดิมถึงปัจจุบัน สำหรับศาลหลักเมืองได้จัดตั้งขึ้นอยู่ ณ ศูนย์ราชการ ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก  
อุทยาน เฉลิมกาญจนาภิเษก  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร  มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ กรมธนารักษ์เป็นผู้จัดสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 900 ล้านบาท เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และเพื่อเป็นที่พักผ่อนของประชาชน และเป็นศูนย์รวมพันธุ์ไม้น้ำ ไม้ชายน้ำ พืชสวน และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 05.30-18.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม การเดินทาง
     รถยนต์  เข้าไปตามถนนบางกรวย-ไทรน้อยแล้วเลี้ยวเข้าท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งธนบุรี) จะมีป้ายบอกทางตลอด หากมาจากฝั่งกรุงเทพฯข้ามสะพานพระราม 5 แล้วแยกเข้าถนนบางกรวย–ไทรน้อย หรือข้ามจากสะพานพระนั่งเกล้า ถึงแยกบางพลู เลี้ยวซ้ายผ่านวัดสวนแก้ว ขับไปตามทางมีป้ายบอกทางเช่นกัน  
     เรือ  นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปยังท่าน้ำนนทบุรีแล้วลงเรือหางยาวประจำ เส้นทางไปคลองบางใหญ่ ออกจากท่าน้ำนนทบุรีทุก 20 นาที  ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 นาที
     รถโดยสารประจำทาง   ขึ้นรถโดยสารประจำทาง หรือรถสองแถวจากท่าน้ำนนทบุรี (ฝั่งธนบุรี) สายวัดเฉลิมพระเกียรติ

มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ  
มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ ความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว) ตั้งอยู่เลขที่ 15/1 หมู่ 1 ซอยพระมหาการุณย์
ถนนติวานนท์ ตำบลบ้านใหม่ ปัจจุบันมีสุนัขอยู่ในความดูแล 800 ตัว แมว 150 ตัว ผู้สนใจบริจาคเงินหรือสิ่งของ เช่น หนังสือพิมพ์ ข้าวสาร น้ำยาทำความสะอาด ฯลฯ สามารถร่วมทำบุญกับทางมูลนิธิฯ และทางมูลนิธิยังมีโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการ “ วันละบาท ต่อชีวิตหมา-แมว”, โครงการ “ หนูอยากมีพ่อ-แม่” ทุกปีอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน จะจัดงานประจำปี มีการประมูลของดารา แสดงสุนัขดารา
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่   โทร. 0 2584 4896, 0 2961 5625, 0 2961 3799 โทรสาร 0 2961 5305

ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า)  
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ลักษณะอาคารเป็นแบบโคโลเนียล ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบลานโล่ง มีระเบียงรอบทั้งชั้นบนและชั้นล่าง อาคารนี้เดิมเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนราชวิทยาลัย ซึ่งก่อสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2454 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชกาลที่ 7 ประเทศไทยประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรงเรียนจึงถูกยุบไปรวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง จนกระทั่งพ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีจากท่าเรือตลาดขวัญมาตั้ง ณ อาคารนี้ สมัยนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีคือพระยาศิริชัยบุรินทร์ (เปี่ยม หงสเดช)

เมื่อศาลากลางจังหวัดได้ย้ายไปในปี 2533 อาคารนี้ก็ได้เปลี่ยนการใช้สอยเป็นที่ทำการวิทยาลัยมหาดไทย สถาบันดำรงราชานุภาพ ทางปีกขวาและด้านหลังอาคารเป็นพื้นที่ที่ได้อนุญาตให้โรงเรียนอนุบาลธนบุรีใช้ อาคารนี้ได้รับการบูรณะให้อยู่ในสภาพดี และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 28 เมษายน  2524 ์

คลองขนมหวาน  
เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญและมีชื่อเสียงอยู่ที่บริเวณ 2 ฟากฝั่ง คลองบางบัวทองในท้องที่หมู่ 4 และ 5 ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด ซึ่งมีการทำขนมหวานเป็นอาชีพ หลักมาช้านาน ทำกันเกือบทุกครัวเรือน จนกระทั่งมีการเรียกบริเวณนี้ว่า "คลองขนมหวาน" 

ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด  
ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดกำเนิดในปี พ.ศ.2506 ภายใต้ชื่อศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอดนนทบุรี เพื่อช่วยฝึกผู้พิการตาให้มีอาชีพ ต่อมาปี พ.ศ.2526ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์สมรรถภาพคนตาบอดเพื่อให้สอดคล้องกับ
หลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ ทั้งทางด้านวิชาการและด้านวิชาชีพ
78/2 ถ.ติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
โทร. 0-2583-7327 ,0-2583-2533 แฟ็กซ์ 0-2583-2534

สวนทิพย์  
อยู่ที่ถนนวัดกู้ ห่างจากตลาดปากเกร็ดไม่มากนัก เป็นสวนพันธุ์ไม้วรรคดีหลากหลายชนิด บริเวณร่มรื่น สวยงาม เปิดทุกวันเว้นวัน จันทร์ ตั้งแต่เวลา ๙.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่คนละ ๓๐ บาท เด็กคนละ ๑๕ บาท ค่าเข้าชมนี้ ยกเว้นแก่ผู้มารับประทานอาหาร ติดต่อขอ รายละเอียดที่ โทร. ๕๘๓๔๕๔๐-๒, ๕๘๓๗๔๐๙, ๕๘๓๗๖๙๙

วัดไทรม้าใต้  

สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา และได้รับการก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นวัดที่เจริญมั่นคงในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระประธานในพระอุโบสถปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 60 เซนติเมตร พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร 2 องค์ มีพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวน 14 องค์ อยู่หน้าวิหารพร้อมด้วย "หลวงพ่อใหญ่"   เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 - 17.00 น.จอดรถในบริเวณวัด

 


วัดบางอ้อยช้าง  
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางสิทอง  วัดนี้มีรอยพระพุทธบาท ลักษณะหล่อด้วยทองสำริด ขนาด 54 นิ้ว กว้าง 19 นิ้วครึ่ง เป็นโบราณวัตถุทางศาสนาที่มีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านบางอ้อยช้าง รอยพระพุทธบาทวัดนี้สันนิษฐานว่าพระอธิธรรมทองอยู่ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกท่านได้ธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลกเพื่อไปหาไม้มาสร้างวัดบางอ้อยช้าง และได้ไปพบรอยพระพุทธบาทและพระศรีรัตนศาสดาพร้อมกัน ท่านเห็นว่าโบราณวัตถุทั้ง 2 อย่าง นี้เป็นสิ่งล้ำค่าและสวยงามมาก ทั้งขาดการบำรุงรักษาท่านจึงได้อาราธนาลงแพไม้มาและนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดบางอ้อยช้าง ในปี พ.ศ. 2535 พระมหาวิบูลย์ฉายา ธมมโชโต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้จัดสร้างพระมณฑปเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท โดยมีงบประมาณได้มาจากความร่วมมือทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกาย และกำลังความคิดจากประชาชน เป็นพระมณฑปที่สวยงาม ตกแต่งด้วยศิลปวัฒนธรรมแบบไทยเดิมบรรจงสร้างอย่างวิจิตรบรรจง มีคุณค่าเหมาะสมที่จะเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทอย่างภาคภูมิใจและสม เกียรติ

วัดสังฆทาน  
สันนิษฐานว่าเดิมชื่อ วัดศาริโข สร้างขึ้นในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีหลวงพ่อโต พระพุทธรูป ปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง และที่อื่น ๆ ยังคงมา เคารพสักการะบูชาองค์หลวงพ่อโตมิได้เสื่อมคลาย เพราะถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ด้วยเหตุที่เป็นวัด ร้างไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ชาวบ้านจึงต้องนิมนต์พระจากละแวกใกล้เคียงมาเพื่อถวาย- สังฆทาน จนถูก เรียกขานกันติดปากว่า "วัดสังฆทาน" ซึ่งมีลักษณะแบบสำนักป่ามีธรรมชาติรอบข้าง ร่มรื่น เหมาะแก่ผู้ ประสงค์จะเจริญภาวนาที่มีเวลาจำกัด ทางวัดได้จัดโครงการ "อบรมธรรมปฏิบัติ" ขึ้น เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆทั้งสิ้น ผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่วัดสังฆทาน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 4246157, 4330839 การเดินทาง สามารถไปวัดสังฆทานได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ดังนี้คือ ทางน้ำ โดยเช่าเรือจากท่าน้ำนนท์ข้ามฝากไปท่าน้ำบางศรีเมือง (เรือจะวิ่งตลอดทั้งวัน) ค่าโดยสาร คนละ 1 บาท แล้วนั่งรถสองแถวเข้าไปยังวัดสังฆทาน ใช้เวลาประมาณ 15 นาที(รถสองแถวจะวิ่งบริการตั้ง แต่ เวลา 06.00-20.00 น.) ทางบก วิ่งไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าแล้วตรงไปเลี้ยว แยกซ้ายมือ จะมีป้าย บอกทางเข้าวัดสังฆทานประมาณ 12 กม.

 
วัดชมภูเวก  
ี ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี ๓๓ ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณพ.ศ. ๒๓๐๐ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน ๒ องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
การเดินทาง รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย ๖๙ สอบถามเพิ่มเติมโทร. ๑๘๔ หรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า

วัดโชติการาม  

ตั้งอยู่ที่ตำบลบางไผ่ เดิมชื่อวัดสามจีน สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2350 สิ่งที่น่าสนใจภายใน วัดนี้คือ พระอุโบสถ ฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ด้านหน้ามีภาไล ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลวดลาย ปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยลายคราม และเบญจรงค์ มีวิหารเป็นอาคารทรงโรงขนาด 3 ห้อง ฝาผนังทั้ง 4 ด้าน มีจิตรกรรมตั้งแต่พื้นจรดเพดาน ลายหน้าบัน ประตูเป็นไม้จำหลักรูป เสี้ยวกางสวยงาม มาก ภาพหลังบานประตูเป็นภาพเขียนสีรูปแจกัน ดอกไม้บนพื้นแดง เพดานเป็นลายดอกไม้ แทรกภาพสัตว์ปีก การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับทางไป วัดสังฆทาน โดยมีป้ายชี้บอกตลอดทาง


วัดเชิงเลน

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก หมู่ที่ ๘ ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด นนทบุรี เนื้อที่ ๑๖ ไร่ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้างที่ชัดเจน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นพร้อมกับวัดท้ายอ่าว และวัดเชิงท่า ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก


วัดชลประทานรังสฤษดิ์  
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด ริมถนนสายนนทบุรี- ห้าแยกปากเกร็ด เป็นวัด
ใหม่ที่มีศิลปการสร้าง อย่างงดงาม ภายในวัดมีความกว้างขวางร่มรื่น ภายใต้หมู่ไม้
นานาพันธุ์ที่ปลูกไว้ทั่วบริเวณ จึงเป็นสถานเผยแพร่และเหมาะแก่การศึกษาพระธรรม
อย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังมีลานไผ่เอนกประสงค์ ซึ่งชาวพุทธโดยทั่วไป จะมารวมกันเป็น
จำนวนมาก เพื่อประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา และฟังธรรมจากพระเทพวิสุทธิเมธี
(ปัญญานันทภิกขุ) เจ้าอาวาส ในทุกวันอาทิตย์และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วัดปรมัยยิกาวาส  
ตั้งอยู่ตำบลเกาะเกร็ด เยื้องท่าเรือสุขาภิบาลปากเกร็ดไปทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร
และอยู่ตรงข้ามกับท่าเรือ วัดสนามเหนือเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร
สร้างแบบรามัญ เดิมวัดนี้เป็นวัดเก่าชื่อวัดปากอ่าว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัดและโปรดให้สร้างพระเจดีย์รามัญ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และพระราชทานนามวัดปรมัยยิกาวาส เนื่องจากศิลปการสร้างมีลักษณะแบบมอญ
พระเจดีย์ทุกองค์สร้างแบบมอญ และพระพุทธรูปพระประธานในโบสถ์สลักด้วยหินอ่อน
แบบมอญด้วย จึงเรียกกันว่า "วัดมอญ" ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง
และบานประตูหน้าต่างโบสถ์ประดับลายปูนปั้นสวยงาม

วัดเขมาภิรตาราม  

พระอารามหลวงตั้งอยู่ริมถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา ในวัดมีตำหนักแดงและพระที่นั่งมณเฑียรตั้งอยู่ด้วย

 


วัดไผ่ล้อม  
เป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด มีโบสถ์ที่งดงามมาก
ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์
มีเจดีย์ ขนาดย่อมสององค์ รูปทรงแปลก ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง แต่องค์ระฆังทำเป็น
รูปบาตรคว่ำ มียอดทรงกลม ประดับลายปูนปั้นอย่างสวยงามมาก คนมอญเรียกวัดนี้ว่า
"เพ๊ยะโต้"

วัดโพธิ์บางโอ  
      วัดโพธิ์บางโอ ต้องเดินเข้าไปประมาณ 200 เมตร จากท่าเรือ มีภาพจิตรกรรมแป้งสาคูเปียกฝีมือช่างสกุลนนทบุรี ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมไป แต่กรมศิลปากรกำลังบูรณะอยู่ เป็นวัดเก่าในสมัยอยุธยา และได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยกรมหลวงเสนีบริรักษ์ (ต้นสกุล เสนีวงศ์) พระโอรส ในกรมพระราชวังหลัง โบสถ์มีลักษณะคล้ายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสาย่อมุมไม้สิบสองและเอนเข้าหากัน เพื่อเป็นการรับน้ำหนักของตัวอาคาร หน้าบันเป็นเครื่องไม้จำหลักมีลวดลายจีนแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ใบเสมาเป็นหินทรายมีเจดีย์ทิศล้อมรอบตัวพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน ซุ้มบันแถลงประดับกรอบประตูหน้าต่างทำจากปูนน้ำอ้อย
      การเดินทาง
      - ทางน้ำ ลงเรือจากท่าช้าง สายท่าช้าง-บางกอกน้อย-บางใหญ่ ตั้งแต่เวลา 6.30-23.00 น. ออกทุกครึ่งชั่วโมง (หลัง 11.00 น. มีผู้โดยสารเต็มจึงออก) เวลาที่เหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยว คือ 8.30-15.30 น.
      - ทางบก จากสะพานพระนั่งเกล้าถึงสี่แยกบางบัวทอง เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย 17 กิโลเมตร ผ่านวัดชลอ แยกขวาเข้าที่ว่าการอำเภอ ตรงไป 500 เมตรจะพบวัดโพธิ์บางโอทางขวามือ

วัดอัมพวัน  
วัดอัมพวัน เดิมชื่อ วัดบางม่วง เป็นวัดสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายประมาณรัชกาล
พระเจ้าปราสาททอง ตั้งอยู่ริมคลองแม่น้ำอ้อม ตำบลบางม่วง สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ
หอไตรกลาง-น้ำ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นเรือนไม้ตั้งอยู่ในสระน้ำ
ขนาดเล็ก ตัวหอเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างโล่งไม่มีพื้นและฝา ชั้นบนเป็นตัวหอขนาด 2 ห้อง
ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุน
ตอนบนเป็นซี่ลูกกรงไม้กลึงเสากรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ด ประตูหูข้าง เครื่องลำยอง
เป็นไม้จำหลัก หลังคาซ้อน 2 ชั้น มีปีกนก 1 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชาย
และหน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำ ฝาผนังด้านนอกทาสีลูกฟักด้วยสีแดง ขอบขาว
ตัวไม้เครื่องบันอื่นๆ ทาสีขาว ตัดเหลี่ยมสีแดง เสาลงพื้นสีขาวเขียนลายแดง หน้าบาน
ประตูเข้าในหอไตรเป็นบานไม้ลงรักปิดทองลายพุ่มข้าว-บิณฑ์ และประจำยามก้านแย่ง
อกเลาเป็นไม้จำหลักลายดอกพุดตานลูกฟัก เหนือประตูเป็นภาพนกข้างละตัว
เหนือขึ้นไปเป็นภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในห้องสะกัดท้ายหอไตรเป็นที่เก็บพาน
ตะลุ่ม และ ฐานพระพุทธรูปไม้จำหลักเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีมณฑปพระพุทธบาท ภายในมีพระพุทธบาทจำลองทำด้วยโลหะประดิษฐาน
อยู่บนฐานปูน และศาลาท่าน้ำที่งดงามมาก การเดินทางเข้าถึงวัดอัมพวัน สามารถเดินทาง
ได้ทั้งทางน้ำและทางบก ดังนี้ ทางน้ำ โดยนั่งเรือโดยสารเป็นเรือหางยาว จากท่าเรือบริเวณ
หน้าที่ว่าการอำเภอบางใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ค่าโดยสาร คนละ 5 บาท ทางรถ
โดยใช้เส้นทางถนนวงแหวนรอบนอกบางบัวทอง-ตลิ่งชัน แยกซ้ายมือที่ตำบลบางม่วง

วัดกระโจมทอง  
อยู่ที่ตำบลวัดชลอ ริมคลองบางกรวย วัดกระโจมทองสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 1910 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง) สมัยอยุธยาตอนต้น สิ่งที่น่าสนใจ คือ พระวิหารหลวงพ่ออู่ทอง วัดนี้เป็นวัดที่ร่วมสมัยกับวัดปรางค์หลวงที่อำเภอบางใหญ่ มีตำนานเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเช่นเดียวกันเดิมเคยเป็นที่ตั้ง กระโจมที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ลักษณะพระวิหารหลวงพ่ออู่ทอง คล้ายพระอุโบสถขนาดเล็กบรรจุพระสงฆ์ได้ประมาณ 21 รูป ฝาผนังหนาประมาณ 80 เซนติเมตร สภาพชำรุดเหลือผนังด้านข้างกับด้านหลัง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยอู่ทองยุคต้น จำนวน 3 องค์ พระพุทธรูปองค์กลางมีขนาดใหญ่เรียกว่า หลวงพ่ออู่ทอง คนในชุมชนมีความศรัทธาและมีความผูกพันมาก ได้ร่วมกันสละทรัพย์ที่จะสร้างพระวิหารใหม่ครอบพระวิหารเก่าไว้เป็นมรดก ชุมชนสืบไป แต่ยังมีปัญหากับทางวัดที่มีความคิดเห็นในเรื่องการก่อสร้างไม่ตรงกัน และคนในชุมชนต่างมีความคิดเห็นว่าเศียรของพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ได้ถูกขโมยตัดเศียรไปแล้ว โดยวิธีสับเปลี่ยนนำเศียรใหม่มาต่อไว้แทน (ทำมาจากวัสดุปูนปั้นปลาสเตอร์) เนื่องจากมีพุทธลักษณะเปลี่ยนไปไม่เหมือนกับของเดิมตามที่มีการบันทึกรูปภาพ ไว้

วัดชลอ  
ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดชลอ วัดนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้ทรงเสด็จทางชลมารคมาตามลำน้ำเจ้า พระยาผ่านจังหวัดนนทบุรีเรื่อยมาทางคลอง “ ลัด” ในปัจจุบันเรียกว่า “คลองบางกรวย” พระองค์ทรงเห็นว่า ที่ตรงนี้น่าจะมีการสร้างวัดขึ้นมาสักวัดหนึ่ง แต่เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเคยมีเรือสำเภาจากเมืองจีนล่มและจมลง มีลูกเรือล้มตายมาก มีความเชื่อว่าเป็นที่อาถรรพ์ ในระหว่างการก่อสร้างก็มีอุปสรรคนานัปการ จึงทรงเสี่ยงสัตยาธิษฐานกับเทพยดาและมีพระสุบินนิมิตไปว่า ชายจีนชรามากราบทูลว่า ต้องสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภาเพื่อการแก้เคล็ด จึงทรงสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้ทรงพระราชทานนามวัดดังกล่าวว่า” วัดชลอ” วัดชลอถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาโดยตลอดเพิ่งจะมีพระภิกษุมาจำพรรษาในรัชกาลที่ 3 หรือ รัชกาลที่ 4 สิ่งที่น่าชมในวัดนี้คือ โบสถ์เรือหงส์ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่ม ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2526 โดยหลวงพ่อวัดชลอหรือท่านพระครูนนทปัญญาวิมล ได้เล่าถึงนิมิตรเห็นเรือหงส์ลอยมาอยู่หน้าโบสถ์หลังเก่า (โบสถ์ที่มีลักษณะเหมือนเรือสำเภา) จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้าง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2447 5121, 0 2883 927

วัดปรางค์หลวง  
สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปี พ.ศ.1904 เดิมชื่อ "วัดหลวง" ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า "วัดปรางค์หลวง" อันมีสัญลักษณ์ของพระปรางค์นั่นเอง ปัจจุบันองค์พระปรางค์ซึ่งมีสภาพเก่าแก่ผุพังมาก ฐานเป็นอิฐ ส่วนที่เป็นเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านเป็นพระปูนนูนสูง นักโบราณคดีได้ค้นหาหลักฐานอันเป็นจุดเด่นของโครงสร้าง เป็นฝีมือของช่างในสมัยอยุธยาตอนต้น

วัดต้นเชือก  
ตั้งอยู่เลขที่ 8 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหญ่  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2324 แต่เพิ่งจะมาเจริญรุ่งเรืองประมาณ พ.ศ. 2490 ในตำบลบ้านใหม่มีวัดเพียงหนึ่งวัด แต่มีพุทธศาสนิกชนในตำบลบ้านใหม่และตำบลใกล้เคียงมาทำบุญอยู่เป็นจำนวนมาก มีหลวงพ่อวิหาร พระประธานในวิหาร สร้างในสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านนับถือสักการะกันเป็น ประจำ

วัดเสาธงทอง  

ตั้งอยุ่ที่ตำบลเกาะเกร็ด เป็นวัดโบราณศิลปะสมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดสวนหมาก ที่มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่อยู่หลัง โบสถ์ นับเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเขตอำเภอปากเกร็ด มีเจดีย์องค์เล็กเป็นเจดีย์บริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์ องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลม อีกองค์หนึ่งมีรูปแปลกคือมีฐานเหลี่ยม องค์ระฆังทำเป็นทรงกลมสูง ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมาก เสาเป็นลายทองเขียนลายกรวยเชิงอย่างงาม พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยปูนปั้น ขนาดใหญ่ คนมอญเรียกวัดนี้ว่า "เพ้ยะอาล้าต" ครับ


วัดเสาธงหิน
ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ เดิมชื่อ "วัดสัก" เพราะทั่วบริเวณมีต้นสักและต้นยางมาก ซึ่งตาม ประวัติของวัดได้บันทึกไว้ว่า ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ.2310 เสียกรุงครั้งสุดท้าย สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้มาตั้งทัพเพื่อ เตรียมผู้คนที่วัดสักแห่งนี้สำหรับไปกู้บ้านเมืองที่อยุธยา เนื่องจากเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสม จึงได้นำธงประจำกองทัพ ปักไว้ แล้วเอาหินทับกับ เสาธงไม่ให้ล้ม ให้ทหารมองเห็นธงที่จะยกไป ต่อมาพระองค์ได้โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธรูปเนื้อชินเงิน 3 องค์ คือ พระประธาน 10องค์ พระสาวก 2 องค์ เมื่อเสร็จจากศึกสงครามแล้ว พระองค์พร้อมด้วยผู้รอดชีวิต จากสงครามได้กลับมาช่วยกัน บูรณะวัดสัก และเปลี่ยนชื่อวัดสักเป็น "วัดเสาธงหิน"

วัดกลางเกร็ด  
ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคลองลัดเกร็ด ถ.ภูมิเวทย์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ติดแม่น้ำลัดเกร็ด มีพระอุโบสถขนาดเล็กเก่าแก่มาก (ปกติไม่เปิด) พระประธานปางมารวิชัย และมีพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ยาว ๑๑ วา (๒๒ เมตร) อายุกว่า ๑๐๐ ปีที่มีผู้นับถือจำนวนมาก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๒ พ่อค้าแม่ค้าทางเรือจะเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อโต วัดกลางเกร็ด แวะเวียนมาเพื่อปะพรมน้ำมนต์ให้เกิดสิริมงคลค้าขายรุ่งเรือง ภายในวัดยังมีพระไสยาสน์สักการะด้วย นอกจากนี้บริเวณริมน้ำหน้าวัด เป็นแหล่งที่มีปลาสวายจำนวนมาก มีบรรยากาศร่มรื่น พร้อมภาพชีวิตริมน้ำที่แตกต่างจาก บรรยกาศอันจอแจของแหล่งชุมชน

วัดกู้  
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางพูด ห่างจากอำเภอปากเกร็ดไปทางด้านทิศเหนือ
ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่เรือพระที่นั่งของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระมเหสีในรัชกาลที่ 5 ได้ประสบอุบัติเหตุ เรือล่มสิ้นพระชนม์ วัดนี้สร้างในสมัยพระยาเจ่ง
อพยพครอบครัวมอญเข้ามาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นวัดที่สร้างด้วยศิลปแบบมอญ มีพระตำหนักสร้างเป็นอนุสรณ์สถานที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์เพราะเรือล่ม แล้วอัญเชิญพระศพมาไว้ที่วัดนี้ชั่วคราว
มีพระพุทธไสยาสน์ที่เป็นพระนอน ขนาดใหญ่ ความยาว 21 วา 2 ศอก มีศาลพระนางเรือล่ม
(พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์) ซึ่งจำลองแบบจากศาลาจตุรมุขของพระราชวังบางปะอิน
มีพระบรมรูปเท่าพระองค์จริงประทับยืน นอกจากนั้นยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบมอญ เป็นภาพเขียนสีน้ำมันอยู่ด้านในของพระอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเขียนเคียงคู่กับพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ
และที่ด้านหลังของพระนอนองค์ใหญ่นี้ เป็นที่เก็บเรือพระที่นั่งของพระนางเจ้าสุนันทา
กุมารีรัตน์ที่อัปปาง ซึ่งชาวบ้านได้กู้เรือมาเก็บไว้ที่วัดกู้แห่งนี้ การเดินทางสามารถเดินทางโดยรถยนต์ จากท่าน้ำอำเภอปากเกร็ดเลี้ยวซ้ายซอยวัดกู้มาตามถนนสุขาประชาสรรค์ ผ่านวัดบางพูดนอก สวนทิพย์ ห้องอาหารศรีไทยเดิม
รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร จะเห็นวัดกู้อยู่ด้านซ้ายมือ และจะเช่าเรือจากท่าน้ำ
อำเภอปากเกร็ดแล่นมาทางเหนือใช้เวลาประมาณ 10 นาที จะเห็นท่าน้ำวัดกู้อยู่ทางขวามือ

วัดโบสถ์บน
 
วัด โบสถ์บน ตั้งอยู่เลขที่ 42 คลองบางกอกน้อย หมู่ที่ 4 ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ อุโบสถกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อกว่า 200 ปีมาแล้ว ลักษณะทรงไทยฐานเป็นแบบเรือสำเภา กุฎีสงฆ์ จำนวน 15 หลัง เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ หอสวดมนต์สร้าง พ.ศ. 2520

วัดสวนแก้ว  
หมู่ 1 ตำบลบางเลน เป็นสถานที่เผยแพร่ธรรมโดยพระพิศาลธรรมพาที(พระพยอม กัลยาโณ) เป็นพระนักพัฒนา ท่านได้ริเริ่มโครงการต่างๆของมูลนิธิสวนแก้วเพื่อพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคมจนประสบความสำเร็จ เช่น โครงการร่มโพธิ์แก้ว โครงการที่พักคนชรา โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้ โครงการสวนแก้วเนอร์สเซอรี่และอีกหลายโครงการ
โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้จำหน่ายสินค้าที่มีผู้นำ มาบริจาคให้และซ่อมแซม เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 10.00-16.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์เปิดเวลา 09.00-16.30 น.  วันพุธปิด โทร. 0 2595 1945-7, 0 2595 1444 โทรสาร 0 2595 1222 รับบริจาค โทร. 0 2921 5602-4 การเดินทาง 
จากสะพานพระนั่งเกล้า ตรงไปสี่แยกไฟแดงที่ 2 เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ประมาณ 2 กิโลเมตรจะถึงวัด หรือจากท่าน้ำนนทบุรี  ข้ามไปฝั่งท่าน้ำบางศรีเมือง แล้วต่อรถสองแถวไปถึงวัดสวนแก้ว ค่าโดยสารคนละ 5 บาท

วัดแสงสิริธรรม  

วัดแสงสิริธรรม เป็นวัดเก่า ที่เริ่มสร้างหลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง ๒ ปี ภายในพระอุโบสถเก่า เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธศรีโรจนชัย หรือที่ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย กับ หลวงพ่อดำ พระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา สำหรับ หลวงพ่อดำ องค์นี้ เคยถูกขโมยอุ้มหามไปถึง ๓ ครั้ง แต่ก็มีอันเป็นไปเกิดขึ้นแก่หัวขโมย จนทำให้สามารถอัญเชิญกลับคืนมาได้ทั้ง ๓ ครั้ง โดยรอบพระอุโบสถเก่า เป็นที่แสดงเรือเก่าหลายๆ ลำ อันสะท้อนถึงวิถีชีวิตดั้งเดิม แบบชาวบ้านภาคกลาง หลายๆ รูปแบบอาชีพ มีเรือที่ขุดจากไม้ตะเคียนทั้งต้นอยู่ ๒ ลำ ลำใหญ่ กว้างประมาณ ๒.๕ เมตร อายุกว่า ๑๐๐ ปี


วัดพระนอน  
ตั้งอยู่เลขที่ ๙ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางแม่นาง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๘ ชาวบ้านถือเอาเหตุผลที่วัดนี้มีพระนอนที่ศักดิ์สิทธิ์มาแต่เดิมจึงได้ขนาน นามว่า “วัดพระนอน” มาจนทุกวันนี้ ในปีที่อำเภอบางใหญ่ประสบอุทกภัยบริเวณอนุสรณ์และสถานที่โดยรอบบริเวณวัดจะ ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม แต่เป็นที่น่าสังเกตและมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่บริเวณอุโบสถของวัดพระนอนแห่ง นี้ น้ำไม่ไหลท่วมสู่บริเวณอุโบสถแม้แต่ปีที่น้ำท่วมสูงสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕

วัดส้มเกลี้ยง  
สร้าง พ.ศ.2223 สมัยกรุงศรีอยุธยา อุโบสถอยู่ด้านทิศตะวันออกสร้างเมื่อ พ.ศ.2500 และใกล้อุโบสถมีวิหารหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยปูนปั้นปิดทอง ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อสามองค์ เป็นเจดีย์สีทองที่ถูกสร้างขึ้นติดกัน 3 เจดีย์ ได้แก่ เจดีย์ของพระอธิการดี พระอุปัชฌาย์สงฆ์ และอธิการโป๊ะ เป็นเจ้าอาวาสและได้บรรจุอัฐิไว้ ศาลาการเปรียญเป็นศาลาชั้นเดียวยกขึ้นสูงทำด้วยไม้ทั้งหลังสร้างขึ้นพ. ศ.2491 หอสวดมนต์เป็นหอเก่าแก่สร้างขึ้น พ.ศ.2477 เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ทรงปั้นหยา

วัดใหญ่สว่างอารมณ์  
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗ บ้านคลองบางน้อย ม.๖ ต.อ้อมเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๑๙๖๓ สมัยสุโขทัยตอนปลาย (มีชุมชนเกิดขึ้นก่อนแล้ว) เดิมชื่อ “วัดน้อย” ตามชื่อคลองข้างวัด ตอนหลังย้ายข้ามคลองเลยเปลี่ยนชื่อว่า “วัดใหญ่ยิ่ง” ต่อมาร้างจน พ.ศ.๒๔๖๓ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมารักษาพระอาการประชวร ทอดพระเนตรบริเวณวัดร้างแห่งนี้รู้สึกพอพระทัย ทรงให้กรมการเมืองนนทบุรี สร้างพระตำหนักชั่วคราว เสด็จประทับอยู่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 ประมาณ ๔๗ วัน สันนิษฐานว่าพระองค์ทรงญาณชั้นสูง จึงได้ประทานนามวัดใหม่ว่า “วัดใหญ่สว่างอารมณ์” และให้หลวงปู่กุหลาบมาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรงของวัดใหญ่สว่างอารมณ์ มีบริเวณกว้างขวางเหมาะสำหรับใช้เป็นสถานที่พักผ่อนของตำบลอ้อมเกร็ดและตำบล ใกล้เคียง มีพระพุทธรูปที่เป็นที่นับถือของประชาชนชาวตำบลอ้อมเกร็ดและใกล้เคียง

 
วัดสนามเหนือ  
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔ บ้านคลองลัดเกร็ด ถ.สุขาสงเคราะห์ ม.๓ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี

 
วัดรวก  
ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

 
วัดตึก  
เดิมชื่อ "วัดตึกใหม่" ต่อมาขาดผู้ทำนุบำรุงทำให้วัดทรุดโทรมและกลายเป็นวัดร้างไปในที่สุด ต่อมาพระอาจารย์เปี่ยม บูรณะพัฒนาวัดจนกลับกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีก วัดตึกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ อุโบสถบูรณะ พ.ศ. 2459 ลักษณะสร้างด้วยอิฐถือปูน มีสภาพชำรุด หน้าบันประดับด้วยถ้วยชามเครื่องเบญจรงค์ กุฎิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ หน้าตักกว้าง 2 เมตร ปางมารวิชัย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดทุกวัน เวลา 06.30-1700 น. โทร. 447-2341

 
วัดแก้วฟ้าจุฬามณี
ตั้งอยู่เลขที่ 9 ถนนทหาร หมู่ที่ 14 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่  13 ไร่ 32 ตารางวา ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้ อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์จำนวน 14 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 2 ชั้น กว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร จำนวน 10 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น 2 หลัง อาคารไม้ 2 ชั้น 2 หลัง ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอระฆัง
ฌาปนสถาน สุสาน

 
วัดไทรใหญ่
 
ข้างสำนักเทศบาลตำบลไทรน้อย) ไปตามสาย 3215 กิโลเมตรที่ 33-34 ตั้งอยู่เลขที่ 65 บ้านไทรใหญ่ ถนนไทรน้อย-ต้นเชือก วัดไทรใหญ่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2410 เดิมชื่อวัดมหานิโครธาราม ซึ่งแปลว่า “ไทร” ต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น “วัดไทรใหญ่” เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อทองคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สมัยอู่ทอง ฝีมือช่างหลวง ปางมารวิชัยหล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้าง 1.69 เมตร นอกจากนี้ยังมีพระมหากัจจายะนะ แม่โพสพ และรูปหล่อของพระครูนนททิวาการ(ทิพย์) อดีตเจ้าอาวาส ฝาผนังมีจิตรกรรมเรื่องพระเจ้าสิบชาติ

 
วัดเสนียวงษ์  
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองเพรางาม เป็นวัดที่ร่มรื่นไปด้วยหมู่แมกไม้ยืนต้นและสัตว์น้ำ แบบการ
สร้างวัดผสมผสานระหว่างไทย-มอญ-จีน ที่แปลกหาชมได้ยาก ชมอุทยานมหาชาติ(พระ
เวสสันดร) 15 กัณฑ์ และขอพรจากเจดีย์ ทรงรามัญมีชื่อว่า “เจดีย์สมปรารถนา” ซึ่งบรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า 

 
วัดยุคันธราวาส  
ตั้งอยู่เลขที่ 22 หมู่ที่ 7 บ้านสวนเจ้า ตำบลบางเลน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2410 โดยสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสเทว) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 ) ได้โปรดสร้างวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามขึ้นที่กรุงเทพมหานครและเนื่องจาก มีวัสดุสัมภาระต่าง ๆ ที่เหลือจากการก่อสร้างจำนวนหนึ่งจึงได้นำมาสร้างวัดยุคันธราวาส  เดิมชื่อ “วัดยุคนธร”  ภายในวัดมี “พระแท่นที่ประทับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

 
วัดท่าบันเทิง  
ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลบางใหญ่  สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2386 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สร้างอยู่ในราชสกุล "ปราโมช" ชื่อคอยท่าจึงมีชื่อว่า วัดท่า ในสมัยนั้น ได้รับการทำนุบำรุงบูรณะพัฒนาให้เจริญขึ้นมาตามลำดับเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา จึงได้เพิ่มเติมนามวัดเป็น “วัดท่าบันเทิงธรรม” มีปูชนียวัตถุ คือ รอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสมโภชน์และพระปิดทองเป็นงานประจำทุกปี

 
วัดเพลง  
 

เป็นวัดร้างตั้งอยู่ตำบลบางขนุน ริมคลองวัดสักใหญ่ สามารถเข้าทางวัดสักใหญ่ สันนิษฐานตามลักษณะสถาปัตยกรรมและลายปูนบนพื้นที่เหลืออยู่ว่า สร้างขึ้นในสมัยพระนารายณ์มหาราชและอาจมีสภาพเป็นวัดร้างมาตั้งแต่สมัย สงครามระหว่างไทยกับพม่าเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 โดยทัพพม่าจากทางใต้มีมังมหานรธา เป็นแม่ทัพนำทัพผ่านเมืองนนทบุร


ศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ  
ตั้งอยู่ที่ด้านซ้ายของวัดปรมัยยิกาวาส ห่างจากวัดประมาณ 100 เมตร เป็นสถานที่แสดงภาชนะ เครื่องปั้นดินเผาแบบรามัญ รูปทรงต่าง ๆ ฝีมือปราณีตสวยงาม เช่น หม้อน้ำ นอกจากนี้ยังมีการแสดงวิธีการปั้นและจำหน่ายสินค้าเครื่องปั้นดินเผาด้วย เปิดให้ ชมทุกวันครับ

ทองหล่อออคิด  
ตั้งอยู่ที่ 77/3 ถ.แจ้งวัฒนะ 45 อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ศูนย์รวมพันธ์ไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งในและต่างประเทศที่จัดวางไว้ได้อย่างใกล้เคียงธรรมชาติ โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่นี่ได้ชื่อว่า เป็นแหล่ง เพาะผสม เพื่อให้ได้กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ ๆ? เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งจะเห็นได้จากรางวัลจากการประกวดกล้วยไม้ประดับนานาชาติ สนใจติดต่อ (02)5734648, 5739645 ์

ถนนสายดอกไม้  
อำเภอบางใหญ่ มีการส่งเสริมการปลูกดอกไม้ประดับจนทำให้ถนนกาญจนาภิเษกที่อยู่ในพื้นที่ อำเภอบางใหญ่ได้ชื่อว่าเป็น “ถนนสายดอกไม้” เนื่องจากทั้งสองข้างทางมีเหล่าพืชพันธุ์ไม้นานาชนิด สะพรั่งด้วยสีสันเสมือนหนึ่งเชิญชวนผู้พบเห็นได้แวะชื่นชมและเลือกซื้อ ในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม – มกราคม ของทุกปี อำเภอบางใหญ่ได้จัดงาน “อเมซิ่งบางใหญ่ ถนนสายดอกไม้” ณ บริเวณห้างสรรพสินค้าใกล้ ๆ ที่ว่าการอำเภอบางใหญ่เพื่อให้เกษตรกรนำไม้ดอกประดับมาจำหน่ายโดยตรงในราคา ถูกพิเศษ ให้ผู้ที่สนใจเลือกซื้อเพื่อไปมอบให้ญาติมิตรในเทศกาลปีใหม่หรือในโอกาส สำคัญอื่น ๆ ”์

ศูนย์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาหมู่ 1  
ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เป็นศูนย์การเรียนรู้ ส่งเสริมด้านการตลาด พัฒนาคุณภาพและ ฝีมือ เป็นสถานที่สาธิตกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เป็นสถานที่จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของศูนย์ฯ มีการจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่ เช่น ครกเก่า ๒๐๐ ปี

ศูนย์เกษตรบางรักน้อย  
เป็นสวนผลไม้ในเขตอำเภอไทรน้อย ปลูกผลไม้ประเภททุเรียน มังคุด มะไฟ มะม่วง สามารถเข้าเยี่ยมชมและชิมผลไม้สดๆ ได้ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที - 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังสามารถซื้อผลไม้กลับไปเป็นของฝากจากอำเภอไทรน้อย ในช่วงฤดูผลไม้ออก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2903 5766, 0 1362 9338

 
พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์  
ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 27/8 หมู่ 6 ถนนประชาราษฏร์ ตำบลตลาดขวัญ เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมเขาสัตว์และวัตถุโบราณไว้จำนวนมาก ดำเนินงานโดยคุณประเสริฐ ศรียรรยงค์ ภายในจัดแสดงเขาสัตว์และวัตถุโบราณนับแสนชิ้นมีอายุตั้งแต่ 100 ปี ถึง 16 ล้านปี โดยเฉพาะเขาสัตว์และส่วนหัวกระโหลกมีครบทุกชนิดทั้งสัตว์กินพืชและกินเนื้อ เน้นสัตว์ที่มีอยู่ในประเทศไทย ชิ้นที่เด่นคือ งาช้างแมมมอธยาว 2 เมตร พบในภาคอีสาน เขาเนื้อสมันซึ่งเป็นสัตว์ที่สูญพันธ์ไปแล้ว เขาวัวกูปรีและเขาสัตว์อื่น ๆ ทุกชนิดที่มีในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งยังมีวัตถุโบราณของไทยมากกว่า 30,000 ชิ้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมวันเสาร์-อาทิตย์ 09.00 - 16.00 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2526 2681, 0 2968 5956 โทรสาร 0 2526 5741

 
หมู่บ้านบอนสีเฉลิมพระเกียรติ ฯ  
  แหล่งที่ปลูกบอนสี (ราชินีแห่งใบไม้) คือที่ตำบลไทรน้อย และตำบลกลองขวาง อำเภอไทรน้อย ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงโปรดและพระราชทานพระราชเสาวนีย์ให้อนุรักษ์ โดยทางเกษตร ฯ ได้กำหนดจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ฯ ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ของทุก ๆ ปี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เกษตรอำเภอไทรน้อย โทร. 0 2597 1373
 
วัดบางนา  
ตั้งอยู่ืที่ตำบลไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดเก่าแก่โบราณ สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นวัดร้าง บูรณะใหม่เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2543 มีโบราณวัตถุน่าสนใจ เช่น อิฐโบราณ พระพุทธรูปศิลาแดง ใบเสมาศิลาแดง พระพุทธรูปสมัยละโว้

 
วัดตาล  
ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่1 ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดที่มีโบสถ์สวยงาม และเป็นที่รวมของพุทธศาสนิกชนในการประกอบพิธีทางศาสนา

 
วัดแดงธรรมชาติ  
ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 บ้านวัดแดง ตำบลไทรม้า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดเก่าแก่ เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวบรวมของใช้เก่าแก่เพื่อให้เป็นที่ศึกษาของอนุชนคนรุ่นหลัง

 
วัดป่าเลไลยก์  
ขณะนี้เป็นวัดร้างและไปรวมเป็นวัด เดียวกับวัดฉิมพลี คงเหลือให้เห็นเพียงโบสถ์ และเจดีย์ หน้าโบสถ์อีก 2 องค์ ภายในโบสถ์ยังพอใช้การได้ สภาพทั่วปยังดี เว้นแต่ หลังคาที่ชำรุดมาก เพดานโบสถ์เขียนลายทองสวยงามมาก สภาพยังดีอยู่ พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก แต่ได้ถูกคนร้ายตัดแขน และ ขโมยไปทั้งองค์ บานประตูเขียนลายทองรดน้ำ - รูปเซี่ยว กางสวยงามมาก ขณะนี้ลายทองได้ลบเลือนไปหมด

 
วัดปลายคลองขุนศร  
เป็นวัดที่จัดงานประเพณีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านปลายคลองขุนศรี ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

 
วัดหลังบาง  
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 ที่ได้นานว่า "วัดหลังบาง" คงถือเหตุผลที่วัด ตั้งอยู่ตอนหลังของหมู่บ้าน มีรอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้าน มีการจัดงานนมัสการเป็นประจำทุกปี

 
วัดบางขนุน  
ตั้งอยู่ที่บ้านบางขุนกอง ตำบลบางขนุน ชม “หินบดยา” (ยาแผนโบราณ) ลักษณะหินบดยา (แพทย์แผนโบราณ) ทำเป็น 3 ชุด ชุดหนึ่งมีอุปกรณ์ 3 ชิ้น คือ แท่งหินบด แท่นหินรองบด และไม้สำหรับวางแท่นหินบด แท่งหินบดทำมาจากทรายสีแดงเป็นก้อนสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 1 ฟุต หนา 1 คืบ ไม้สำหรับวางแท่นหินบดรูปร่างคล้ายกับตั่งนั่ง เป็นไม้เนื้อแข็ง สันนิษฐานว่าจะเป็นไม้สักเพราะมีน้ำหนักเบาตัวมอดไม่กิน ไม่ผุกร่อน ยังมีสภาพสมบูรณ์ใช้การได้ดีวิธีการบดใช้แรงงานคน เมื่อบดให้ละเอียดแล้วจึงนำไปผสมเป็นตัวยาใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บตามที่ต้อง การ
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2531 เจ้าอาวาสบางขนุน (ปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว) มีความรู้เรื่องยาแผนโบราณเพราะที่วัดมี “สมุดไทย” (สมุดข่อย) ที่เป็นตำราแพทย์โบราณ ซึ่งที่วัดมีอยู่หลายฉบับ เช่น ตำราเจ็ดคัมภีร์ และภาพทศชาติ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ตำราแพทย์โบราณ ตำรากฎหมาย และตำรโหราศาสตร์สร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 6–7 ปัจจุบันยังคงเหลือเป็นบางฉบับเท่านั้น และฉบับที่นับว่าสำคัญคือ ตำราเจ็ดคัมภีร์และภาพทศชาติ นอกจากนี้ที่วัดยังมี “ธรรมาสน์”(ที่นั่งเดี่ยวสำหรับพระสงฆ์นั่งเทศนา) สมัยอยุธยาตอนปลาย สีสันสวยงามแกะสลักลวดลายดอกไม้วิจิตร

วัดศรีรัตนาราม (วัดบางพัง)  
  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ที่2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ริมฝั่งแม่น้ำมีปลาน้ำจืดจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น "วังมัจฉา" สามารถนำอาหารให้ปลา สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ที่ได้แวะเวียนไปสักการะพระพุทธรูป นอกจากนี้ยังมีพระประจำวันประดิษฐ์านไว้สักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย