WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

ปาลิโอ เขาใหญ่

ปาลิโอ ตั้งอยู่บนถนนธนะรัชต์ หลักกิโลเมตรที่ 17 ติดกับโรงแรมจุลดิศ เขาใหญ่ รีสอร์ท แอนด์ สปา ท่านจะได้สัมผัส Palio เขาใหญ่ในบรรยากาศอิตาลี จนเผลอคิดว่าเราอยู่ในอิตาลีจริงๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นอาคารถูกออกแบบให้เป็นกลุ่มอาคารถนนคนเดิน หรือสถาปัตยกรรมยุโรปโบราณแนวอิตาเลี่ยนสไตล์ที่รายล้อม แถมคำว่า Palio ยังเป็นภาษาอิตาเลียน หมายถึง "รางวัล" อีกด้วย


ทุ่งบัวแดง

ตั้งอยู่ บ้านดอนเปล้า ต.บ้านเหลื่อม อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา อยู่ห่างจากตัวเมืองเพียง 90 กม. และห่างจากชัยภูมิ 30 กม. ทุ่งบัวแดงโคราช มีเนื้อที่ 3600 ไร่ และมีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ ทุ่ง กุ้ง หอย ปู ปลา และยังเป็นสถานที่ชมนกอีกแห่งด้วย


อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตรในเทือกเขาพนมดงรัก ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี ป่าเขาใหญ่สมัยก่อนได้รับสมญานามว่า ดงพญาไฟ ที่ทั้งโหดทั้งดิบสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางผ่านป่าผืนใหญ่ที่กั้นแบ่งเขตภาค กลางและภาคอีสาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2465 ได้มีชาวบ้านประมาณ 30 ครัวเรือนไปตั้งหลักแหล่ง ถางป่าทำนาทำไร่ สันนิษฐานว่าเป็นพวกที่หลบหนีคดีมา ต่อมาพื้นที่เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญาว่าเป็นอุทยานมรดกของอาเซียน 


อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์พิมายตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตรชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท หินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน
สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้า ไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวง ของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัย นั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่กลางเมือง ชาวต่างถิ่นที่แวะมาเยือนและชาวเมืองโคราชนิยมมาสักการะและขอพรจากย่าโมอยู่ เสมอ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่านท้าวสุ รนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา  เมื่อปี  พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่ง เวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี ประชาชนพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้นระหว่าง วันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน เป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน

ปรางค์กู่
ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดบ้านกู่ ตำบลดอนตะหนิน จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ไปประมาณ 74 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตรงตู้ยามตำรวจทางหลวงบ้านโนนตาเถรไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปทางโรงเรียนวัดบ้านกู่ ลักษณะเป็นปรางค์สมัยขอมขนาดเล็ก ฐานสี่เหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลงวางซ้อนกันจากฐานถึงยอด แต่ปัจจุบันสภาพปรักหักพังไปแล้ว หลงเหลือเพียงซากฐานไม่สูงนัก ภายในองค์ปรางค์มีพระพุทธรูปดินเผาซึ่งยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ 4-5 องค์

ฟาร์มโชคชัย

ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ-ปากช่อง กิโลเมตรที่ 159 เป็นฟาร์มโคนมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในทวีป เอเชีย เปิดกิจการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายในฟาร์มท่านจะได้เรียนรู้นับแต่การผลิต น้ำนมดิบ การเลี้ยงโคนม การรีดนม และกิจกรรมสนุกสนานที่โรงคาวบอย ชมสวนสัตว์เปิด เพลิดเพลินกับการให้อาหารสัตว์และป้อนนมลูกโค นอกจากนี้ยังมีบูติกแคมป์ เต็นท์ติดแอร์ที่เจาะกลุ่มผู้ที่ต้องการพักผ่อนแบบเน้นสร้างสมาธิ กลับสู่วิถีธรรมชาติ สร้างความแตกต่างจากรีสอร์ทอื่นๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2998 9381-5 ต่อ 150-157

วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า ตำบลกลางดง แยกจากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) หลักกิโลเมตรที่ 150 ไปตามถนนลาดยางอีก 3 กิโลเมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน “พระพุทธสกลสีมามงคล” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบทนั่งปางประทานพรสีขาวขนาดใหญ่ ขนาดหน้าตักกวัาง 27 เมตร สูง 45 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดดเด่นอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับพื้นดิน 112 เมตรหรือ 56 วา หมายถึง พระพุทธคุณ 56 ประการ ส่วนความสูงขององค์พระ 45 เมตร หมายถึง พระพุทธองค์โปรดเวไนยสัตว์อยู่ 45 พรรษา หรือเรียกว่าทรงทำพุทธกิจอยู่ 45 พรรษา หลังจากที่ตรัสรู้แล้วทางขึ้นไปนมัสการองค์พระเป็นบันไดแยกออกสองข้าง เป็นรูปโค้งเว้าเหมือนขอบใบโพธิ์ นับรวมทั้งด้านซ้ายและขวาทั้งหมด 1,250 ขั้นซึ่งหมายถึง จำนวนพระอรหันต์ที่ไปชุมนุมกัน โดยมิได้นัดหมายในวันมาฆบูชา

ล่องแก่งลำตะคอง
ล่องแก่งลำตะคอง ตลอดลำน้ำจะผ่านบ้านเรือน เรือกสวน และป่าไม้เขียวขจี มีความยากในการล่องแก่งที่ระดับ 1-2 ซึ่งไม่ยากเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งจะลองกิจกรรมประเภทนี้และยังเหมาะแก่การมาท่อง เที่ยวกันเป็นครอบครัว เวลาที่เหมาะสมคือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน เนื่องจากมีน้ำมาก ความแรงของกระแสน้ำพอที่จะทำให้เกิดความตื่นเต้นแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ส่วนในฤดูแล้งน้ำจะน้อยเกินไป การล่องแก่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที และอาจเพิ่มรสชาติการผจญภัยด้วยการนั่งช้างชมป่าหลังจากล่องแก่งก็ได้ หากสนใจกิจกรรมนี้ติดต่อได้ที่ ปางช้างเขาใหญ่ (บ้านป่าเขาใหญ่) ถ.ธนะรัชต์ กิโลเมตรที่ 19.5 โทร. 0 4429 7183

วัดบ้านไร่
ตั้งอยู่ที่ตำบลกุดพิมาน จากตัวเมืองเดินทางตามถนนมิตรภาพ ถึงกิโลเมตรที่ 237 แยกขวาผ่านอำเภอขามทะเลสอและบ้านหนองสรวงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากโรงพยาบาลด่านขุนทดใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 เป็นระยะทางอีกประมาณ 11 กิโลเมตร วัดบ้านไร่เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเป็นสถานที่จำพรรษาของ หลวงพ่อคูณ ปริสทฺโธ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณกันเป็นจำนวนมาก

ไทรงาม
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมาย โดยก่อนข้ามสะพานท่าสงกรานต์เข้าตัวอำเภอพิมาย จะมีทางแยกไปเขื่อนพิมายอีกประมาณ 2 กิโลเมตร บรรยากาศไทรงามแห่งนี้มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ไทรเหล่านี้เกิดจากต้นแม่อายุประมาณ 350 ปี แผ่กิ่งก้านสาขาออกรากซึ่งเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่มากมายครอบคลุมพื้นที่ กว้างขวาง ประมาณ 15,000 ตารางฟุต สถานที่นี้มีชื่อเสียงรู้จักกันมานานตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิมายเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2454 และได้พระราชทานนามว่า “ไทรงาม” ในบริเวณใกล้เคียงมีร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหารหลายร้าน อาหารที่นักท่องเที่ยวนิยมมารับประทานกันมากคือ ผัดหมี่พิมาย (ผัดหมี่โคราช) ที่เส้นเหนียวนุ่มน่ากินไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย บริเวณเชิงสะพานท่าสงกรานต์ ก่อนถึงปราสาทหินพิมายเล็กน้อย จากตัวเมืองนครราชสีมาเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ระยะทาง 50 กิโลเมตรถึงทางแยกตลาดแคเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง 206 อีก 10 กิโลเมตร หากใช้บริการรถโดยสารสามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ในตัวเมืองนครราชสีมาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่รวบรวมหลักฐานทางโบราณคดี และจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมอีสานในอดีต โดยเฉพาะโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ค้นพบในเขตอีสานตอนล่าง แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3ส่วน
ส่วนที่ 1 อาคารจัดแสดงชั้นบน  จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของสังคมในดินแดนอีสานตอนล่าง แสดงถึงรากฐานการกำเนิด อารยธรรมซึ่งมีมาจากความเชื่อต่าง ๆ ตลอดจนอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน
ส่วนที่ 2 อาคารชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปะเขมรในอีสานตอนล่าง
ส่วนที่ 3 อาคารโถง จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทราย เช่น ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู กลีบขนุน บัวยอดปราสาท และปราสาทจำลอง นอกจากนี้บริเวณรอบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ยังได้จัดแสดงใบเสมาและทับหลังที่สวยงามอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชม วันพุธ-วันอาทิตย์  ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4447 1167


เขื่อนลำตะคอง

ตั้งอยู่ตำบลลาดบัวขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 62 กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) บริเวณกิโลเมตรที่ 196-197 ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นและช่องเขาถ่านเสียดในปี พ.ศ. 2517 เพื่อนำน้ำเหนือเขื่อนมาใช้ประโยชน์ในด้านชลประทาน นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวบนสันเขื่อนเพื่อชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีฉากหลังเป็นภูเขาสวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนในยามแดดร่มลมตก เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น.


ปราสาทนางรำ

ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ ไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ประมาณ 62 กิโลเมตร จนถึงแยกบ้านวัด เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ไปประมาณ 22 กิโลเมตรถึงบ้านหญ้าคา (หรือก่อนถึงตัวอำเภอประทาย 11 กิโลเมตร) จากนั้นเลี้ยวซ้ายทางเข้าวัดปราสาทนางรำอีก 4 กิโลเมตร ชื่อ ปราสาทนางรำ มาจากว่า เดิมเคยมีรูปนางรำ เป็นหินสีเขียวทำแบบเทวรูป อยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารห่างไป 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอยของเทวสถานและแท่นหิน ปราสาทนางรำเป็นโบราณสถานสมัยขอมที่เรียกว่าเป็น อโรคยาศาล (โรงพยาบาล) สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 2 กลุ่มตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน กลุ่มปรางค์ที่สมบูรณ์กว่าหลังอื่นประกอบด้วยปรางค์องค์กลาง มีมุขยื่นออกไปข้างหน้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทมีวิหารก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทาง ทิศตะวันตก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ส่วนซุ้มโคปุระหรือประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปกากบาท นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ถัดจากปราสาทนางรำไปทางทิศใต้ มีปราสาทอีก 3 หลังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเหลือเพียงฐานและมีกรอบประตูและทับหลังหินทรายตั้งแสดงอยู่ มีกำแพงศิลาแลงและคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ 


ประตูชุมพล

ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ พ.ศ. 2199 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา และสร้างกำแพงประตูเมืองอย่างแข็งแรง โดยมีช่างชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมิตรประเทศกับกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบผังเมือง เมืองนครราชสีมาในขณะนั้นมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1,000 x 1,700 เมตร เดิมมีประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตู ได้แก่ ประตูพลแสนด้านทิศเหนือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูไชยณรงค์ด้านทิศใต้ และประตูชุมพลด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเหลือเพียงประตูชุมพลเท่านั้นที่เป็นประตูเมืองเก่า ส่วนอีกสามประตูได้สร้างขึ้นใหม่ ลักษณะประตูชุมพลเป็นประตูเชิงเทิน ก่อด้วยหินก้อนใหญ่และอิฐ ฉาบด้วยปูน ส่วนบนเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้า กระจังและนาคสะดุ้ง กำแพงต่อจากประตูทั้งสองข้างก่อด้วยอิฐ ส่วนบนสุดทำเป็นรูปใบเสมา

อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ
ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12.5 กิโลเมตร อยู่ทางด้านซ้ายมือตามเส้นทางสายนครราชสีมา-ชัยภูมิ ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2529 อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง 175 เซนติเมตร สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือและเหล่าบรรพบุรุษของชาว นครราชสีมาที่ได้พลีชีพเพื่อปกป้องชาติเมื่อครั้งสงครามเจ้าอนุวงศ์ ปี พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ด้วยการใช้ดุ้นฟืนติดไฟโยนเข้าใส่กองเกวียนดินดำของกองทัพลาวจนระเบิดเสีย หายหมดสิ้นและตัวนางได้สิ้นชีวิตในการสู้รบในครั้งนั้น

ศาลหลักเมือง
ตั้งอยู่ที่หัวมุมสี่แยกถนนจอมพลตัดกับถนนประจักษ์ ลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีน ประดิษฐานเสาหลักเมืองนครราชสีมา เป็นที่สักการะบูชาของชาวไทยและจีน สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่าง พ.ศ.2199-2231 ตัวศาลและเสาหลักเมืองทำด้วยไม้ ผนังศาลด้านทิศตะวันออกเป็นกระเบื้องดินเผาปั้นลวดลายนูนต่ำเป็นเรื่องราว การสู้รบของท้าวสุรนารีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณ

น้ำตกสวนห้อม

ซึ่งน้ำตกจะมีน้ำมากในช่วงหน้าฝน ระหว่าง เดือนกรกฎาคม-เดือนตุลาคม เช่นเดียวกัน ทางไปน้ำตกจะใช้เส้นทางเดียวกับการไปน้ำตกห้วยใหญ่ แยกซ้ายเข้าซอยเทศบาล 4 ที่บริเวณตลาดสดศาลเจ้าพ่อ (ตลาด 79)  แต่รถที่ใช้ควรเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จึงจะเหมาะสมต่อการเดินทาง

 

 


วัดป่าสาลวัน

ตั้งอยู่ในตัวเมือง หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คือ อาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น รวมทั้งอัฐิของอาจารย์สิงห์ อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้

 


วัดศาลาทอง

์ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง 

 


น้ำตกห้วยใหญ่

เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติทับลาน ในท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) เข้าทางตลาดกม.79 ไปประมาณ 6 กิโลเมตร ทางเดินเข้าน้ำตกเป็นทางลาดเล็กน้อย เข้าไปประมาณ 20 เมตร ก็จะพบธารน้ำตกขนาดเล็ก ไหลผ่านก้อนหินใหญ่สองก้อน น้ำตกจะมีเฉพาะช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน) 

 


น้ำตกวังเต่า

น้ำตกวังเต่าอยู่บนเทือกเขาสันกำแพง อุทยานแห่งชาติทับลาน โดยได้ชื่อว่า "แก่งครบุรี...ต้นน้ำมูล" ตั้งอยู่บริเวณเขื่อนลำแชะ หมู่บ้านมาบกราด ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี ซึ่งเป็นจุดกำเนิดแม่น้ำ 3 สาย ที่เรียกกันว่า "สามง่าม" โดยสายที่ 1 ต้นน้ำมูล แหล่งกำเนิดของแก่งน้ำโตน น้ำตกวังถ้ำ น้ำตกวังมะนาว ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนมูลบน หาดจอมทองและยังเป็นแหล่งดูนกหายาก สายที่ 2 ต้นน้ำลำแชะ แหล่งกำเนิดวังไผ่ วังยาว ซับเป็ด วังแปะ วังไทร วังเต่า วังวนไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำแชะและสายที่ 3 ต้นกำเนิดลำมาศ อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำมาศ

การเดินทาง จากตัวเมืองไปยังอำเภอครบุรี ตามทางหลวงหมายเลข 224 ผ่านอำเภอโชคชัย ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2071 ถึงอำภอครบุรี รวมระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตรแล้วเดินทางต่อสู่เขื่อนลำแชะตามด้วยเส้นทางบ้านโคกเจริญ ตำบลเฉลียง เลี้ยวซ้ายตามทางไปเขื่อนลำแชะอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ขับตรงไปประมาณ 10 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่บ้านมาบกราด ไปท่าเรืออีก 200 เมตร


หาดจอมทอง

อยู่ในบริเวณพื้นที่ท้ายเขื่อนลำมูลบน ใกล้กับเขาจอมทอง ตำบลจระเข้หิน มีความกว้างของหาดจากแนวริมน้ำขึ้นมาเฉลี่ย 80 เมตร ยาว 800 เมตร โดยทำการลงทรายหยาบตลอดแนวทั้งหมด ความหนาของทรายประมาณ 10 เมตร เป็นชายหาดที่เสมอเรียบตามแนวระดับน้ำ ทำให้มีบริเวณพื้นที่ชายหาดและบริเวณที่สามารถลงเล่นน้ำได้ มีบริการให้เช่าห่วงยาง เรือถีบ เก้าอี้พับ ร่มชายหาดและเรือแพอีกด้วย  การเดินทาง มี 2 เส้นทางคือ
1.จากตัวจังหวัดนครราชสีมา ใช้เส้นทางนครราชสีมา-โชคชัย-ครบุรี ระยะทาง 52 กิโลเมตรถึงตัวอำเภอครบุรี ใช้เส้นทางถนนลาดยางชลประทานมูลบน-ลำแชะ ที่อำเภอครบุรี-หาดจอมทอง ระยะทาง 17 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวจังหวัดนครราชสีมา-ครบุรี-หาดจอมทอง ประมาณ 69 กิโลเมตร
2.จากตัวจังหวัด ไปอำเภอปักธงชัย จนถึงสามแยกปอแดง(ทางหลวงหมายเลข 304 -กบินทร์บุรี) เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางชลประทาน-ปอแดง ประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงเขื่อนมูลบนจากเขื่อนฯไปอีก 5 กิโลเมตรถึงหาดจอมทอง รวมระยะทางจากตัวจังหวัดนครราชสีมา-ปักธงชัย-หาดจอมทอง ประมาณ 60 กิโลเมตร


เมืองโบราณที่ตำบลโคราช

เมืองโบราณที่ตำบลโคราช หรือ เมืองโคราชเก่าถือเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมขอมในอดีตที่พบในเขตนครราชสีมา มีร่องรอยโบราณสถานหลงเหลือให้เห็น 3 แห่งด้วยกันคือ ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองแขก ปราสาทเมืองเก่า การเดินทางจากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 221-222 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2161 (เข้าสู่อำเภอสูงเนิน)ไปประมาณ 3 กิโลเมตร ให้สังเกตทางแยกขวามือข้างวัดญาณโศภิตวนาราม(วัดป่าสูงเนิน) ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่โบราณสถานเหล่านี้ คือ


ลานด่านเกวียน ศูนย์หัตถกรรม "ลานด่านเกวียน"
ตั้งอยู่ตำบลด่านเกวียนซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตรตามทางหลวงสาย 224 (โคราช-โชคชัย) ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอยและได้ทำสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน นี้ นับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลก และหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ ที่มีเอกลักษณ์ของสีเป็นเครื่องปั้นแบบด่านเกวียนไว้โดยเฉพาะ
ศูนย์หัตถกรรมลานด่านเกวียน เป็นแหล่งรวบรวมศิลปหัตถกรรมไทยและสินค้าพื้นบ้านแห่งใหม่ในตำบลด่านเกวียน ได้ เปิดดำเนินกิจการเมื่อเดือนมิถุนายน2545 บนเนื้อที่ 8 ไร่ ภายในศูนย์ประกอบด้วยร้านค้าต่างๆมากมายกว่า 70 ร้านค้า มีสินค้าให้เลือกสรรหลากหลาย อาทิ เช่น เครื่องปั้นดินเผา งานหินทรายจากผู้ผลิตโดยตรง ผลิตภัณฑ์จากทองเหลือง ผ้าไหมไทย และผ้าพื้นบ้านนานาชนิด ศิลปะภาพวาดติดผนัง งานไม้จากภาคเหนือ ผลิตภัณฑ์เรซิน ดอกไม้ยางพารา งานประดิษฐ์สร้างสรรค์จากเศษโลหะและอื่นๆ จากฝีมือคนไทยสินค้าตกแต่งบ้านและสวนของฝากของที่ระลึก สอบถามรายละเอียดได้ที่คุณทศพร เตชถาวรกุล โทร.0 1929 8368,0 4433 8444

ศาลเจ้าพ่อช้างเผือก เป็นศาลเจ้าเล็กๆ
ตั้งอยู่ริมคูเมืองด้านทิศเหนือ ตรงมุมถนนมนัสตัดกับถนนพลแสน สร้างครอบหลักตะเคียนหินซึ่งเดิมเป็นหลักที่ชาวเมืองภูเขียวนำช้างเผือกมา ผูกไว้เพื่อให้พนักงานกรมคชบาลตรวจดูลักษณะช้างก่อนกราบทูลถวายพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อทรงรับไว้เป็นพระราชพาหนะ

โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ (เขาแผงม้า)

อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทางประมาณ 79 กิโลเมตร เมื่อถึงตลาด บริเวณกิโลเมตร 79 มีทางแยกขวาไปตามถนนรพช.สายศาลเจ้าพ่อ–หนองคุ้มอีก 11 กิโลเมตร เส้นทางช่วงสุดท้ายประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นทางดินขึ้นเขามีทิวทัศน์สวยงามแต่ค่อนข้างขรุขระ เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาจะเห็นภูเขาสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 850 เมตร พื้นที่นี้เป็นโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ซึ่งอยู่ในความดูแลของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ มีการจัดกิจกรรมปลูกป่า เดินป่า ดูสัตว์ (โดยเฉพาะกระทิงซึ่งยังมีให้เห็น) และฉายสไลด์ให้ความรู้กับผู้สนใจ มีค่ายพักแรมลักษณะเป็นเรือนนอนไม้ไผ่ 3 หลัง พักได้หลังละ 10–20 คน ติดต่อล่วงหน้าได้ที่โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ เขาแผงม้า หมู่ 4 ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 


สวนไม้ดอกไม้ประดับ ซุ้มไม้งาม

อำเภอวังน้ำเขียวเป็นแหล่งปลูกไม้ดอกไม้ประดับสำคัญของภาคอีสาน เนื่องจากอยู่ในพื้นที่สูง มีอากาศเย็น ไม้ดอกที่ปลูกกันมากได้แก่ เบญจมาศ และหน้าวัว นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้ตามทางเส้นทางสู่อำเภอวังน้ำเขียว โดยเฉพาะที่ตำบลไทยสามัคคี  สวนไม้ดอกไม้ประดับแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ ซุ้มไม้งาม ของคุณชูศักดิ์ นิยมนา อยู่ที่บ้านบุไผ่ ตำบลไทยสามัคคี เลยที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียวไป 5 กิโลเมตร แยกซ้ายบ้านบุไผ่อีก 3 กิโลเมตร สวนแห่งนี้ได้รับทุนโครงการหลวงมาช่วยพัฒนา ผลผลิต ได้แก่ เฟิร์น, เบญจมาศ, เซอนาดู่ (ตัดใบขายใช้แต่งแจกัน) กุหลาบ (มีเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) หน้าวัว ผลไม้ได้แก่ มังคุด เงาะ ลิ้นจี่ กระท้อน ลองกอง มะขามหวาน ช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม มีผลไม้ทุกชนิด


สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชเป็นศูนย์วิจัยพันธุ์ไม้
ในเขตป่าภาคอีสานและเปิดให้หมู่คณะที่สนใจมาจัดกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงนิเวศ อยู่ริมเส้นทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทาง 57 กิโลเมตรจากตัวเมือง มีพื้นที่ประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร (48,750 ไร่) สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง พบสัตว์ป่าหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมูป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้าพระยาลอและนกต่าง ๆ หากได้มีโอกาสปีนขึ้นไปบนยอดหอคอยสูงเหนือระดับยอดไม้ที่ทางสถานีสร้างขึ้น จะมองเห็นผืนป่าเขียวขจีอันกว้างใหญ่รายล้อมอยู่รอบตัว ตลอดจนเห็นเขาแผงม้าที่อยู่ไกลออกไป อากาศที่นี่เย็นสบายตลอดปี มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทางซึ่งใช้เวลาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 3 ชั่วโมง มีบ้านพักไว้บริการจำนวน 3 หลัง พักได้หลังละ 20 คน สอบถามรายละเอียดโทร.0 4425 8642 หรือ ติดต่อที่ฝ่ายจัดการสถานีวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โทร 0 2579 1121–30, 0 2579 0160 ต่อ 4401 โทรสาร 0 2561 4771

หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย 224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย และได้ทำสืบต่อกันมานับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มี เอกลักษณ์ของสีแบบดินเผาด่านเกวียนโดยเฉพาะ

สวนมะนาวด่านเกวียน

ตั้งอยู่เลขที่ 135 หมู่ 3 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย การเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาใช้ทางหลวงหมายเลข 224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร (ก่อนถึงชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน) แยกขวาทางเข้าวัดป่าหิมพานต์ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร
สวนแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ปลูกมะนาวพันธุ์ด่านเกวียนซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการตั้งชื่อตามแหล่งที่พบ มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ทนทานต่อความแห้งแล้ง ผลใหญ่ มีน้ำมากทุกขนาดผล กลิ่นเปลือกไม่ฉุนจัด รสชาติกลมกล่อม แต่ละต้นมีผลดกมาก บางต้นมีมากถึง 5,000 ผล ถ้าปล่อยให้ผลเติบโตต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่แย่งอาหารกัน ผลก็จะเจริญเติบโตขึ้นจนคล้ายส้มเกลี้ยง ส้มซ่า แต่มีความเปรี้ยวตามแบบของมะนาวทุกอย่าง

สวนมะนาวด่านเกวียนเปิดให้ชมทุกวัน มีผลผลิตและกิ่งพันธุ์จำหน่าย หากต้องการจัดทัศนศึกษาชมงานสวนมะนาวด่านเกวียน สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายณรงค์ รัตนจันทร์ โทร.0 4421 2696 หรือ โทร. 0 1976 7768


ศูนย์สารสนเทศลิปตพัลลภ ที่พักริมทางลำตะคอง หรือ “สวนน้าชาติ”
เป็นศูนย์บริการข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นจุดพักรถเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถและผ่อนคลาย ความตึงเครียดจากการเดินทางตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 193-194 (เส้นทางสายสระบุรี-นครราชสีมา) บนเนื้อที่ 37 ไร่ เป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพสวยงามเหนืออ่างเก็บน้ำลำตะคองสมบูรณ์ด้วยบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เป็นแบบอย่างที่พักริมทางที่ทันสมัย ครบวงจรแห่งแรกภายในบริเวณนี้ นอกจากที่พักชมทิวทัศน์ สวนหย่อม ร้านขายเครื่องดื่มและของใช้จำเป็น  ห้องน้ำ  โทรศัพท์สาธารณะแล้วยังมีรูปสลักพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ในลักษณะท่ากอดอก ยืนพิงมอเตอร์ไซค์คู่ใจ สูง 3.40 เมตร แกะสลักจากหินทรายสีเขียวซึ่งเป็นหินชั้นดีที่สุดและมีมากที่สุดในจังหวัด นครราชสีมา

ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ)

อยู่ในเขตตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 155 ริมถนนมิตรภาพ ศูนย์วิจัยแห่งนี้แต่เดิม คือ “ธนะฟาร์ม” ซึ่งเป็นของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2508 ได้มอบให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยฯ นี้ รับผิดชอบงานวิจัย งานฝึกอบรมและเผยแพร่วิชาการเทคโนโลยีการเกษตร
ผลิตผลข้าวโพดหวานของที่นี่จะทยอยปลูกในแปลงทั้งปี และมีจำหน่ายให้ผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณด้านหน้าฟาร์ม นอกจากนั้นยังปลูกข้าวโพดไร่เพื่อไปผลิตอาหารสัตว์ มีแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์งา และถั่วเหลือง ทิวทัศน์ในไร่สวยงามมากเป็นบรรยากาศของทุ่งข้าวโพดอยู่กลางหุบเขาและเคยใช้ เป็นฉากถ่ายละครหลายเรื่อง

ปัจจุบันมีการจัดกิจกรรมทางด้านทัวร์เกษตรสำหรับหมู่คณะที่สนใจศึกษา เทคโนโลยีการเกษตร เช่น กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ฯลฯ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เดินป่า ไร่สุวรรณมีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ โดยมีแนวเขากั้นเป็นแนวแบ่งระหว่างด้านหน้าและด้านหลังเขา ซึ่งภูเขายังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ลิง ไก่ป่า นก กระรอก ฯลฯ การเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ควรติดต่อล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาราชการ โทร. 0 4436 1770-4 โทรสาร 0 4436 1108


ปรางค์สีดา

ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์สีดา ตำบลสีดา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ไปประมาณ 84 กิโลเมตร ถึงบริเวณสี่แยกสีดาเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 202 (ไปทางอำเภอประทาย) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าวัดอีกราว 2 กิโลเมตร ปรางค์สีดามีลักษณะคล้ายปรางค์กู่ที่ตำบลดอนตะหนิน แต่ปรางค์สีดาปิดทึบทั้งสี่ด้าน เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ ศิลปะแบบเขมรโบราณ ก่อด้วยศิลาแลงจำนวน 1 หลัง มีลวดลายปูนปั้นประดับหันหน้าไปทางทิศตะวันออกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17–18