แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัด     แนะนำที่พัก โรงแรม รีสอร์ท และ ร้านอาหาร ร้านอร่อย ในจังหวัด 

  บ้านบางเขน

ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธิน ตรงข้าม กรมทหารราบที่ 11 รอ. (ติดกันกับสวนอาหารบางบัว สาขาบางเขน) เป็นสถานที่ทอ่งเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตกแต่งและออกแบบเป็นเสมือนชมุนเก่าแก่ มีทั้งบ้านไม้ ร้านค้า และของเก่า โบราณ ที่ปัจจุบันหาชมได้ยก บ้านบางเขน ได้รวบรวมเอาบรรยากาศเก่าที่เด็กรุ่นใหม่ในสมัยนี้ได้มาสัมผัส และได้เห็นความเป็นมาของอดีต และยังมีร้านอาหาร ขนมไทย ร้านกาแฟเก่า


  ล้ง1991

สถานที่ท่องเที่ยวสบายๆ ในกรุงเทพ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปะวัฒนะธรรม คนไทยเชื้อสายจีน ที่ทำการค้าในสมัย 160 ปี "ล้ง 1919" ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ


  ช่างชุ่ย

ตั้งอยู่ถนนสิรินธร แขวงบางพลัด เขตบางพลัด เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง พักผ่อน และก็ทานอาหารอร่อยๆ.. ช่างชุ่ยตกแต่งบรรยากาศผสมผสานแนววินเทจ มีทั้งบ้านไม้ ร้านค้า ร้านอาหาร และศิลป ได้รวบรวมเอาบรรยากาศสบาย ไฮไลท์ เรือบินลำใหญ่ กลางลานกินกรรม มาให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อนทานอาหาร และกิจกรรม


  ตลาดน้ำขวัญ-เรียม

เป็นตลาดแห่งใหม่ในกรุเทพฯตั้งอยู่ ซอยสุขาภิบาล 60 ถ้าเดินทางเส้นสุขาภิบาล หรือเดินทางมากจากเส้นรามคำแหง เข้า ซอยรามคำแหง 187 สามารถเดินทางได้สะดวก ตลาดน้ำขวัญ-เรียม เป็นตลาดแนวย้อยยุค สมัยนวนิยาย "แผลเก่า" โดยมีตัวละคร ขวัญ -เรียม เป็นตำนานรัก ที่แสนเศร้าเหมือน ชื่อคลองแสนแสบ ตัวตลาดอยู่ริมคลองแสนแสบ


 มาดามทุสโซ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง

เป็นพิพิธภัณฑ์รวบรวมหุ่นขี้ผึ้งเหล่าคนดัง และบุคคลสำคัญทั่วโลกไว้ที่ ณ.พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งแห่งนี้ และเป็นสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่อีกแห่งในกรุงเทพ


  วัดเล่งเน่ยยี่

หลังจากที่ทางวัดได้มีการปรับปรุง และบูรณะภายในวัดใหม่ เนื่องจากมาการทรุดโทรม จากอายุที่เก่าแก่ และมีนักท่องเที่ยวเข้ามากราบไหว้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี หลังจากที่ได้ทำการบูรณะใหม่เสร็จแล้ว ภายในวัด ยิ่งมีความสวยงามมาก งดงามดั่งเดิม


 เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ 

เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง เป็นแหล่งกิ เที่ยวย ช้อปปิ้ง แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ โดยมี Concept แบบย่านเจริญกรุงสมัยเก่าที่ยังเป็้นโรงงาน และโกดังที่เก็บสินค้าในอดีต


 ตลาดน้ำตลิ่งชัน

ตลาดน้ำตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปเที่ยวชม ได้สะดวก ทั้งรถส่วนตัว และกรถประจำทาง สาย ปอ.79 ผ่านหน้าตลาดเลย ตลาดน้ำตลิ่งชัน มีอาหารมากมาย หลายอย่าง ทั่งคาวหวาน และมีเรือท่องเที่ยวชมคลองตลิ่งชัน จะไ้พบเห็น วิธีชีวิตชาวริมคลอง และบ้านเรื่อนริมน้ำ พร้อมทั้งสวนกล้วยไม้ต่าง ๆระหว่างทางเดินเข้าตลาดน้ำ สองข้างทางจะมีร้านขายต้นไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้สมุนไพรต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อติดไม้ติดมือกัน และบริเวณด้านหลัง จะมีสวยหย่อมให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักเหนื่อยกัน


 ตลาดน้ำคลองลัดมะยม

สถานที่ตั้ง อยู่ริมคลองลัดมะยมด้านติดถนนบางระมาด เขตตลิ่งชัน มีพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นตลาดของชาวสวนคลองลัดมะยม นำผลไม้ที่ปลูกในสวนมาจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว สด จากสวน และยังมีร้านอาหาร คาว , หวาน , มากมาย และยังมีอาหารหาทานยาก ให้นักชิมได้ลิ่มลองกัน และยังมีเรือสำหรับพานักท่องเที่ยวชมสวน "สวนเจียมตน" เป็นสวนไม้ยืนต้น และไม้สมุนไพร และยังมี "พิพิธภัณฑ์เรือจำลอง" มีการจัดแสดงเรือแบบต่างๆให้ดูหลายแบบ พรัอมทั้งอุกปกรณ์วิธีชาวสวน และเครื่องมือการเกษตร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เยีียมชมกัน...


 ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์

เปิดให้ชิลล์ ทุกวันอังคาร-อาทิตย์ ตั้งแต่เย็นๆ จนเที่ยงคืน พบกับสินค้าสุดแนวว ทั้งมือสอง ของเก่า สะสม แต่งบ้าน งานวินเทจ งานแฮนด์เมด ฯ และร้านอาหารอร่อยๆ 


 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 4 ถ.หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 เปิด ให้บริการ วันพุทธ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ยกเว้นเทศกาลปีใหม่ และสงการณ์)

เวลาทำการ 9.00-16.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ต่างชาติ 200 บาท นักเรียน,นักศึกษา,ฟู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป,สมาชิก ICOM, ICOMOS พระภิกษุ, สามเณร และนักบวชทุกศาสนา ไม่เสีค่าเข้าชม บริการนำชมเป็นหมู่คณะโดการนัดหมายล่วงหน้า นำชมทั่วไป ตั้งแต่เวลา 9.30 น. เป็นต้นไป โทร.02-2413333


 นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ตั้งอยู่๑๐๐ ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ +๖๖(๐)๒ ๖๒๑ ๐๐๔๔ โทรสาร +๖๖(๐)๒ ๖๒๑ ๐๐๔๓ 

วันและเวลาทำการเปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์
อังคาร – ศุกร์ ๑๑.๐๐ น. – ๒๐.๐๐ น.
เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ๑๐.๐๐ น. – ๒๐.๐๐ น.เปิดให้เข้าชมเป็นรอบ ทุกๆ ๒๐ นาที
รอบเข้าชมสุดท้าย เวลา ๑๘.๐๐ น.


 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้วมรกต)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างขึ้นพร้อมสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อแรกสร้างประกอบด้วย 3 ส่วน คือ พระมหาปราสาท พระราชมณเฑียรสถาน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเนื้อที่ 132 ไร่ นอดีตพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ลักษณะแบบแผนการก่อสร้างคล้ายคลึงกับพระบรมมหาราชวังเก่าในสมัยกรุง ศรีอยุธยาคือ มีวัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่ในบริเวณวังเหมือนกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัย กรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เริ่มรับอิทธิพลจากตะวันตกทำให้สถาปัตยกรรมมีลักษณะ
ผสมผสานกับทางตะวันตกมาก ขึ้นหมู่พระที่นั่งที่สำคัญมีดังนี้


 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ ท่าเตียน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างขึ้นพร้อมสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อแรกสร้างประกอบด้วย 3 ส่วน คือ พระมหาปราสาท พระราชมณเฑียรสถาน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเนื้อที่ 132 ไร่ นอดีตพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ลักษณะแบบแผนการก่อสร้างคล้ายคลึงกับพระบรมมหาราชวังเก่าในสมัยกรุง ศรีอยุธยาคือ มีวัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่ในบริเวณวังเหมือนกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัย กรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เริ่มรับอิทธิพลจากตะวันตกทำให้สถาปัตยกรรมมีลักษณะ
ผสมผสานกับทางตะวันตกมาก ขึ้นหมู่พระที่นั่งที่สำคัญมีดังนี้


 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์

ตั้งอยู่บนถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร ในอดีตเป็นสถานที่ตั้งพระตำหนัก
ของเจ้านายฝ่ายวังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) มาแต่ครั้งรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช จนเป็นที่มาของชื่อ “ถนนเจ้าฟ้า” ในปัจจุบัน
ติดต่อ
เลขที่4 ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. (02) 282-2639-40  (02) 281-2224  ต่อ 14, 17
แฟกซ์ (02) 282-2639-40    (02) 281-2224  ต่อ 15


 พิพิธภัณฑสยาม

ตั้งอยู่บนเลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ นิทรรศการ "เรียงความประเทศไทย" เป็นการบอกเล่าถึงพัฒนาการด้านต่างๆ ของภูมิภาคอุษาคเนย์ นับตั้งแต่สมัยแผ่นดิน "สุวรรณภูมิ" (3,000 ปีก่อน) อันประกอบด้วยอารยธรรมต่างๆ ก่อนการรับวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน เรื่อนมาจนถึงกำเนิดสยามประเทศและก้าวสู่ประเทศไทยในปัจจุบัน


 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตั้งอยู่ที่ ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงวัดโสมนัส กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งออกเป็น 3 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะจัดแสดงเรื่อง
ราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้ารำไพ พรรณี 


 พิพิธภัณฑ์เขตบางกอกน้อย

ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ซ.จรัญสนิทวงศ์ 32 รถประจำทางที่ผ่าน สาย 40, 42, 56, 
68, 80, 175, 510, 509 จัดแสดงภาพการเติบโตของชุมชนตามแนวลำน้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ซึ่งเป็นผลจากการขุดคลองลัดในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ รวมทั้งมีจัดแสดงสถานที่ที่น่าสนใจในเขตบางกอกน้อย อาทิ สถานีรถไฟบางกอกน้อย โรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ ฯลฯ จัดแสดงเหตุการณ์กู้ชาติของพระเจ้าตากสินมหาราช ตลอดถึงการนำเสนอภาพของบางกอกน้อยเมื่อย่างสู่สมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะและภูมิปัญญา เรื่องราวและความรู้ต่างๆ มากมาย ตามคำขวัญประจำเขตที่ว่า "สายน้ำกับการเปลี่ยนแปลง แหล่งชุมชนช่างโบราณ จุดยุทธศาสตร์สามราชธานี" 
เปิดให้บริการตั้งแต่วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-15.00 น. (ปิดวันจันทร์-อังคาร) ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2246 0301


 พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา

เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องปั้นดินเผาถ้วยชามเบญจรงค์ในสมัยโบราณ และเป็นพิพิธภัณฑ์
บ้านริมน้ำ ตั้งอยู่ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ด้านหลังของวิทยาลัยนาฏศิลป์) หากเข้าชมเป็นหมู่คณะต้อง ติดต่อล่วงหน้าที่ มูลนิธิเสวตร-โสภา เลขที่ 5 ถนนพระอาทิตย์ 
กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 50 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2224 1373, 0 2224 1388


 พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ

ตั้งอยู่ในบริเวณด้านหน้าและด้านข้างของกระทรวงกลาโหม เป็นการจัดแสดงปืนใหญ่ที่เคยผ่านสงครามต่างๆ มาแล้วในอดีต โดยเรียงลำดับหมวดหมู่ตามอายุและยุคสมัยของปืน เริ่มจากปลายกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ เช่น ปืนนารายณ์สังหาญ ปืนพญาตานี และปืนชุดที่ทำจากฝรั่งเศส 
จำนวนทั้งสิ้น 40 กระบอก ส่วนอาคารเป็นสถาปัตยกรรมยุโรป ด้านหน้ากระทรวงฯ นั้น รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่ของทหารประจำรักษาพระนคร สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 
โทร. 0 2226 3814 โทรสาร 0 2225 8262


 พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

ตั้งอยู่ที่ตำหนักวังบางขุนพรหม ภายในบริเวณเดียวกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย จัดแสดงสื่อในการแลกเปลี่ยนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ อาทิ ห้องเงินตราโบราณ, ห้องเงินพดด้วง, ห้องกษาปณ์ไทย, ห้องธนบัตรไทย, ห้องทองตรา, ห้อง 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร ตั้งแต่เวลา 10.00 -16.00 น. การเข้าชมต้องแจ้งให้ทราบก่อนล่วงหน้า โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2283 5286, 0 2283 5265 และ 0 2283 6723


 พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ

พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯมาก่อน ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นห้องจัดแสดงเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ห้องจำลองเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทหาร ห้องอาวุธ ห้องธงและเครื่องมือเครื่องใช้ทางทหาร ห้องพระบารมีปกเกล้า ห้องแสดงวิวัฒนาการทางทหาร เป็นต้น เปิดให้เข้าชมสำหรับหมู่คณะที่ติดต่อล่วงหน้า ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 15.00 น. โดยประสานรายละเอียดกับกรมยุทธการทหารบกอย่างน้อย 3 วัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 2297 7380, 0 2297 8058


 พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี (พิพิธภัณฑ์แร่และหิน)

ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคารพิพิธภัณฑ์ติดกับกรมทรัพยากรธรณี ถนนพระราม 6เป็นหน่วยงานในความดูแลของสำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 ภายในพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมวัตถุพวก แร่ หิน ซากดึกดำบรรพ์ และเครื่องมือ เครื่องใช้โบราณที่ทำจากแร่ หิน มาจัดแสดงโดยแบ่งเนื้อหาเป็น3 ส่วน คือ 1. ด้านธรณีวิทยา ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องกำเนิดโลก การเปลี่ยนแปลงเปลือกโลก แร่และหิน การสำรวจธรณีวิทยา น้ำบาดาล ซากดึกดำบรรพ์ 2. ทรัพยากรแร่ ได้แก่ อัญมณีและหินมีค่า การใช้ประโยชน์ของแร่ชนิดต่างๆ แร่เชื้อเพลิง ปิโตรเลียมการทำเหมืองแร่จากต่างประเทศ 3. นิทรรศการพิเศษ ปัจจุบันแสดงเรื่องไดโนเสาร์ในประเทศไทยเปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30- 16.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม หากเข้าชมเป็นหมู่คณะทำหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีติดต่อสอบถามราย ละเอียดได้ที่ 
โทร. 0 2202 3669-70 โทรสาร 0 2202 3754


 พิธภัณฑ์เขตบางขุนเทียน

 บางขุนเทียนเป็นพื้นที่สวน ดินในแถบนี้มีลักษณะเป็นดินลักเค็ม โดยมีคุณสมบัติพิเศษ คือ เป็นดินรสกร่อยซึ่งอุดมด้วยธาตุโพแทสเซียม เมื่อปลูกผลไม้จะทำให้มีรสจัด กลมกล่อม แต่ปัจจุบันน้ำทะเลท่วมถึงทำให้เลิกปลูกผลไม้ ในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งที่น่าสนใจของเขต อาทิ วัดราชโอรสหรือวัดจอมทองที่รัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ วัดนางนอง วัดอัปสรสวรรค์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญและชุมชนมอญบางกระดี่ เป็นต้น คำขวัญสำหรับเขตนี้คือ "ประวัติศาสตร์คลองด่าน ถิ่นฐานชาวสวนบางกอก ทางออกป่าชายเลนกรุงเทพฯ"ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ สุดสายถนน บางขุนเทียน-ชายทะเล รถประจำทางที่ผ่านถนน
พระราม 2 ได้แก่ สาย 68, 76, 105, 140, 141, 142, 147, 169, 171, 529 และ 530 ต่อรถสองแถวสายบิ๊กซีพระราม 2 ถึงโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เปิดให้บริการทุกวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. (ปิดวันจันทร์-อังคาร) ไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2246 0301


 พิพิธภัณฑ์พุทธศิลป

ตั้ง อยู่เลขที่ 104 ถนนพัฒนาการ ซอย 40 นับเป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปของเอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะไทย เน้นเนื้อหาแสดงศิลปะพระพุทธรูปไทยที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของชน
ชาติไทย โดยมีการจัดการพิพิธภัณฑ์ในระดับมาตรฐานสากล คือ มีแสง เสียง (บทสวด) กลิ่น
(กำยาน) พร้อมระบบปรับอากาศ นอกจากพระพุทธรูปและโบราณวัตถุที่หลากหลายในทุกยุค
สมัยแล้ว ยังมีส่วนที่จัดเป็นตำหนักและพิพิธภัณฑ์เจ้าแม่กวนอิมและเทพองค์สำคัญตาม ความเชื่อของชาติต่างๆ ในเอเชีย เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-อาทิตย์ ปิดวันจันทร์ (กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม) ตั้งแต่เวลา 10.00–17.30 น. ค่าเข้าชม ประชาชนทั่วไปและชาวต่างประเทศ 250 บาท นักเรียน นักศึกษา 50 บาท คณะนักศึกษาและข้าราชการที่ติดต่อมาจากสถาบัน 25 บาท โทร. 0 2321 0048, 0 2322 2434 โทรสาร 0 2322 2412


 พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย

ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคารเภสัชกรรมสมาคม เลขที่ 40 ซอยสันติสุข สุขุมวิท 38 (เยื้องซอยทองหล่อ) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รู้ประวัติการแพทย์แผนไทยจนถึงปัจจุบัน จัดแสดงเรื่องราวตามหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ต้นกำเนิดวิชาชีพเภสัชกรรม วิวัฒนาการเภสัชกรรมแผนตะวันออก และภูมิปัญญาพื้นฐาน วิวัฒนาการเภสัชกรรมไทยแผน
ตะวันตก วิวัฒนาการสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ 
ตั้งแต่เวลา 10.00–16.00 น. ถ้าเข้าชมเป็นหมู่คณะควรทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า สอบถามเพิ่ม
เติมได้ที่ โทร. 0 2391 6243, 0 2712 1627-8


 พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ

เป็นพิพิธภัณฑ์กล้อง และภาพถ่ายแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเซีย ตั้งอยู่ที่อาคารของภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ 
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่รวบรวมและแสดงประวัติความเป็น
มาของภาพถ่ายประวัติศาสตร์ และอุปกรณ์การถ่ายภาพต่างๆ นอกจากนี้ ยังจัดแสดงความก้าวหน้าด้านภาพสามมิติ ภาพอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการแยกสี รวมถึงการพิมพ์อีกด้วย เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-15.00 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท นักเรียน นักศึกษา 10 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท การเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2218 5581–3


 พิพิธภัณฑ์ดิน

ตั้งอยู่บริเวณด้านล่างของอาคารที่ทำการกรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร จัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และทันสมัยสมบูรณ์แบบที่สุดในเอเชีย ภายในพิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้ จัดแสดงประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกรมพัฒนาที่ดิน การแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการสำรวจดินยุคแรก ๆ แสดงแหล่งวัตถุกำเนิดดิน การเกิดดิน รวมทั้งงานในโครงการพระราชดำริด้านต่าง ๆ และจัดแสดงหุ่นจำลองภาคหน้าตัดดิน 62 กลุ่มชุดดินทั่วประเทศ พร้อมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับดิน วิธีการปรับปรุงดินทั้ง 62 กลุ่มชุดดิน ที่สามารถสืบค้นหาได้ด้วยตนเอง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างคุ้มค่า 
เปิดให้เข้าชมในวันเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.00 น. สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา เกษตรกร ท่านที่สนใจทั่วไป เข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ติดต่อที่ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม โทร. 0  2579  8515


 บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์ และตุ๊กตานานาชาติ

ตั้งอยู่ในซอยวัดระฆัง ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  จัดตั้งเมื่อปี 2535 โดยคุณภัทราวดี มีชูธน นักแสดง นักเขียน ผู้กำกับการแสดง ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศ และต่างประเทศ   ภัทราวดีเธียเตอร์ เป็นโรงละครเอกชนที่มีการแสดงระดับสากล ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และยังเป็นโรงเรียนศิลปะการแสดงที่เปิดสอนศิลปะไทยและสากลในระดับพื้นฐานไป จนถึงระดับมืออาชีพ ในบริเวณมีบริการร้านอาหารและโฮมสเตย์ สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2412 7287


 พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

ตั้ง อยู่ในอาคารที่ทำการเก่าของสหภาพแรงงานการรถไฟมักกะสัน ถนนนิคมรถไฟมักกะสัน เขตราชเทวี จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์แรงงานไทย แบ่งออกเป็น 7 ห้อง ห้องที่ 1 แรงงานบังคับไพร่-ทาส คือ ฐานของสังคมไทยโบราณ จัดแสดงเรื่องราวของแรงงานไทยตั้งแต่ครั้งโบราณ ห้องที่ 2 กุฎีจีนแรงงานรับจ้างรุ่นแรก บอกเล่าสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ห้องที่ 3 แรงงานในกระบวนการปฏิรูปประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ห้องที่ 4 กรรมกรกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 สภาพของแรงงานก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ห้องที่ 5 จากสงครามโลกถึง
สงครามเย็น ชีวิตแรงงานไทยภายใต้สภาวการณ์ที่สำคัญสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น ห้องที่ 6 จาก 14 ตุลาถึงวิกฤตเศรษฐกิจ ชีวิตคนงานในช่วงประชาธิปไตยเบ่งบาน เรื่องราวของแรงงานสตรี แรงงานเด็ก คนขับรถบรรทุก นักมวย ห้องที่ 7 ห้องศิลปวัฒนธรรมกรรมกรจิตร ภูมิศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักคิดคน สำคัญ แต่ละห้องใช้รูปแบบการจัดแสดงมีสื่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ สไลด์ คอมพิวเตอร์ ทำให้น่าสนใจ เข้าใจง่าย เกิดความเพลิดเพลินในการชมนอกจากนี้ยังมีบริการห้องสมุด หนังสือต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงาน มีศูนย์อบรมคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้
แรงงาน
เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ ปิดวันจันทร์-อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 10.00–16.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม (หากเข้าชมเป็นหมู่คณะกรุณาติดต่อล่วงหน้า) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2251 317


 พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร

ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารสำนักงานไปรษณีย์นครหลวงเหนือ (หลังไปรษณีย์สามเสนใน) จัดแสดงแสตมป์ไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และแสตมป์ของประเทศสมาชิกสหภาพสากล ไปรษณีย์ นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดจัดเก็บหนังสือรวบรวมความรู้เรื่องการไปรษณีย์ทั้ง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในบริเวณเดียวกันยังมีการจำหน่ายแสตมป์ และอุปกรณ์เพื่อการสะสมแสตมป์ด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2271 2439 


 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ตั้งอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง บนเนื้อที่ 23 ไร่ เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ อนุรักษ์ และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระดับนานาชาติ ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วยอาคารต่างๆ เช่น โรงละคร ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการภาษา ห้องโสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี “หอไทยนิทัศน์” ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคารนิทรรศการศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จัดแสดงเรื่องราวของอารยธรรมไทยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ความเป็นมาของชนชาติไทย วัฒนธรรมข้าวในสังคมไทย ภาษาและวรรณคดีไทย ประเทศไทยกับโลก และวีรกรรมและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย โดยใช้วัตถุจำลอง การฉายสไลด์มัลติวิชั่น วิดิทัศน์ หอไทยนิทัศน์เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30–16.00 น. หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถทำหนังสือขอเข้าชมในวันเสาร์-อาทิตย์ ได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2247 0028 ต่อ 4206-7, 4224


  ค้นหาข้อมูล