WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติป่าหินงามตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต บนเทือกเขาพังเหย ภูมิประเทศเป็นเนินเขาสลับซับซ้อน ระดับความสูงประมาณ 200-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปกคลุมด้วยป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ มีความหลากหลายของระบบนิเวศและมีไม้ดอกจำพวกดุสิตา เอนอ้าและกล้วยไม้ ขึ้นอยู่จำนวนมาก จุดท่องเที่ยวในเขตอุทยานได้แก่

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 177 ตารางกิโลเมตร ในเขต 4 อำเภอ คือ อำเภอเมือง บ้านเขว้า หนองบัวแดง และเกษตรสมบูรณ์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สภาพป่ามีทั้งป่าทึบและป่าโปร่ง เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยที่ไหลลงสู่แม่น้ำชี มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลากหลายทั้งหน้าผาสันเขา ลานหินและก้อนหินรูปร่างแปลก ๆ รวมทั้งพืชพันธุ์ที่น่าสนใจ เหมาะมาเที่ยวชมในระหว่าง เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม     ทางอุทยานได้จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผ่านสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของอุทยานได้แก่ 


อุทยานแห่งชาติตาดโตน
ตั้งอยู่ในตำบลนาฝาย ตำบลท่าหินโหม ตำบลห้วยต้อน และตำบลนาเสียว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเทือกเขาภูแลนคา มีเนื้อที่รวมประมาณ 217  ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญ คือ ลำปะทาว และจะไหลรวมกับแม่น้ำชี มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกตาดโตน น้ำตกตาดฟ้า และน้ำตกผาเอียง

ทุ่งดอกกระเจียว
ตั้งอยู่ในตำบลนาฝาย ตำบลท่าหินโหม ตำบลห้วยต้อน และตำบลนาเสียว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเทือกเขาภูแลนคา มีเนื้อที่รวมประมาณ 217  ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญ คือ ลำปะทาว และจะไหลรวมกับแม่น้ำชี มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ได้แก่ น้ำตกตาดโตน น้ำตกตาดฟ้า และน้ำตกผาเอียง

เขื่อนจุฬาภรณ์ (เขื่อนน้ำพรม)
ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร สร้างปิดกั้นลำน้ำพรมบนเทือกเขาขุนพาย ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนหินทิ้ง แกนกลางเป็นดินเหนียว ตัวสันเขื่อนยาว 700 เมตร ความสูงจากฐานราก 70 เมตร เป็นลักษณะเขื่อนเอนกประสงค์ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและยังอำนวยประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอีกด้วย นอกจากนี้ บริเซรโดยรอบของเขื่อนยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกคือ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าในเขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้น โดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ทุ่งกระมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช มีเนื้อที่ 830 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่างๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลง ทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ

การเดินทาง ไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวใช้เส้นทางเดียวกับเขื่อนจุฬาภรณ์ ก่อนถึงเขื่อน 3 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายจากด่านตรวจ (ปางม่วง) ไปยังที่ทำการเขตฯ อีก 24 กิโลเมตร การเข้ามาทัศนศึกษาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีสองกรณีคือ หากเข้าชมแบบไป-กลับวันเดียว สามารถขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่บริเวณด่านตรวจปางม่วง กรณีพักค้างแรมต้องได้รับอนุญาตจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ กรุงเทพฯโดยตรง ทางเขตฯค่อนข้างเคร่งครัดในกฎระเบียบเพราะสภาพพื้นที่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้ และสัตว์ป่า การเดินทางเข้ามาในพื้นที่ก็เสมือนการเข้ามารบกวนธรรมชาติ ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าจริงๆ และทางเขตฯ ไม่เปิดให้เข้าทัศนศึกษาในช่วง เดือนกรกฎาคม-กันยายน


ถ้ำแก้ว

จากอำเภอภักดีชุมพลไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามทางหลวง 2359 ถึงบ้านซับเจริญมีทางแยกซ้ายไปอีก 5 กิโลเมตร ถ้ำแห่งนี้อยู่ภายในบริเวณวัดถ้ำแก้ว ลักษณะของถ้ำคล้ายห้องโถงลึกลงไปในภูเขา บรรยากาศเย็นและชื้นตลอดเวลา มีไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในถ้ำ จากปากถ้ำมีทางเดินลงลึกไปถึงด้านล่าง ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ และมีหินย้อย อยู่ตามผนังถ้ำ เมื่อต้องแสงเกิดเป็นประกายแวววาวสวยงาม

จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย
จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 225 ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 75 กิโลเมตร เป็นที่แวะพักผ่อนระหว่างเดินทาง มีร้านอาหารของชาวบ้านและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

พระธาตุหนองสามหมื่น
เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 อีก 9 กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ 5 กิโลเมตร พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกัน ระหว่างศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว
พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น

ผาเกิ้ง
เป็นส่วนหนึ่งของภูแลนคา หากเดินทางมาตามเส้นทางชัยภูมิ-หนองบัวแดง จะเห็นหน้าผาสูงริมทางคล้ายพระจันทร์เสี้ยวยื่นออกมา ชาวบ้านจึงเรียกว่า ผาเกิ้ง ซึ่งหมายถึงพระจันทร์ในภาษาอีสาน บนเขามีวัดผาเกิ้งหรือวัดชัยภูมิพิทักษ์ตั้งอยู่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชัยภูมิพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง 14 เมตร ด้านหน้าองค์พระเป็นจุดชมวิวที่สวยงามมองเห็นทัศนียภาพของทุ่งนาได้กว้างไกล ผาเกิ้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 36 กิโลเมตรบนหลวงหมายเลข 2159 (ชัยภูมิ-หนองบัวแดง)

ปรางค์กู่
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 202 (ชัยภูมิ-บัวใหญ่) ประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าปรางค์กู่ตามทางหลวง 2158 เป็นระยะทางอีก 2 กิโลเมตร
ปรางค์กู่เป็นปราสาทหินสมัยขอมที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับปราสาทอื่น ที่เป็น อโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง 1 องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง นอกกำแพงตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1 สระ ปรางค์ประธานมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่นออกมา ผนังปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลักภาพตรงกลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้านหน้ามีทับหลังเช่นกันแต่ลบเลือนไปมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศเหนือมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวารวดี สูง 1.75 เมตร ประดิษฐานอยู่ โดยเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ชาวชัยภูมิให้การเคารพสักการะ มีการจัดงานประจำปีในช่วงกลางเดือน 5 ของทุกปี

วัดศิลาอาสน์ ภูพระ

ตั้งอยู่ที่บ้านนาไก่เซา ตำบลนาเสียว ภายในบริเวณวัดมีเพิงผาหินซึ่งมีภาพจำหลักกลุ่มพระพุทธรูป อันเป็นที่มาของชื่อ ภูพระ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านมาช้านาน ปัจจุบันมีการสร้างหลังคาครอบไว้  ประกอบด้วยพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง ๕ ฟุต สูง ๗ ฟุต พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายพาดอยู่ที่พระชงฆ์ (พระหัตถ์อยู่ในท่าตรงข้ามกับปางมารวิชัย) เรียกกันว่า พระเจ้าตื้อ มีพระพุทธรูปหินทรายขนาดเล็กสูง ๗ นิ้วลักษณะเดียวกันอีก ๑ องค์ตั้งวางอยู่ด้านหน้า ใกล้กันมีพระพุทธรูปอีก ๗ องค์จำหลักรอบเสาหินทราย ประทับนั่งเรียงแถว ปางสมาธิ ๕ องค์ ปางเดียวกับพระเจ้าตื้อ ๒ องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้มีพุทธลักษณะเป็นแบบพระพุทธรูปอู่ทอง มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ร่วมสมัยอยุธยาตอนต้น ทุกปีมีงานนมัสการพระพุทธรูปที่ภูพระปีละ ๒ ครั้ง ๆ ละ ๓ วัน ในช่วงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ และวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งมีประเพณีการรำผีฟ้า เพื่อบวงสรวงในงานเทศกาลช่วงเดือนเมษายนทุกปี  การรำผีฟ้าเป็นการรำบวงสรวงโดยชาวบ้านเป็นกลุ่มๆ มีหมอแคนเป่าประกอบการรำเพื่อบวงสรวงและแก้บนต่อพระเข้าองค์ตื้อที่เชื่อกัน ว่าศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
การเดินทาง จากตัวเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 201 (ชัยภูมิ-ภูเขียว) ประมาณ 13  กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามทางสายนาเสียว-ห้วยชันประมาณ 5 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าวัดอีก  1 กิโลเมตร


ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

เก็บรักษาอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดกุดโง้ง ตำบลกุดตุ้ม จากตัวเมืองชัยภูมิไปตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปอีก 3 กิโลเมตรถึงบ้านกุดตุ้ม แล้วแยกขวาเข้าเส้นทางสาย กุดตุ้ม-บุ่งคล้า อีก 4 กิโลเมตร ใบเสมาหินทรายศิลปทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 ที่พบเป็นจำนวนมากในบริเวณรอบๆ หมู่บ้านได้ถูกนำมารวบรวมไว้ในอาคารอย่างเป็นระเบียบ ส่วนมากมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ ด้านหน้าจำหลักลายและบางแผ่นมีจารึกอยู่ที่ด้านหลังด้วย ลวดลายที่ปรากฏเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกตอนต่างๆ หรือเป็นภาพรูปเคารพ เช่น ภาพพระโพธิสัตว์ประทับยืนบนดอกบัว ภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ นับเป็นกลุ่มเสมาที่สวยงามแห่งหนึ่งในอีสาน